รมว.ดีอี ลั่น! มุ่งแก้ไขภัยออนไลน์ให้ลดลงพร้อมจับมือ ‘คณะวารสารฯและสื่อ’ ต้านภัย

6 พ.ย. 2566 – นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและเศรษฐกิจ กล่าวปาฐกถาพิเศษ พร้อมเป็นประธานพิธีเปิดงานเสวนา “Social Online ดาบสองคมวิชาชีพสื่อ” จัดโดย สมาคมวารสารศาสตร์ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสครบรอบ 69 ปีวันสถาปนาคณะวารสารศาสตร์ฯ โดยมี นายภูวนารถ ณ สงขลา นายกสมาคมวารสารศาสตร์ฯ และ รศ.กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ คณบดี คณะวารสารศาสตร์ฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ กับผู้บริหารของคณะวารสารศาสตร์ฯ ร่วมให้การต้อนรับ

นายประเสริฐ กล่าวในตอนหนึ่ง ว่า พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันที่ล้ำหน้าไปมาก ทางกระทรวงดีอีจึงได้มีนโยบายที่ชัดเจน และถือเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของกระทรวงในการที่จะสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงและมีความรู้ทันกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะมีการพัฒนาโครงสร้างด้านดิจิทัลเพื่อให้เศรษฐกิจและสังคมไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามทางกระทรวงก็ยอมรับและไม่ได้นิ่งนอนใจกับกรณีปัญหาภัยต่างๆที่แอบแฝงมาในช่องทางของโซเชียลออนไลน์ ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้เกิดกับเศรษฐกิจและสังคมปีละกว่า 50,000 ล้านบาท หรือรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงต้องสูญเสียชีวิตดังที่เป็ฯข่าว ซึ่งปัญหาในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการหาแนวทางในการแก้ไขและขจัดปัญหาให้ลดน้อยลงหรือให้ปัญหาหมดสิ้นไป

อย่างไรก็ตาม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แก็งหลอกลวง มีการใช้สื่อออนไลน์หลอกลวงสารพัดวิธี  ขณะเดียวกันเรื่องของข่าวปลอมก็มีเกิดขึ้นทั่วโลก สื่อจึงควรมีการตรวจสอบก่อนการนำเสนอและไม่ตกเป็นเครื่องมือของข่าวปลอม นอกจากนี้ยังมีภัยจากการใช้สื่ออนไลน์เพื่อชี้นำในบางเรื่อง ดังนั้นการบริโภคสื่อ ประชาชนควรต้องมีสติ ในขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อควรมีจริยธรรม ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าสื่อวิชาชีพทุกคนมีอยู่ในใจ 

ทางกระทรวงจึงรู้สึกประทับใจที่สมาคมวารสารศาสตร์ธรรมศาสตร์และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวรวมไปถึงการให้ความสำคัญในการผลิตนักศึกษาที่มีความรู้มีคุณภาพเกี่ยวกับเรื่องดิจิทัลและเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาในระบบให้มากขึ้นรวมทั้งการตื่นตัวของสื่อมวลชนทุกแขนงที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องนี้ดังนั้นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงพร้อมที่จะให้การสนับสนุนและบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจของประเทศและสังคมไทย นายประเสริฐ กล่าว

สำหรับเวทีเสวนา ในส่วนของวิทยากรที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ คือ นายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ น.ส.ชุตินธรา วัฒนกุล บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ ไทยพีบีเอส TPBS และที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ นายระวี ตะวันธรงค์ ที่ปรึกษาเพจส่องสื่อ และ The Modernist และนายนภพัฒน์จักษ์อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าว Today  มีความเห็นตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันที่ทำให้คนเข้าถึง social online ได้ง่ายขึ้นและกว้างขวางขึ้นนั้น ด้านหนึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แต่อีกด้านหนึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะเป็นเสมือนดาบอีกด้านที่มีกลุ่มคนนำไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ขณะเดียวกันประชาชนและคนในสังคมเองก็จำเป็นต้องตื่นตัวในการรับรู้ข้อมูลหรือเสพสื่อด้วยเช่นกัน เพราะโดยพฤติกรรมสังคมส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการรับข้อมูลที่ตนเองอยากรู้ มากกว่าการรับข้อมูลที่สื่อเห็นว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนควรต้องรู้ ทำให้ธุรกิจสื่อที่นอกเหนือจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจและการแสวงหารายได้ ส่งผลให้ในหลายๆกรณีมีการนำเสนอข่าวที่เป็นกระแส ที่มีเรื่องของเรตติ้ง และระบบอัลกอริทึมเข้ามาเกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของสื่อ

อย่างไรก็ตามวิทยากรทุกคนยังเชื่อมั่นว่าบรรดาผู้ที่ประกอบวิชาชีพสื่อล้วนให้ความสำคัญกับเรื่องของจริยธรรม เรื่องของผลประโยชน์ของสังคมเป็นหลัก 

ขณะที่ รศ.ดร.วิกานดา พรสกุลวานิช อาจารย์กลุ่มวิชาบริหารการสื่อสาร คณะวารสารศาสตร์ฯ ได้ยืนยันว่าในฐานะสถาบันที่ผลิตนักศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนให้กับสังคม ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการที่จะเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีจริยธรรมในวิชาชีพ ขณะเดียวกันทางคณะวารสารศาสตร์ฯก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาด้านสื่อสารมวลชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วให้มากที่สุด

สามารถชมงานเสวนาครั้งนี้ ได้ที่

https://fb.watch/o8kaw5ZA05/

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว.ดีอี ปั้นผลิตผลชุมชน ขึ้นแท่นซอฟต์พาวเวอร์กระตุ้นท่องเที่ยวไทย

รมว.ดีอี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดําเนินโครงการระบบควบคุมความชื้นในโรงเรือนเห็ดอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนสวนเห็ดกรรณิกา จ.เชียงราย หวังปั้นผลิตผลชุมชน ขึ้นแท่นซอฟต์พาวเวอร์กระตุ้นท่องเที่ยวไทย

สตช.เตือนภัยออนไลน์มีคนร้ายปลอม 191 โทรข่มขู่เรียกเงิน

พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ. ศปอส.ตร. ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงบนโลกออนไลน์อีกทั้งในตอนนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับทราบมาว่ามีคนร้ายปลอมแปลงเบอร์หมายเลข 191 ที่ใช้ในการรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายของทางตำรวจ

เตือน 6 รูปแบบภัยออนไลน์ ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงปีใหม่ มิจฉาชีพไม่มีวันหยุด

พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งช่วงเวลาของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เป็นช่วงเวลาที่พี่น้องประชาชนออกไปท่องเที่ยว

ดีอี เปิดศูนย์แก้ปัญหาหลอกลวงทางออนไลน์ ‘AOC 1441’ เบอร์เดียวอายัดบัญชีได้ทันที

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมทดสอบศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์

ภัยออนไลน์รุกหนัก นักวาดการ์ตูนไทย จับมือกับมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ(มสส.)และสสส.ประชุมร่วมหาทางปกป้องเด็กและเยาวชน

มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ(มสส.) ร่วมกับ สมาคมการ์ตูนไทย เครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)