คลังจ่อต่ออายุมาตรการบูมอสังหามึน 'แบงก์ชาติ' เมินปรับเกณฑ์ LTV

“คลัง” เตรียมเข็นต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน-จดจำนอง หวังกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ไทย มึน “แบงก์ชาติ” เมินปรับเกณฑ์มาตรการ LTV ชี้ยังไม่จำเป็น แม้แจงไร้สัญญาณฟองสบู่-ดอกเบี้ยสูงไม่เอื้อเก็งกำไร

25 ธ.ค. 2566 – รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาต่ออายุมาตรลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 โดยการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ จาก 2% เหลือ 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% จากยอดเงินกู้ เพื่อเป็นการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้ มองว่าหากมีการปรับลดเกณฑ์มาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value : LTV) ก็จะมีส่วนช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยได้มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะมีคนได้อานิสงส์จากการเติบโตของธุรกิจดังกล่าวอย่างมาก มีซับพลายเชนที่เกี่ยวข้องเยอะ ดังนั้นมองว่าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถคลายหลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดี

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทราบว่ากระทรวงการคลังได้เคยมีการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับแนวทางการปรับลดเกณฑ์มาตรการ LTV เพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์แล้ว แต่ทาง ธปท. ยืนยันว่าจำเป็นจะต้องดำเนินมาตราการ LTV ตามหลักเกณฑ์ในปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่เห็นถึงความจำเป็นในการปรับลดหลักเกณฑ์ LTV

“ในหลักการ LTV จะเข้มหรืออ่อนต้องดูเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งวันนี้ไม่เห็นสัญญาณฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย ขณะเดียวกันแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้โอกาสในการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเก็งกำไรก็จดน้อยลง ซึ่งเท่าที่ทราบคลังพยายามหารือเรื่องนี้กับ ธปท. แล้ว โดยคลังมองว่าตอนนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีความเสี่ยง ไม่มีสัญญาณเรื่องฟองสบู่ ซึ่งนอกจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง หากได้ตัว LTV เข้ามาเสริม ซึ่งตรงนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณในการดำเนินการเลย แต่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจได้จริง โดยกระทรวงการคลังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อน เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้เป็นอย่างดี” รายงานข่าว ระบุ

รายงานข่าว ระบุว่า กระทรวงการคลังอยากให้มีการปรับลดเกณฑ์มาตรการ LTV ออกมารวมกับมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง เพื่อออกมาเป็นแพ็คเกจปลายปีทีเดียว ซึ่งจะมีผลกับภาคอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจไทยมากน้อย โดยเรื่องนี้ทางฝั่งผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ก็อยากได้อยู่แล้ว เพราะมองว่าจะเป็นผลดีกับเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แต่หากภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะฟองสบู่ก็ไม่ควรทำ แต่ยืนยันว่าวันนี้ไม่มีแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา1/1'เศรษฐกิจ-การเมืองนำ เว้นระยะ'ความมั่นคง-กองทัพ'

โฉมหน้า “คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/1” ที่ออกมา นอกจากจะเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตัวบุคคลของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เป้าหมายที่ฉายภาพชัดต่อทิศทางการบริหารงานของรัฐบาล