'ดีอีเอส'เผยข่าวปลอมป่วนนโยบายรัฐส่งท้ายปี 64

“นพวรรณ” โฆษกดีอีเอสฝ่ายการเมือง เผยสถานการณ์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์สุดท้ายปี 64 พบเฟคนิวส์มุ่งบิดเบือน ปล่อยข่าวลวงเกี่ยวกับนโยบายรัฐและข่าวสารราชการติด 4 อันดับแรกคนสนใจมากสุด

3 ม.ค. 2565 นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 24-30 ธ.ค. 64 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม มีข้อความที่เข้ามาทั้งสิ้น 11,545,688 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 202 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 105 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด 22 เรื่อง

ทั้งนี้ จากการประสานงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข่าวที่ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 58 เรื่อง พบว่าเป็นข่าวปลอมและข่าวบิดเบือน จำนวน 16 เรื่อง และพบว่าเฟคนิวส์หมวดข่าวนโยบายรัฐ และข่าวสารราชการยังมาแรงส่งท้ายปี โดยติดอยู่ใน 4 อันดับแรกของสถิติข่าวปลอม 5 อันดับที่มีคนสนใจสูงสุดประจำสัปดาห์

โดยข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 5 อันดับในสัปดาห์สุดท้ายของปี 64 ได้แก่ อันดับ 1 ทหารไทยทำสงครามสู้รบกับพม่า บริเวณชายแดนอำเภอแม่สอด จ.ตาก อันดับ 2 รัฐบาลให้สิทธิพิเศษศาสนาอิสลามมากกว่าศาสนาพุทธ อันดับ 3 รถโดยสาร-รถบรรทุก ที่มีค่าควันดำเกินกำหนด โทษปรับ 2 หมื่นบาท อันดับ 4 กรุงไทยส่ง SMS ให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ โครงการคนละครึ่ง เฟส 4 และอันดับ 5 เรื่อง สารซักฟอกในสบู่เหลว ถ้าใช้ร่วมกับสารประกอบตระกูลเอมีน จะกลายเป็นสารก่อมะเร็ง

“จำนวนเบาะแสข้อความและเรื่องที่เข้าเกณฑ์ตรวจสอบ แม้จะยังมีเข้ามาต่อเนื่อง แต่ในแง่ผลการตรวจสอบ เห็นแนวโน้มจำนวนข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนมีสัดส่วนลดลง เมื่อเทียบกับข่าวที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นข่าวจริง ผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในส่วนนี้ถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ ในการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส และเกิดการรับรู้ว่าควรตรวจสอบก่อนเชื่อ ก่อนแชร์” นางสาวนพวรรณกล่าว

ดังนั้น ขอเชิญชวนประชาชนในการทำงานร่วมกับรัฐบาล และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาข่าวปลอม เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทวงผลสอบจุฬาฯ ปม 'ดุษฎีนิพนธ์' บิดเบือนประวัติศาสตร์กระทบสถาบัน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่นปี 2512 ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้

ไม่แผ่ว! ดีอี เผยข่าวปลอม ‘กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ ถูกปล่อยไม่หยุด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สรุปข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดเป็นอันดับ 1 พบว่าเป็นเรื่องเพจปลอม “กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน” รับสมัครพนักงาน แพ็กของ รายได้เฉลี่ย 450 บาท/ต่อวัน รองลงมาเป็นข่าวปลอม “สินเชื่ออเนกประสงค์กรุงไทย 5 พลัส วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท ผ่านเพจ Loan Versatile 5 Plus” ยังระบาดหนัก เตือนเช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ หรือแชร์ข้อมูล

'ดร.นิว' ซัด 'ทนายสามนิ้ว' ฟอกขาวผู้ต้องหาหมิ่นสถาบัน อ้างขายของออนไลน์อยู่ดีๆก็โดน 112

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ตลกมากเลยครับ เครือข่ายทนายสามนิ้วปั่นกระแสบิดเบือนว่า "ขายของออนไลน์อยู่ดีๆ ก็โดนมาตรา 112"

เตือนอย่าเชื่อ! ข่าวปลอมเป็นตะคริวบ่อย จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต

จากกรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลด้านสุขภาพโดยระบุว่า เป็นตะคริวบ่อยจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูล

ซูเปอร์โพล ห่วงโจรไซเบอร์ใช้นโยบายรัฐ หลอกประชาชน

ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (Super Poll)ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวในฐานะผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง ภัยอยู่กับมือ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสำรวจและแหล่งอื่น ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.0