เอกชนเตรียมแผนเปลี่ยนผ่านอุตฯชิ้นส่วนรถยนต์ สู่การผลิตอีวี

เอกชน เตรียมแผนเปลี่ยนผ่านอุตฯชิ้นส่วนรถยนต์ สู่การผลิตอีวี ก่อนชงประธานส.อ.ท.คนใหม่ หวังหาแนวทางช่วยเหลือ แนะรัฐควรหนุนจากกลุมรถสาธารณะ พร้อมหาแนวทางดำเนินงารที่ชัดเจน เดินหน้าการซื้อ-การลงทุน

24 ม.ค. 2565 นายพินัย ศิรินคร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มฯได้เตรียมแผนเพื่อการปรับตัวให้กับผู้ผลิตชินส่วนและอะไหล่ยานยนต์ไทยที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,500 ราย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน(ICE) ไปสู่ยานยนต์ไฟฟา(อีวี) โดยมี 4 แนวทางสำคัญได้แก่ 1.การปรับธุรกิจไปสู่ตลาดอาฟเตอร์มาร์เก็ตหรือการบริการหลังการขายที่ทั่วโลกยังมีความต้องการมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบการเข้ามาของอีวี

2.ปรับเปลี่ยนการผลิตชิ้นส่วนฯ เพื่อรองรับอีวี ที่ความต้องการในเมืองไทยจะมีปริมาณมากขึ้นตามความต้องการใช้ที่จะสูงจากมาตรการกระตุ้นของรัฐ 3. การพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนฯเพื่อรองรบอุตสาหกรรม 4.0 เช่น แขนกล อุปกรณ์อัตโนมัติ ที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องก้าวไปสู่ระบบอัตโนมัติมากขึ้น และ 4. การปรับไปสู่ธุรกิจอื่นๆ แทนเพราะไม่สารถดำรงอยู่ในธุรกิจเดิมได้

“ส่วนใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯเป็นการรับจ้างการผลิต(OEM) การมาของอีวี ยอมรับว่าจะกระทบเราคงจะผลักดันในการนำไปสู่การปรับตัวโดยจะมีการเสนองบวิจัยและพัฒนาในระยะต่อไปเพื่อวิเคราะห์ลงลึกมากขึ้น โดยผมจะส่งผ่านเรื่องดังกล่าวให้กับประธานส.อ.ท.คนใหม่ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ก.พ.นี้ ในการขับเคลื่อนไปสู่แนวทางช่วยเหลือต่อไป”นายพินัย กล่าว

ทั้งนี้ การมาของอีวี คงต้องติดตามใกล้ชิดว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมากน้อยเพียงใดด้วยเพราะปัจจุบันผู้เล่นหลักคือ ญี่ปุ่น แต่การมาอีวีล่าสุดแนวโน้มจะเป็นจีน ซึ่งจีนเองก็มีผู้ผลิตชิ้นส่วนฯจึงต้องดูว่าท้ายสุดนโยบายรัฐในการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนอีวี จะมีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการที่รัฐเตรียมออกแพคเกจเพื่อส่งเสริมการใช้อีวี เห็นว่าภาครัฐควรปล่อยให้เป็นตามกลไกการตลาดมากกว่าเพราะหากเร่งให้เร็วเกินไปอาจกระทบต่อภาพรวมได้

“ผมมองว่าโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เรายังไม่ได้รองรับมากหากตองการผลักดันอีวี เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องเข้าใจว่าที่สุดแล้วก็จะลดแค่ตรงรถยนต์ แต่กลับไปใช้เพิ่มในส่วนไฟฟ้าที่มาจากฟอสซิล ดังนั้นต้องมองให้ครบวงจร รัฐควรจะมุ่งส่งเสริมการใช้ไปยังรถบัส รถขนาดใหญ่ ระบบขนส่งสาธารณะก่อนเพื่อปรับให้โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ พร้อมก่อนที่จะมามุ่งกระตุ้นการใช้ในรถยนต์ส่วนบุคคล ที่จะต้องใช้เงินรัฐในการสนับสนุนให้ลดราคาลงมา “นายพินัย กล่าว

นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) กล่าวว่า คาดว่าคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ(บอร์ดอีวี ) จะเสนอแพคเกจส่งเสริมอีวี เข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรี(ครม.)เร็ว ๆ นี้ หลังจากได้มีการหารือล่าสุดเพื่อปรับแนวทางให้มีการลงรายละเอียดต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อความชัดเจนในการดำเนินงานโดยเฉพาะการให้ทางผู้ประกอบการได้นำไปวางแผนประกอบการผลิตในไทย
“ยอมรับว่าที่ผ่านมาพอบอกจะมีแพคเกจออกมาส่งเสริมการใช้ช่วงปลายปีทำให้ตลาดเกิดสุญญากาศผู้บริโภคชะลอตัดสินใจทั้งคนที่วางแผนซื้ออีวี อยู่เดิมและคนที่ต้งใช้ซื้อรถยนต์สันดาปฯ เพราะต่างรอดูว่าอีวี จะลดราคาขนาดไหน ซึ่งหากรัฐประกาศ ก็จะปลดล็อคทั้งการซื้อขายและการลงทุน”นายกฤษฎา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุพันธุ์ จี้เจรจา 'โอซีเอ' ให้จบ แนะแบ่งก๊าซแทนขีดเส้นแดน หวังค่าไฟใกล้เพื่อนบ้าน

'สุพันธุ์' เชียร์โอซีเอจบรัฐบาลชุดนี้ แนะแบ่งก๊าซแทนขีดเส้นแดน หวังค่าไฟใกล้เพื่อนบ้าน ช่วยการแข่งขัน-ดึงลงทุน แนะ 2 ทางออกแก้สินค้านอกทะลักไทย

กกร. ประเมินศก.ไทยปี 67 โตแบบอ่อนแอ 

“กกร.”ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2567 ยังคงกรอบเดิม GDP ขยายตัวได้ 2.8-3.3% ส่งออกโต 2-3% สินค้าไทยเริ่มไม่เป็นที่ต้องการของตลาด แถมโดนดัมพ์แหลก จี้รัฐยกเว้นเก็บVAT สินค้าออนไลน์ไม่เกิน1,500บาทเพื่อให้คนไทยแข่งขันได้

ส.อ.ท.จับตา 3 สถานการณ์ความขัดแย้งหวั่นไทยกระทบหนัก

ส.อ.ท.จับตา 3 สถานการณ์ความขัดแย้งใกล้ชิด ส่งสัญญาณทุกฝ่ายเตรียมรับมือหากบานปลาย หวั่นไทยกระทบหนัก หวังรัฐเร่งหามาตรการดูแลพลังงานปี 2567 ไว้ล่วงหน้า