สสว. ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น 2 เดือนติด

สสว. เผยดัชนีความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในช่วงปลายปี ลั่นระดับเกินค่าฐานที่ 51.8 จับตาโอมิครอนยังฉุดการคาดการณ์ในอนาคตลง

29 ม.ค. 2565 นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) หรือ SMESI ประจำเดือนธ.ค.2564 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 51.8 จากเดือนพ.ย.2564 อยู่ที่ระดับ 50.5 ซึ่งเป็นระดับที่เกินค่าฐาน (50) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกภาคธุรกิจ ทุกภูมิภาค

ปัจจุบันความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่กระตุ้นให้ผู้คนออกมาใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะสาขาโรงแรม/ที่พักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค ประกอบกับการให้บริการรถรับเหมา และสาขาสันทนาการ วัฒนธรรมการกีฬาที่ขยายตัว โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคใต้ที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากวงเงินของโครงการคนละครึ่งใกล้หมดลง

โดยปัจจัยบวกที่มีผลต่อกิจการเอสเอ็มอีในประเทศ มาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เริ่มทยอยออกมาใช้จ่ายตามสถานที่ต่างๆ มากขึ้น เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อีกทั้งธุรกิจมีการปรับรูปแบบการให้บริการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจการ ทำให้ขยายกลุ่มตลาดได้หลายช่องทางมากขึ้น

ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ภาวะราคาสินค้า/วัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งราคาน้ำมันที่กระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจ และค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งมาตรการภาครัฐ เช่น โครงการ

“คนละครึ่ง” สิ้นสุดลง ทำให้เกิดการชะลอการใช้จ่าย อีกทั้งความไม่มั่นใจในการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ในช่วงปลายเดือนธ.ค.2564

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 56.0 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 58.1 และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่มีการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่กังวลต่อมาตรการควบคุมโรค และข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงผู้ประกอบการต้องเผชิญภาวะต้นทุนราคาสินค้า/วัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และหมวดวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ เนื้อหมู เครื่องปรุงรส และเนย เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสว. จับมือ ช้อปปี้ หนุนสิทธิประโยชน์ขยายช่องทางตลาด จัดแคมเปญ “SUPER SMEs SELECT” ผลักดันสินค้า SME กว่า 1,000 ราย โปรโมชันจัดหนักจัดเต็ม

สสว. ร่วมกับ ช้อปปี้ จัดแคมเปญออนไลน์ “SUPER SMEs SELECT” ระหว่างวันที่ 4 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2567 บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ภายใต้งานส่งเสริมสิทธิประโยชน์ SME ชวนอุดหนุนสินค้ากว่า 1,000 ร้านค้า

รัฐบาลช่วย SME ไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านมหกรรมทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ

รัฐบาลบูรณาการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ SME ไทย ผ่านการจัดงานมหกรรมทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ

"สสว." จับมือ "โอเพนเอเชีย " จัดเต็มสิทธิประโยชน์เอสเอ็มอี ลุยส่งออกตลาดจีน

สสว. ร่วมกับ โอเพนเอเชีย สร้างโอกาสเอสเอ็มอีไทย ผลักดันสิทธิประโยชน์เสริมศักยภาพมุ่งเน้นส่งออกสินค้าจำหน่ายยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

สสว. จับมือ ทรูสเปซ เพิ่มสิทธิประโยชน์ เสริมความคล่องตัว SME ไทยรุ่นใหม่ ใช้พื้นที่สร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สสว. ร่วมกับ ทรูสเปซ พื้นที่ทำงานยุคใหม่ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีชูงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ เดินหน้าผลักดันสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

สสว. เผยภาคธุรกิจการเกษตรนำโด่งครองแชมป์นำเข้าสินค้ามากสุด

สสว. เผยผลสำรวจการนำเข้าสินค้าของเอสเอ็มอีไทย พบว่า ภาคธุรกิจเกษตร นำเข้าสินค้ามากที่สุด ส่วนกลุ่มสินค้าที่ครองแชมป์นำเข้าสูงสุด ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าศัตรูพืช น้ำยาทำความสะอาด และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าหลักมาจาก จีน ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ฯลฯ โดยนำเข้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหลัก แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ราคาขนส่งและความล่าช้าในการขนส่ง ผู้ประกอบการ SME จึงต้องการให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าในประเทศให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า