กรมรางฯประเมินให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงพบปัญหาเพียบจี้เร่งปรุงปรุงทันที

กรมรางฯลงพื้นที่ประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อฯ พบปัญหารุงรัง จี้เร่งปรับปรุงด้านความปลอดภัย ป้ายบอกทาง เร่งแก้วินมอเตอร์ไซด์รับจ้างเถื่อน บุกรุกใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์

4 ก.พ.2565-นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่พิจารณาผลการประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Likert Scale แบ่งเป็นค่าคะแนน 5 ระดับ ได้แก่ ต่ำที่สุด (0-1 คะแนน) ต่ำ (1.1-2 คะแนน) ปานกลาง (2.1-3 คะแนน) มาก (3.1-4 คะแนน) มากที่สุด 4.1-5 คะแนน

ทั้งนี้โดยผลการประเมินฯ พบว่า สถานีกลางบางซื่อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนที่ 3.3 สถานีในระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเหนือ มีค่าเฉลี่ยคะแนนที่ 3.0 และสถานีในระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงตะวันตก มีค่าเฉลี่ยคะแนนที่ 2.6 คิดเป็นค่าเฉลี่ยรวมทั้งระบบ เป็น 3.0 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในการเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ โดยมีประเด็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริการมากยิ่งขึ้น ในประเด็นต่างๆ เช่น ด้านการเชื่อมต่อการเดินทาง ด้านการออกแบบเพื่อคนทุกคน และด้านความปลอดภัย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โดยคณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบผลการประเมินคุณภาพสถานีฯและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการจัดทำรายงานผลการประเมินดังกล่าวเสนอต่อปลัดกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 1061/2564 สั่ง ณ วันที่ 24 ธ.ค. 2565 เพื่อมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาปรับปรุงตามความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ โดยด่วนเพื่อให้สถานีกลางบางซื่อและสถานีในระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงมีความพร้อมในการให้บริการต่อไป สรุปประเด็นข้อเสนอแนะได้ ดังนี้

1.ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพกายภาพเพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน ได้แก่ ปรับปรุงตะแกรงระบายน้ำให้วีลแชร์เข็นผ่านได้ จัดทำทางลาดบริเวณทางเท้ารอบสถานีให้มีความครอบคลุมต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณจุด Drop-off ซ่อมแซมอุปกรณ์ สุขภัณฑ์ ระบบไฟส่องสว่าง สิ่งอำนวยความสะดวกและปรับปรุงสภาพกายภาพภายใน-ภายนอกสถานี ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ และเพื่อเป็นภาพลักษณ์อันดีของระบบ จัดให้มีเคาน์เตอร์หรือจุดบริการสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เพื่อรองรับผู้โดยสารกลุ่มดังกล่าว ณ สถานีขนาดใหญ่ เช่น สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง และสถานีรังสิต เป็นต้น จัดให้มีเคาน์เตอร์เตี้ย เพื่อบริการหรือจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ในสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงตะวันตก ทั้ง 3 สถานี ได้แก่ บางซ่อน บางบำหรุ และตลิ่งชัน ปรับปรุงให้มีเส้นเตือนบนชั้นชานชาลา ในระยะห่างจากขอบชานชาลา อย่างน้อย 60 ซม. ไม่เกิน 75 ซม. หรือจัดให้มีแผงกันตกหรือ PSD บริเวณขอบชานชาลา (ตามกฎกระทรวงฯ ปี 64 ของ มท.)และจัดให้มีระบบพื้นผิวต่างสัมผัสทั้งเตือนทางและนำทาง สอดคล้องตามที่กฎกระทรวงฯ ปี 64 ของ มท. กำหนด

2.ปรับปรุงระบบการให้ข้อมูล ระบบป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทาง และเสียงประกาศ ได้แก่ ปรับปรุง จัดให้มีระบบป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ที่เป็นป้ายถาวร และใช้สัญลักษณ์ภาพ (Pictogram) ที่เป็นมาตรฐานและเอกภาพเดียวกันทั้งระบบ เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ ติดตั้งเฉพาะป้ายที่บอกข้อมูลการเดินทางในปัจจุบัน โดยปรับปรุงหรือปิดป้ายที่เป็นข้อมูลการเดินทางในอนาคตออก เพื่อลดความสับสนในการใช้บริการของผู้โดยสาร แก้ไขป้ายที่มีการใช้รูปสัญลักษณ์หรือลูกศรที่ผิดให้ถูกต้องจัดให้มีเสียงประกาศภายในสถานีและชั้นชานชาลาเพื่อแจ้งข้อมูลการบริการให้ผู้โดยสารได้รับรู้ จัดให้มีป้ายบอกทางไปชั้นชานชาลาที่ระบุเส้นทางปลายทาง เพื่อให้ผู้โดยสารใช้บริการได้โดยไม่สับสน ซ่อมแซมบำรุงรักษาป้าย Directory เดิม ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และจัดให้มีป้าย Directory เพิ่มเติมภายในสถานี และชั้นชานชาลาทุกสถานี ปรับปรุงปัญหาจอภาพแสดงข้อมูลบริการภายในสถานีที่เบลอ มองเห็นไม่ชัด หรือแสดงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน

3.ปรับปรุงด้านระบบเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานี ได้แก่ กำกับดูแลการใช้พื้นที่จอดรับ-ส่งผู้โดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ พื้นที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารสาธารณะ อย่างเป็นระเบียบ ไม่ให้เกิดการใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์ หรือการจอดรถกีดขวางพื้นที่ Drop-off โดยติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ระบุจุดจอดรถยนต์แต่ละประเภทอย่างชัดเจน และให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแลและบริหารจัดการจราจรให้เป็นระเบียบ ติดตั้งป้ายบอกทางไปสถานีจากถนนทางเข้าหลัก ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีขนาดหรือรูปแบบที่เป็นมาตรฐานและเป็นเอกภาพ ประสาน ขบ. และ ขสมก. ในการจัดระบบขนส่งมวลชนขนาดรองเข้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อบริเวณสถานีต่างๆ โดยเฉพาะ สถานีหลักหก บางซ่อน บางบำหรุ และตลิ่งชัน ซึ่งยังคงมีปัญหาเรื่องระบบขนส่งขนาดรองเชื่อมต่อสถานี และให้เร่งหารือกับ ขสมก. เพื่อพิจารณาการจัดรถโดยสารประจำทาง ขสมก. หรือ Shuttle Bus เข้าบริการประชาชน ณ สถานีกลางบางซื่อเป็นการถาวรและมีความยั่งยื่นต่อไป

4.เสนอให้มีการปรับปรุงด้านความปลอดภัย ได้แก่กำกับดูแล และเร่งปรับปรุงซ่อมแซมสภาพกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ชำรุด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ภายในสถานีและบริเวณโดยรอบ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จัดให้มีระบบป้ายสัญลักษณ์ ป้ายเตือน ป้ายแนะนำ ที่เป็นไปตามมาตรฐาน และเป็นเอกภาพเหมือนกันทุกสถานี แก้ไขการใช้ป้ายสัญลักษณ์ทางออกฉุกเฉินไปใช้บอกทางผิดประเภท (สาย RW)

5.เสนอให้มีการปรับปรุงด้านการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กรณีการแก้ไขปัญหาวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างเถื่อน และการบุกรุกหรือใช้พื้นที่ภายในสถานีอย่างผิดวัตถุประสงค์ เช่น ใช้เป็นที่จอดรถของบุคคลภายนอก การใช้พื้นที่จอดแล้วจรเป็นตลาดนัดขายของกีดขวางทางสัญจร โดยให้พิจารณาจัดระเบียบพื้นที่อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการพิจารณาจ้าง Out source ในการกำกับความเป็นระเบียบและความปลอดภัยของพื้นที่ เป็นต้น

6. เสนอให้มีมาตรการบริหารจัดการขบวนรถไฟทางไกลที่เข้าให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อและการเยียวยาสำหรับผู้โดยสาร ได้แก่ การเสนอให้ผู้โดยสารสามารถใช้ตั๋วรถไฟทางไกล ขึ้นสายสีแดงฟรี 1 ครั้ง ทุกรอบทุกเที่ยว และสำหรับผู้โดยสารรถไฟชานเมือง ตามที่ รฟท. เสนอให้รถไฟชานเมืองใช้ทางวิ่งยกระดับ จึงเสนอให้ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสามารถนำตั๋วรถไฟชานเมือง ขึ้นสายสีแดงได้ฟรี โดยกรณีขาเข้าเฉพาะช่วง 30 นาที หลังเวลาที่ระบุบนตั๋วรถไฟชานเมือง และในส่วนกรณีขาออกเฉพาะช่วง 30 นาที ก่อนเวลาที่ระบุบนตั๋วรถไฟชานเมือง นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการจัดรถ Shuttle bus วิ่งบริการรับส่ง สถานีกรุงเทพ – บางซื่อ ความถี่ 15 นาที/เที่ยว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้โดยสารที่มีตั๋วรถไฟทางไกลหรือรถไฟชานเมือง

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ไม่สามารถพิจารณาในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากไม่ได้รับข้อมูลสถานะความคืบหน้าผลการดำเนินการจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อประกอบการพิจารณา คณะอนุกรรมการฯ จึงได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ดังนี้ จัดทำแผนการจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสารภายในสถานีกลางบางซื่อ (Circulation) จัดทำแผนและรายงานสรุปสถานะการดำเนินการปรับปรุงห้องน้ำภายในขบวนรถให้เป็นระบบปิดที่สามารถกักเก็บสิ่งปฏิกูลได้ให้ชัดเจน เพื่อนำเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งต่อไป

นอกจากนี้ต้องจัดทำแผนและรายงานสรุปสถานะการดำเนินการด้านการลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากหัวรถจักรบนชั้นชานชาลาสถานีกลางบางซื่อ จัดทำรายงานสรุปสถานะ/ผลการดำเนินการปรับปรุงระบบป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่อ พิจารณาแนวทางการจัดจ้างผู้ประกอบการสำหรับการให้บริการรถวีลแชร์หรือรถขนสัมภาระภายในสถานีกลางบางซื่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนและลดปัญหาสูญหาย จัดทำแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปรับย้ายการบริการรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากเดิมต้นทางที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ย้ายมาเป็นสถานีกลางบางซื่อ

ทั้งนี้ต้องจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมการปรับย้ายขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากเดิมต้นทางที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ย้ายมาเป็นสถานีกลางบางซื่อให้ชัดเจน ทั้งนี้ เสนอให้ รฟท. ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนที่ได้รับผลกระทบตามข้อ 6 ทุกครั้ง ในกรณีที่มีปรับย้ายการบริการรถไฟเชิงพาณิชย์ฯ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน จัดทำแผนการอำนวยความสะดวกการเดินทางเชื่อมต่อของประชาชน ณ สถานีกลางบางซื่อ อาทิ แผนการกำหนดมาตรการ/แนวทางการจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างบริเวณด้านหลังสถานี คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำรายงานผลการประชุมเพื่อแจ้งคณะอนุกรรมการฯเพื่อรับรองรายงานฯ และสรุปผลการประชุมตลอดจนข้อเสนอแนะรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บขส.ย้ำอย่าหลงเชื่อแท็กซี่เรียกเก็บค่าบริการ 50 บาท

บขส. เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าว ‘ให้แท็กซี่เรียกเก็บค่าบริการ 50 บาท’ในสถานีขนส่ง หมอชิต 2 ย้ำหากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวจะลงโทษตามกฎหมายทันที

บขส. เปิดตัวเลขกว่า 5.6 หมื่นคน จัดรถโดยสาร กว่า 3.9 พันเที่ยว 

บขส. เผยตัวเลขผู้โดยสารเดินทางกลับเข้า กทม. เมื่อวานนี้กว่า 5.6 หมื่นคน จัดรถโดยสาร กว่า 3.9 พันเที่ยว พร้อมจัด Feeder เชื่อมต่อรถเมล์-รถไฟ-รถไฟฟ้า รองรับการเดินทางของประชาชน

'สุรพงษ์' สั่งรื้อสายสีแดงส่วนต่อขยายหวังรองรับชุมชนเกิดใหม่

“สุรพงษ์” สั่ง รฟท.ปรับขยายระยะทางแนวเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 เส้นทางใหม่ ให้ยาวกว่าเดิม จากรังสิต-ธรรมศาสตร์ ขยายไปสิ้นสุดอยุธยา , ตลิ่งชัย-ศาลายา ขยายต่อไปนครปฐม รองรับชุมชนเกิดใหม่ หวังเป็นเส้นทางหลักขนถ่ายผู้โดยสารจากปริมณฑลเข้าสู่เมือง มั่นใจหลังปีใหม่1-2เดือนกลับมาเสนอ ครม.ใหม่

ดีเดย์ 30 พ.ย.นี้ ใช้บัตร EMV เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง-สีม่วง 20 บาทตลอดสาย

‘สุรพงษ์’ ลงพื้นที่ใช้บัตร EMV คิดค่าโดยสารเดินทางเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า ‘สายสีแดง-สีม่วง’ราคาสูงสุดเพียง 20 บาท ย้ำช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางแก่ประชาชน ด้าน ‘รฟม.’ชี้พก EMV ใบเดียว ใช้บริการรถไฟฟ้าจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว

เจ๊งวันละ 7.4 ล้านบาท! รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย

สามารถแฉรถไฟฟ้าสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสายครบ 30 วัน แล้ว ผงะ! ขาดทุนวันละ 7.4 ล้านบาท ถามไปต่อหรือพอแค่นี้ ที่สำคัญอย่าลืมทุกสายต้อง 20 บาทเพราะหาเสียงไว้

เชื่อมั้ย! ค่ารถไฟฟ้าใน กทม. ต่ำสุดแค่ 3 บาท

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เชื่อมั้ย ? ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่ำสุด 3 บาท !