'สกศ.'แนะใช้หลัก9ข้อของยูเนสโกฟื้นฟูเรียนรู้เด็ก

เป็นกรอบจัดการศึกษาช่วงสถานการณ์โควิดยังแพร่ระบาด “อรรถพล”เผยแม้เปิดเรียนแล้ว แต่สถาบันการศึกษายังทำได้แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการฟื้นฟูการเรียนรู้เด็ก  หลังได้รับผลกระทบจากโควิดนาน  2ปี ทำให้ทุกวันนี้ยังสับสน ไม่มีกรอบชัดดเจน

25ก.ค.2565-นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นสถานการณ์ที่กระทบกับคนทั่วโลก และภาพที่ใหญ่กว่าผลกระทบด้านสุขภาพมาก คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการศึกษาด้วย การที่ต้องปิดโรงเรียนส่งผลกระทบกับนักเรียนกว่า 1,500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ ช่วงการระบาดช่วงแรกที่ต้องปิดเรียน และสับสนกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ยังส่งผลมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ที่แม้จะมีการเปิดเรียนแล้ว แต่สถานการณ์ยังไม่ปกติ และคาดการณ์ได้ว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 การจัดการศึกษาก็จะเปลี่ยนไปไม่เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้น สกศ.จึงเห็นว่าหน่วยงานการศึกษา ทังระดับนโยบายและระดับปฏิบัติควรต้อง เตรียมตัวสำหรับการจัดการศึกษาแบบปกติใหม่ (New Normal) อย่างต่อเนื่อง
“แม้สถานการณ์การระบาดของโควิดตังแต่เริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน จะผ่านมากว่า 2 ปี แต่ก็ยังต้องมีการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จนบางครั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เริ่มไม่มั่นใจว่าควรยึดกรอบใด สกศ. ในฐานะเข็มทิศการศึกษาของประเทศ จึงแนะนำให้ยึดกรอบข้อแนะนำของ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนาคตของการศึกษา (International Commission on the Futures of Education) ที่องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เผยแพร่ ในการ จัดการหรือแก้ปัญหาด้านการศึกษา”เลขาสกศ.กล่าว

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า สำหรับ ข้อแนะนำของ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนาคตของการศึกษา มี ดังนี้ คือ 1. ยึดมั่นพันธกิจที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการศึกษาโดยค้านึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะ การศึกษาเป็นเกราะป้องกันความไม่เท่าเทียม 2. ขยายคำจำกัดความของสิทธิในการศึกษาเพื่อให้เข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้นในภาวะยากลำบาก โดยเน้นให้ความสำคัญของการเชื่อมต่อเพื่อการเข้าถึงความรู้และข้อมูลได้สะดวกในทุกที่ ทุกเวลา 3. ให้คุณค่ากับวิชาชีพครู และเพิ่มความยืดหยุ่นโดยส่งเสริมเงื่อนไขที่ให้อิสระในการทำงานของครูเพื่อ ส่งเสริมให้ครูสามารถทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การเรียนการสอน ตอบสนองต่อวิกฤตการณ์โควิด-19 4. ส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของนักเรียนเด็กและเยาวชน ในการสร้างร่วมของการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ 5. ปกป้องและรักษาพื้นที่ทางสังคมที่เกิดจากการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ในขณะที่เรา เปลี่ยนแปลงการศึกษา โรงเรียนเป็นพื้นที่ทางสังคมที่ปลอดภัยส้าหรับเด็ก แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ แต่ห้องเรียนเป็นรูปแบบที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการใช้ชีวิตร่วมกัน แตกต่างจากพื้นที่การเรียนรู้อื่นๆ 6. รัฐพึงส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและนักเรียนเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย และ ไม่ควรพึ่งพาแพลตฟอร์มของเอกชนมากเกินไป เพราะอาจเป็นการขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้กว้างขึ้น

7. ใช้สถานการณ์โควิด-19 ให้เป็นประโยชน์ในการให้นักเรียนและครูใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พร้อมๆ กับ สร้างภูมิคุ้มกันและการคิดอย่างมีวิจารณญานในการแยกแยะข้อมูลที่ผิดหรือข้อมูลปลอม 8. ร่วมกันดูแลและใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการศึกษาอย่างคุ้มค่า และเป็นประโยชน์สูงสุด เพราะมีนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้แล้ว ว่า สถานการณ์โควิดในครังนี้ทำลายความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศไปหลาย ทศวรรษ การใช้งบประมาณให้คุ้มค่าจึงเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตไปพร้อมกันด้วย
9. ส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่เพียงแค่ในประเทศแต่รวมไปถึงระดับนานาชาติ ด้วย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เราเห็นภาพชัดเจนว่า หากไม่ร่วมมือกันวงจรการแพร่ระบาดจะไม่อาจหยุดยังได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.เห็นชอบ 'สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา' เข้าบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (9 เมษายน 2567) มีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements

ข่าวดี 'ยูเนสโก' ขึ้นทะเบียน 'ประเพณีสงกรานต์ไทย' มรดกมนุษยชาติ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย”