'ผู้ประกันตนติดโควิด' เลือกรักษา ระบบ Telemedicine กับ 3 แอป ได้แล้ว วันนี้     

     

“ผู้ประกันตนป่วยโควิด” รับการรักษาด้วย “ระบบการแพทย์ทางไกล” ผ่าน 3 แอปพลิเคชั่น ได้แล้ววันนี้ ทั้งแอป Good Doctor, แอป MorDee และแอป Clicknic เพิ่มช่องทางและได้รับการดูแลเช่นเดียวกับ สิทธิบัตรทองและสวัสดิการข้าราชการ พร้อมเผยช่วง 1 เดือน มีผู้ป่วยโควิดรับการดูแลผ่านระบบออนไลน์แล้ว 5,388 รายแล้ว    

17ส.ค.2565- ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่ สปสช. ได้ร่วมกับ บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Good Doctor Technology และ ทรู เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) และบริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Clicknic (คลิกนิก) ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา  

ทั้งนี้ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 ที่อาการไม่มาก เข้ารับบริการแล้วจำนวน 5,388 ราย (ข้อมูล ณ 17 ส.ค. 65) นับเป็นช่องทางการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่ช่วยให้เข้าถึงบริการโดยสะดวก ช่วยลดการเดินทางและความแออัดในการเข้ารับบริการที่หน่วยบริการ  

อย่างไรก็ตาม การให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านระบบการแพทย์ทางไกลนี้ ที่ผ่านมาครอบคลุมการให้บริการเฉพาะผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น และสิทธิสวัสดิการข้าราชการเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาด้วยมีผู้ป่วยที่เป็นผู้ประกันตนร่วมลงทะเบียนในระบบ เพื่อขอรับบริการระบบการแพทย์ทางไกลจำนวนมาก ดังนั้น สปสช.จึงได้ประสานไปยังสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อดำเนินการให้ผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยโควิดสามารถใช้สิทธิรับบริการนี้ได้ 

ล่าสุด สปสช.ได้รับแจ้งว่า สปส. ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดฉบับใหม่ (ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 โดยครอบคลุมถึงการให้บริการระบบการแพทย์ทางไกล ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยโควิดสามารถเข้ารับบริการระบบการแพทย์ทางไกล ที่ สปสช. ดำเนินการร่วมกับผู้ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกลทั้ง 3 แอปพลิเคชั่นได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทองและสิทธิสวัสดิการข้าราชการ   

“ผู้ประกันตนที่ติดเชื้อโควิดวันนี้สามารถเข้ารับบริการผ่านระบบ Telemedicine ได้แล้ว ซึ่งท่านจะได้รับบริการดูแลจากผู้ให้บริการทั้ง 3 แอปพลิเคชั่น เช่นเดียวกับผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทองและสิทธิสวัดิการข้าราชการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย ซึ่งผู้ให้บริการทั้ง 3 แอปพลิชั่นได้แจ้งความพร้อมระบบในการรองรับบริการแล้ว” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว       

ครอบคลุมสิทธิรักษาพยาบาลดังนี้ 

1.สิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป 

2.สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป 

3.สวัสดิการข้าราชการ (เบิกกรมบัญชีกลาง) ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป 

4.สิทธิประกันสังคมหรือผู้ประกันตน ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป 

เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19  

1.สามารถเลือกลงทะเบียน เพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ ซักถามและจ่ายยาตามอาการ (หากเข้าเกณฑ์ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์) พร้อมจัดส่งถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย  

เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้  

1.แอปพลิเคชัน Clicknic ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด : https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57 

รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์)  

สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic 

2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p  

รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ทั่วประเทศ 

สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp 

3.แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย): https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7  

รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น  

สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt  

2. รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อยืนยันตัวตนเข้ารับบริการ คัดกรอง ประเมินอาการเบื้องต้น และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ให้คำแนะนำการดูแลตัวเอง 

3. จัดส่งยาตามความจำเป็นให้กับผู้ป่วย โดยบางรายอาจได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์ 

5. เมื่อรับการดูแลครบ 48 ชั่วโมงแล้ว เจ้าหน้าที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อสอบถามอาการ และแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองให้ครบ 10 วันตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นแล้วก็จะออกจากระบบการดูแลได้  หากในระหว่างนี้ผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งข้อมูลต่อให้กับ สปสช.เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป 

หมายเหตุ กรณีกลุ่มสีเขียว รับผู้ป่วยโควิด-19 ตามหลักเกณฑ์ดังนี้  

-อายุ 15-60 ปี 

-น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลรัม หรือ BMI ไม่เกิน 30 

-ไม่ตั้งครรภ์ 

-ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง 

-ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แม้จะคุมอาการได้ก็ตาม 

-ไม่ใช่กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์ 

-ไม่มีอาการของโรคโควิด-19 รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ 

-ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ภาวะอ้วน 

-กรณีคนพิการ รับดูแลคนพิการที่สามารถใช้การสื่อสารทางออนไลน์ได้ และไม่มีอัตราเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ 

อัพเดทข้อมูลล่าสุด 15 สิงหาคม 2565 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 446 ราย ดับเพิ่ม 3 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 446 ราย