รวบหลักสูตร'ปวช.-ปวส.'เหลือเรียนแค่ 4 ปีจากเดิมต้องใช้เวลา 5 ปี

สอศ. เตรียม คลอดหลักสูตรเรียนรวม ปวช.-ปวส. 4 ปี จากเดิม 5ปี  ตั้งเป้าเพิ่มสถาบันอาชีวะทำทวิภาคีกับสถานประกอบการเป็น 50% ภายใน 3ปี จากเดิมทำข้อตกลงได้เพียง 15% “สุเทพ”ยันผู้ประกอบการ ไม่ต้องกังวล เด็กอายุต่ำกว่า 18 ทำงานได้ เพราะกฎหมายแรงงานอนุโลมให้อยู่แล้ว

22ส.ค.2565-นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า  เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมร่วมกับนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในการติดตามนโยบายการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษา หลังจากที่นางสาวตรีนุช ได้ประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการทั้งรัฐและเอกชนในการจัดการเรียนการสอนอาชีวะ ซึ่ง รมว.ศธ. ได้มีข้อสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ดำเนินการขับเคลื่อนการศึกษาสายอาชีพให้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเรื่องการปรับหลักสูตรที่ยืดหยุ่นให้ผู้เรียนอาชีวศึกษาสามารถเรียนจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภายใน 4 ปีจากเดิมต้องเรียนปวช.2ปี และปวส.3 ปี หรือรวมกัน 5ปี  และเด็กจะต้องมีอายุ 18 ปี สามารถทำงานในสถานประกอบการได้ แต่ขณะนี้เมื่อเด็กเรียนจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะมีอายุ 17 ปี ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากอายุไม่ถึงติดกฎหมายแรงงาน  ซึ่ง สอศ.จะปรับหลักสูตรให้ผู้เรียนสายอาชีพได้จบภายใน 4 ปี โดยจะไปหารือปรับแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในคณะอนุกรรมการกฎหมายการศึกษาของ สอศ. จากนั้นจะเข้าที่ประชุม กอศ.พิจารณาเห็นชอบออกมาเป็นหลักสูตรเรียนรวม ปวช.-ปวส. 4 ปี ต่อไป เพื่อให้ผู้เรียนไปประกอบอาชีพได้ไม่ติดกฎหมายแรงงาน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีการหารือ เรื่อง การขยายความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคี โดยมีเป้าหมายต้องการให้นักเรียนเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จากปัจจุบันที่จัดอยู่ประมาณ ร้อยละ 15 ภายใน 3 ปีการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้เราจะมีการทำความเข้าใจกันใหม่ระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษา เนื่องจากเราพบปัญหาว่าสถานประกอบการส่วนใหญ่ยังมีช่องด้านกฎหมายแรงงาน ซึ่งต้องเป็นเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไปในการเข้าทำงาน    
“แต่ความจริงแล้วการทำความร่วมมือแบบทวิภาคีนี้กฎหมายแรงงานได้อนุโลมให้อยู่แล้ว  ซึ่งจากนี้ไป สอศ.จะเดินหน้าทำความเข้าใจให้มากขึ้น ทั้งนี้เรื่องใดเป็นข้อท้วงติงจะต้องเร่งทำทันที เพื่อให้การผลิตผู้เรียนสายอาชีพมีประสิทธิภาพ”เลขาฯ กอศ.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส.-สอศ. ร่วมลงนาม MOU เสริมศักยภาพครู-แกนนำนักเรียนอาชีวศึกษา ห่างไกลปัจจัยเสี่ยง เหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ ขยายพื้นที่จาก 25 สถาบัน สู่ 45 สถาบันอาชีวศึกษา ครอบคลุมทั่วประเทศ ชี้

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำผู้เรียนอาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ) ในสถานศึกษา ณ โรงแรม เบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพฯ

TOA ผนึก สอศ. ปั้นนักเรียนอาชีวะเป็น ‘เถ้าแก่เจ้าของธุรกิจ’ รุ่นใหม่ กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจและเศรษฐกิจให้ประเทศไทยมั่นคง

บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA ผู้นำตลาดสีทาอาคารและวัสดุก่อสร้างครบวงจรแบบ Total Solution ซึ่งนอกจากจะให้ความสำคัญในการคิดค้น สร้างสรรค์

สอศ.บรรจุครูผู้ช่วย 996 อัตรา เตรียมพร้อมเปิดเทอม

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มอบหมายให้นายณรงค์ชัย เจริญรุจิทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ เป็นประธานใน