สธ.เตรียมฉีดย้อนหลังวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก นร.หญิงชั้นป. 5 จำนวน 8แสนคน หลังชะงักไปเพราะโควิด 2ปี

22 ส.ค. 2565- ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การประชุม APEC Health Week วันแรกในช่วงบ่าย มีการประชุมหารือเชิงนโยบายเรื่องการกำจัดไวรัส HPV และมะเร็งปากมดลูก สาเหตุที่มีการนำเรื่องนี้ขึ้นมาหารือในการประชุม APEC Health Week เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในสตรีทั่วโลก แต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่ราว 6 แสนราย และมีผู้เสียชีวิตราว 3.4 แสนราย ซึ่งจำนวนนี้พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในเขตเศรษฐกิจ APEC ถึงร้อยละ 38 และพบผู้เสียชีวิตร้อยละ 35 โดยการประชุมในวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานการสร้างขีดความสามารถ และการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคในการป้องกัน คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก การดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งในระยะที่รักษาได้หรือในระยะท้ายที่ดีที่สุด รวมถึงรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจสามารถดำเนินงานได้ตามแผนงานแรกของเอเปคในการการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสำหรับผู้หญิงผ่านการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก (The First APEC Roadmap to Promote Sustainable Economic Advanced for Women through Cervical Cancer Prevention and Control) ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงปี 2014-2017 และตามนโยบายขององค์การอนามัยโลกในการกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกภายในปี 2030

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยมีแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2561 – 2565 ซึ่งในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน การคัดกรอง และการรักษาโรค โดยปัจจุบันบรรจุอยู่ในแผนการดำเนินงานของเขตสุขภาพทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งในเรื่องของการป้องกันเราบรรจุการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีนเอชพีวีเข้าสู่แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ และบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทั้งวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์ เพื่อฉีดให้แก่นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละปี มีประมาณ 4 แสนคน เป็นการฉีดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ โดยเริ่มฉีดมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีความคุ้มทุนและมีประสิทธิผลป้องกันโรคสูงและยาวนาน

ส่วนการคัดกรองมีแนวทางการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2565 กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง (HPV Self Sampling) หลังเก็บตัวอย่าง ใส่ลงในหลอดน้ำยาตามขั้นตอนที่กำหนดแล้วสามารถส่งไปยังโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเพื่อดำเนินการตรวจและรายงานผลตรวจต่อไป ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เก็บตัวอย่าง ซึ่งผู้หญิงจำนวนมากมีความเขินอาย กลัวการใส่เครื่องมือทางช่องคลอด หรือไม่อยากเสียเวลางาน ทำให้ไม่ไปตรวจ จึงเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการตรวจคัดกรองมากขึ้น ส่วนการรักษาแพทย์จะพิจารณาตามระยะ โดยมีการรักษาทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา ซึ่งสามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิประโยชน์

“ภายในที่ประชุมมีการหารือถึงเรื่องการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่หยุดไปในช่วง การระบาดของโรคโควิด 19 และเตรียมความพร้อมให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องหากเกิดโรคระบาดแบบนี้อีก ซึ่งช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโรคโควิด 19 มีผลต่อการผลิตและจัดหาวัคซีนเอชพีวีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ทำให้ไม่สามารถจัดหาเข้าฉีดเด็กนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของไทยได้ รวมกว่า 8 แสนคน แต่ในปีนี้เราสามารถจัดหาวัคซีนเอชพีวีเข้ามาฉีดนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แล้วประมาณ 4 แสนคน และอยู่ระหว่างการจัดหา เพื่อดำเนินการฉีดวัคซีนย้อนหลังสำหรับ 2 ปีที่ผ่านมาอีก” นพ.สมศักดิ์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สธ. เซ็นจัดซื้อยาแพกซ์โลวิด 5 หมื่นคอร์ส เผยผลศึกษาช่วยลดความเสี่ยงนอนรพ.-เสียชีวิตได้ 88%

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคติดเชื้อโควิด-19มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นวงกว้าง และมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาวิธีการรักษารวมถึงการจัดหายารักษาโควิด-19 จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล

‘อธิบดีกรมการแพทย์’ ประชุมความคืบหน้า ‘โควิด’ สู่โรคประจำถิ่น

อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic) ด้านการแพทย์

ผู้ป่วยโควิดสีเหลือง-แดง ครองเตียงลดลง ศูนย์พักคอย รพ.สนามกทม. เตียงว่าง 95%

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้เตียงทั่วประเทศมีจำนวน 178,139 เตียง เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2565 พบอัตราการครองเตียงเพิ่มขึ้นทั่วประเทศเป็น 22.7%