กรมแพทย์ร่วมกับมธ.เปิดหลักสูตร'การแพทย์แม่นยำ'คนทั่วไป ก็เข้าอบรมได้

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ทางกรมการแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แม่นยำ เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนในมิติใหม่ของระบบสาธรณสุขในประเทศไทย โดยการแพทย์แม่นยำเป็นแนวทางใหมในการรักษาและป้องกันโรค ที่คำนึงถึงความผิดปกติของยืน สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ปัจจุบันถือว่าการแพทย์แม่นยำกำลังเป็นตัวเปลี่ยนแปลงการวิจัยทางคลินิกและชีวการแพทย์ การดูแล สุขภาพ แนวความคิดและมุมมองเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงสุขภาพของประชาชนและลดค่าใช้จ่ายของระบบสาธารณสุช  

สำหรับ การแพทย์แม่นยำ ถือว่าเป็น”Disruptive Technologies หรืคลื่นลูกที่สามของการปฏิวัติทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ เกิดขึ้นหลังจากการถอดรหัสพันธุกรรม   และมีต้นทุนถูกลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบ การมีข้อมูลเชิงประจักษ์ เกี่ยวกับกลไกของการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวช้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดพลาดของรหัสพันธุกรรม ทั้งในระดับ DNA RNA และโปรตีน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการปรับตัวของระบบการดูแลสาธารณสุข

 นพ.สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการกับการรองรับมิติใหม่ทางการแพทย์นี้ จึงต้องยกระดับความสำคัญในการสร้งองค์ความรู้ ความถนัดในการวิเคราะห์ โดยการวางแผนเนื้อหาและการจัดอบรม (Education &  raining) ในรูปแบบต่างๆ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลทั่วไป เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล  รวมทั้งยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคด้านการแพทย์ ซึ่งกรมการแพทย์มีภารกิจหลัก ในการพัฒนาวิชาการด้นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม การเทิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรด้นการแพทย์เฉพาะทาง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการสร้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ โดยปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในแกนหลักสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย


ด้าน รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี (มธ.) กล่าวว่า มธ.  เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน มีเป้าหมายพัฒนาการศึกษาเพื่อ Upskill และ Reskill ทักษะองค์ความรู้ให้กับประชาชน  รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ มธ.  ศูนย์พัทยา ซึ่งอยู่ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC  จะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ Medical Hub ทั้งทางด้านระบบบริการทางการแพทย์แบบดิจิทัล และศูนย์กลางทางการรักษาแบบมุ่งเป้าเชิงสุขภาพ หรือ Precision Health ต่อไปในอนาคต

“จากหลักการตังกล่าว กรมการแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ เห็นควรให้มีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการแพทย์แม่นยำร่วมกับ มธ. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลทั่วไป เพื่อนำความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แม่นยำที่ได้ศึกษามาให้บริการแก่ผู้ป่วย” ศ.เกศินี กล่าว


ทางด้านการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์เข้ามาอบรมได้นั้น  ผู้เข้ารับการอบรม จะต้องมีคุณสมบัติจบปริญญาตรี ความรู้ที่ได้จาการอบรมจะเป็นความรู้พื้นฐานด้านการแแพทย์แม่นยำ  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลคนป่วย ที่อาจเป็นคนในครอบครัว และเกิดความรู้ความเข้าใจเมื่อต้องปรึกษารายละเอียดในการดูแลผู้ป่วยกับแพทย์ที่ให้การรักษา ส่วนความรู้การแพทย์แม่นยำระดับสูง ผู้เข้าอบรมจะต้องมีความรู้ทางการแพทย์ หรือเป็นบุคลากรทางกาแพทย์


รศ.เกศินี กล่าวอีกว่า การสร้างหลักสูตรสำหรับการแพทย์แม่นยำ จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร์ที่ 1. Basic Genetics  and Precision Medicine, หลักสูตรที่ 2 Genetic Counselor for Precision Medicine, หลักสูตรที่ 3 Clinical Genetics and Genomics for Precision Medicine และหลักสูตรที่ 4 Laboratory in Genetics and Genomics for Precision Medicine โดยสามารถเริ่มลงทะเบียนได้ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และเริ่มอบรมในวันที่ 10 มีนาคม 2565 อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม http://bit.ty/3sxPUH หรือ      E-mail: [email protected].

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มธ.จัดงาน 'วันสัญญา ธรรมศักดิ์' เปิดวงเสวนายกเคส ชั้น 14 สะเทือนกระบวนการยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด “งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2567” มอบรางวัลนักศึกษากฎหมาย-เรียนดี สืบสานปณิธานปูชนียบุคคลด้านนิติศาสตร์ พร้อมจัดวงเสวนา “กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนบังคับคดีอาญา” ยกเคสตัวอย่าง “คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ” บนขั้นตอนที่ผิดเพี้ยน สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรม-กฎหมายไทย

เปิดเบื้องลึก! กว่าจะได้นั่งเก้าอี้ 'อธิการ มธ.'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในระหว่างการสรรหาอธิการบดีคนใหม่

ย้ำหลัก ธรรมศาสตร์รับใช้ประชาชน ยึดมั่นในประชาธิปไตย-นิติธรรม และซื่อสัตย์ ไม่โกง

‘ชวน‘ ปาฐกถา ’เหลียวหลังแลหน้า ธรรมศาสตร์ และประชาชน’ ย้ำ ควรยึดมั่นหลักการก่อตั้ง ผลิตบุคลากร ‘ซื่อสัตย์-ไม่คอร์รัปชั่น’ 

กรมการแพทย์ เตือนพ่อแม่ PM 2.5 ภัยล่องหนส่งผลร้ายต่อลูก

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ชี้มลพิษทางอากาศ (ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5) ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

ในหลวง พระราชทานพระบรมราโชวาทบัณฑิตใหม่ ม.ธรรมศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารกิติยาคาร ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี