
16 ก.ย. 2565 – รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เรียกประชุมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ค.ศ. โดยเร่งด่วน หลังสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างรองรับการเปลี่ยนระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นตาม พรบ. ดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องเกณฑ์ PA ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากมีแผนที่จะเปิดในระบบในวันที่ 1 ตุลาคม นี้
เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวภายหลังการประชุมฯ ว่า หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปเมื่อวานนี้นั้น (15 ก.ย. 65) นั้น ตนเองจึงได้เรียกประชุมคณะผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องของสำนักงาน ก.ค.ศ. โดยเร่งด่วน เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้ติดตามและเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นไว้บ้างแล้ว สำหรับการประชุมร่วมกับกับคณะผู้บริหารในวันนี้เป็นการหารือและวางแผนตามแนวทางการดำเนินงานที่วางไว้ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ ก.ค.ศ. ออกไปจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแทบทั้งหมด จึงต้องมีการวางแผนการดำเนินที่รัดกุม โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบทันที คือ เรื่องของการยื่นขอมีและเลื่อนวิทยฐานะที่สำนักงาน ก.ค.ศ. จะเปิดระบบให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอผ่านระบบดิจิทัล (DPA) ในเดือนตุลาคมนี้
เนื่องจาก พรบ.ดังกล่าว จะทำให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเกี่ยวกับเกณฑ์ PA และระบบ DPA ยุติไปเป็นบทบาทหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาแทน ดังนั้น สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้วิเคราะห์และเตรียมเสนอแนวทางในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ อ.ก.ค.ศ.เกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและระบบบริหารงานบุคคลโดยเร่งด่วนในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 และ อ.ก.ค.ศ. เกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะประชุมในอังคารที่ 20 กันยายน 2565 หลังจากนั้นจะนำเสนอเป็นวาระด่วนต่อที่ประชุม ก.ค.ศ. ในที่พุธที่ 21 กันยายน 2565 นี้ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินงานและตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หากมติที่ประชุมเป็นอย่างไร จะได้แจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน ต่อไป
“ร่าง พรบ.ดังกล่าว อยู่ในขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งในบทเฉพาะกาลของกฎหมายฉบับนี้ ได้ให้เวลากับคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ออกหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ พรบ.นี้มีผลใช้บังคับ ดังนั้น สำนักงาน ก.ค.ศ. ก็จะเร่งปรับแก้หลักเกณฑ์ PA และระบบ DPA รวมถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยเร็วที่สุดต่อไป” เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GC จับมือ GCME และ PA ส่งมอบโซลูชันผลิตภัณฑ์เสริมแรงไฟเบอร์ ทิศทางใหม่สู่อนาคตอุตสาหกรรมไทยคาร์บอนต่ำ
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บริษัท จีซี เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จํากัด หรือ GCME และ บริษัท เพอร์มาเทค
เปิดเซฟ 2 อดีตคสช. ในรอบ 10 ปี 'พล.ร.อ.ณรงค์-พล.อ.ธนะศักดิ์'
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณี สว.พ้นจากตำแหน่ง หลายราย
ทักษิณดิ้นแรง! ทีมทนายยื่น 'อสส.' ขอทบทวนสั่งฟ้องคดี 112 อ้างถูกคสช.ยัดข้อหา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานอัยการว่า เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมกฎหมายของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาคดีความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการสูงสุด(อสส.)
เตือนเกียรติบัตรอบรม e-Learning ก.ค.ศ. ใช้ต่อใบประกอบวิชาชีพไม่ได้
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏถึงเรื่องอบรมออนไลน์หลักสูตร e-Learning สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
'ก้าวไกล' ซัด 'คสช.-คนโหวตหนุนรัฐธรรมนูญปี 2560' ต้นตอทำให้มีวิกฤต สว.
'ชัยธวัช' กังวลศาล รธน.รับคำร้อง พ.ร.ป.เลือก สว.ขัดรัฐธรรมนูญ หวั่นได้ สว.ชุดใหม่ช้า ซัดชุดเก่าเคลื่อนไหวล้มกระดานหวังอยู่ยาว ข้องใจทำไมไม่โวยวายตั้งแต่แรกว่าไม่ได้มาจาก ปชช.
นักวิชาการบอกหากมีรัฐประหารอีกไทยอาจถูกมหาอำนาจแทรกแซง!
ครบรอบ 10 ปีรัฐประหาร คสช.คาดหวังเป็นรัฐประหารครั้งสุดท้าย หากเกิดรัฐประหารอีกในอนาคตจะสร้างความเสียหายรุนแรง อาจเปิดโอกาสนำไปสู่การแทรกแซงทางการเมืองของมหาอำนาจ