'บพท.'ในสังกัดอว.จับมือ 20 มหาวิทยาลัยสร้าง LE Financing ชุบชีวิตธุรกิจชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

พบธุรกิจชุมชนที่เข้าร่วม 630 แห่ง และได้รับความเดือดร้อนจากการระบาดของโควิด สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ราบรื่น 94% ภายใน 45 วัน


11พ.ย.2564-นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่าภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 บพท.ได้ประสานความร่วมมือกับ 20มหาวิทยาลัย ในการใช้องค์ความรู้ตลอดจนทักษะด้านการวิจัย เข้าไปผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นครอบคลุม 73จังหวัดทั่วประเทศ โดยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนระเบิดปัญหาอุปสรรค และความต้องการของตัวเองออกมาเพื่อร่วมกันแสวงหาทางแก้ไข ด้วยการสร้างนวัตกรรมความรู้ใหม่ ที่ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ปัญหาและสามารถหาทางเลือกที่เหมาะสมให้กับธุรกิจของตัวเอง สำหรับเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ธุรกิจชุมชนในท้องถิ่นอย่างได้ผล โดยผ่านแพลตฟอร์มแผนงานการพัฒนาธุรกิจชุมชน (Local Enterprise-LE)

กิตติ สัจจาวัฒนา

นายบัณฑิต อินณวงศ์ หัวหน้าแผนงานการพัฒนาธุรกิจชุมชน บพท.กล่าวว่า บพท.กับคณาจารย์และคณะนักวิจัยจาก 20 มหาวิทยาลัย ได้เข้าสำรวจข้อมูลธุรกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 630แห่งระหว่างวันที่ 1-15 ก.พ.2564 และพบว่าธุรกิจกว่าร้อยละ 61.6 มีรายได้ลดลง ขณะที่ธุรกิจ ร้อยละ 42.3 ต้องลดรายจ่าย และธุรกิจ ร้อยละ 46.6 เผชิญปัญหาต้นทุนในการดำเนินกิจการ ส่วนธุรกิจ ร้อยละ 36.5 เผชิญกับความเสี่ยงในการดำเนินกิจการเพิ่มขึ้น

ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 นายบัณฑิต กล่าวว่าได้พบปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดของธุรกิจชุมชน โดยมีธุรกิจเอสเอ็มอีในชุมชนจำนวนไม่น้อยที่เสี่ยง จะต้องปิดกิจการเพราะปัญหาสภาพคล่องไม่เพียงพอส่วนใหญ่คาดว่าจะประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ในช่วงเวลา 6 – 7.5 เดือนเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างแรงต่อการจ้างงานงานในท้องถิ่น คือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน และขาดความรู้ในการจัดการทางการเงิน เพื่อดำเนินธุรกิจ ดังนั้นทีมวิจัยจึงสร้างเครื่องมือประเมินสุขภาพทางการเงินของธุรกิจ ในรูปของแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “LE Financing”

สำหรับใช้เป็นเครื่องมือประเมินสุขภาพทางการเงินของธุรกิจชุมชนได้ทั่วประเทศโดยให้ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลผ่านระบบและตอบคำถามที่มีการออกแบบไว้ในขั้นตอนแรกจะเป็นการประเมินจากอาการของโรคการเงิน มีการประเมินสัดส่วนทางการเงินใน 4 ส่วนที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน ได้แก่ รายได้ กำไร สภาพคล่อง และภาระหนี้ของธุรกิจซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยให้มองเห็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจของตัวเอง กระตุ้นความต้องการแก้ไขจากนั้นนักวิจัยจะเข้าไปให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องทั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจชุมชนทำให้เห็นความสำคัญของการเริ่มจากส่วนที่ชุมชนสามารถแก้ไขได้ก่อนใน

ลำดับแรกคือเรื่องของรายได้และสภาพคล่อง โดยให้มีการบันทึกแผนการเงินของธุรกิจผ่านแอพลิเคชั่น LE Financing จากการประเมินสุขภาพทางการเงินของธุรกิจ ในระยะเวลาประมาณ 10 วัน พบว่าสภาพคล่องของภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้นจำนวนของธุรกิจที่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ขยับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47 มาอยู่ที่ร้อยละ 65 และจำนวนธุรกิจชุมชนที่ประสบปัญหาในระดับวิกฤตลดลงจากร้อยละ 39 มาอยู่ที่ร้อยละ17 และเมื่อมีการทำโครงการต่อเนื่องพบว่าสัดส่วนของธุรกิจที่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นเพิ่มเป็นร้อยละ 89 ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อดำเนินงานต่อเนื่องจนถึงวันที่ 45 พบว่าธุรกิจชุมชนที่อยู่ในระดับวิกฤติลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น

นายบัณฑิต ยังเปิดเผยว่าการวิจัยในครั้งนี้ยังค้นพบปัจจัยที่เป็นกุญแจสำคัญ (Key Success Factors)ในความสำเร็จของผู้ประกอบการในท้องถิ่น ใน 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ 1.การมีสุขภาพการเงินที่ดี คือ มีสภาพคล่องสูงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้ มีหนี้สินในการดำเนินงานไม่มากจนกระทบต่อเงินหมุนเวียน 2.มีความสามารถในการประกอบการอย่างต่อเนื่อง และ 3.มีความสามารถในการเลือกทำกำไรที่ดี โดยในการดำเนินการกิจการในชุมชนอาจมีสินค้าที่มีความหลากหลายชุมชนต้องสามารถเลือกจำหน่ายสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด

“การวิจัยนี้เกิดผลสำเร็จที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดผ่านการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักวิชาการกับผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในท้องถิ่น ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดและกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด”

สำหรับ 20 มหาวิทยาลัย ที่ร่วมมือกับ บพท.ในการสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมความเข้มแข็งแก่ธุรกิจชุมชนเพื่อก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยหัวเฉียว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณมงคล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ศุภมาส’ ยัน ไม่ได้หนีอุเทนถวาย หลังมีคำสั่งให้ ขรก. เวิร์คฟรอมโฮม

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวก่อนการป

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'วันนักประดิษฐ์'

2 ก.พ.2567 - เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2567 และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ