Google เปิดตัว 6 หลักสูตร'Samart Skills' ดันไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มตัว

ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการทั้งจากภาครัฐและเอกชน

ต้องยอมรับว่าในตลาดแรงงานไทย กำลังเสาะแสวงหาผู้มีทักษะด้านดิจิทัล มาร่วมงานกันอย่างมาก เนื่องจาก ประเทศไทยยังขาดแคลนผู้มีทักษะความรู้ด้านนี้จำนวนมาก  ทำให้ Google  ในฐานะเป็นองค์กรด้านข้อมูล และเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลชั้่นนำของโลก  จึงตัดสินใจให้ Google ประเทศไทย ดำเนินเปิดตัวโครงการ “Samart Skills”  หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับแรงงานไทย  โดยผู้จบหลักสูตร “Samart Skills”  จะได้รับ Google Career Certificates ซึ่งพร้อมที่จะทำงานได้ทันที    โดยการดำเนินโครงการดังกล่าว   Google  ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันการศึกษาพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทย  

สถานการณ์แรงงานด้านทักษะดิจิทัลในปัจจุบันเป็นอย่างไร นายอาชวัสน์  เจริญศิลป์ จากบริษัท  AlphaBeta  องค์กรผู้จัดทำข้อมูลระดับโลก ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้AlphaBeta  ได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยระบุว่าหากประเทศไทย เปลี่ยนรูปแบบมาสู่ระบบดิจิทัล จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 7.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573   หรือเท่ากับ 16% ของจีดีพี  โดยมีหลายกลุ่มเศรษฐกิจที่จะได้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบดิจิทัล เช่นกลุ่มอุปโภคบริโภค หรือการท่องเที่ยว   แต่ก่อนที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มไปถึง  2.5 ล้านล้านบาท ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นเรื่องเร่งด่วนต้องแก้ไข นั่นก็คือ ศักยภาพของแรงงาน ไทยมีแรงงานที่มีศักยภาพแรงงานด้านดิจิทัล 55% เทียบกับถ้าดูประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน  สิงคโปร์มี  77%  มาเลเซีย 66 % และอินโดนีเซีย 61%  จึงถือว่าเราจึงตามหลังเขาอยู่  นอกจากนี้ โออีซีดี ยังระบุว่า 44% ของตำแหน่งงานปัจจุบัน จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีออโตเมชั่น โดย 78 % ของภาคธุรกิจในประเทศไทยได้เริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ ปัญหาจำนวน แรงงานที่เรามีอยู่จึงยังไม่เพียงพอรองรับความต้องการ  ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 2.5 ล้านล้านบาทได้ ก็คือ การศึกษา โดยทำอย่างไรให้ทรัพยากรมนุษย์ของเรา แรงงานของเรามีทักษะด้านดิจิทัล  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลของประเทศไทย

“ในส่วนของภาครัฐ มีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และโครงการพัฒนาทักษะของGisda โครงการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลได้มากขึ้น  กูเกิ้ลเองก็มีส่วนผลักดัน ผ่านโครงการ Samart Skills นี้ด้วย”

ไมค์ จิตติวาณิชย์

นายไมค์ จิตติวาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดด้านแบรนด์ของ Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กล่าวว่า      จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ e-Conomy SEA Report ที่  Google จัดทำร่วมกับ Temasek และ Bain & Company ในปีที่ผ่านมา ระบุว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเข้าสู่ “ทศวรรษแห่งดิจิทัล” และเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สดใสมากที่สุด โดยคาดว่าในปี 2568 มูลค่าสินค้ารวมในเศรษฐกิจดิจิทัล (GMV) จะแตะที่ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านคน โดยกว่า 67% ของผู้ใช้รายใหม่อาศัยอยู่นอกหัวเมืองหลัก  ซึ่งโครงการ “Samart Skills” นี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการ Saphan Digital ที่ได้ฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปแล้วกว่า 100,000 ราย รวมทั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าคนไทยจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างเท่าเทียมและใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย

นางศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย Country Marketing Manager, Google ประเทศไทย กล่าวว่า Google ยินดีที่ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ “Samart Skills” ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ดิจิทัลสกิลให้กับคนไทย เหมาะคนที่กำลังหางาน  คิดจะเปลี่ยนงาน โดยเราได้รวบรวม 6 หลักสูตรไว้บน  Coursera ที่เป็นหลักสูตรเรียนออนไลน์ชั้นนำ  ได้แก่ 1.สาขาการวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data Analytic 2.การสนับสนุนด้านไอที หรือ IT Support3.การจัดการโครงงาน  หรือ Project Managment 4.การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ หรือ UX Design 5.การตลาดดิจิทัล หรือ E-Commerce 6.พื้นฐานการประมวลผลแบบคราวด์ หรือ Cloud Computing   ซึ่งเป็นการเรียนรู้พัฒนาความสามารถทางเทคนิคในด้านการประมวลผลคลาวด์ โดยนักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตรนี้จะได้รับป้ายรับรองแบบดิจิทัล (skills badge) ซึ่งทั้ง 6หลักสูตร มีการสำรวจแล้วว่า ตรงกับความต้องการแรงงานของไทย  ซึ่งทุกๆปีมีการเติบโตด้านความต้องการมากกว่า 10% บางหลักสูตร อย่าง สาขาการวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data Analytic มีความต้องการถึง  30%  

 โดย Samart Skills  มีจุดเด่น 5 ประการคือ 1.เป็นหลักสูตรพวกนี้คิดขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญของกูเกิ้ลที่ทำงานในภาคสนาม 2. ออกแบบการเรียนรู้แบบลงมือปฎิบัติจริง 3.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้เวลาเรียนประมาณ 3- 6เดือนต่อหลักสูตร  4.ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องจบระดับปริญญาตรีหรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อน  5.เนื้อหาและเครื่องมือต่างๆ ที่สอนไม่ได้จำกัดอยู่ที่เครื่องมือของกูเกิ้ล เท่านั้น สามารถที่จะใช้ได้หลากหลายแพลตฟอร์ม   


Google ยังได้แจกทุนแบบให้เปล่า 22,000ทุน แก่นักเรียนระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ  เรียนในหลักสูตร Samart Skills  โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันการอาชีวศึกษากว่า 100 แห่ง รวมทั้งพันธมิตรองค์กรธุรกิจชั้นนำจากภาคเอกชน ได้แก่ เอไอเอส และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจะทำให้การแจกทุนมีประสิทธิภาพ โดยทางสถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน จะเป็นผู้คัดเลือกผู้สนใจและมีความพร้อมให้เข้าเรียน

“อีกสิ่งนอกจากการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้คนไทยแล้ว เรายังจัดการเรื่องการหางานรองรับไว้ด้วย โดยทำข้อตกลงกับ 30 พันธมิตรที่เป็นภาคธุรกิจชั้นนำ ร่วมเป็นผู้ว่าจ้าง รับผู้จบหลักสูตรเข้าทำงาน และอนาคตอาจจะมีองค์กรอื่นๆ เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเพิ่มขึ้นด้วย  โดยเราหวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนร่วมในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลบไทยให้เดินหน้าต่อไปอย่างมีเสถียรภาพ  และทำให้คนไทยหลายหมื่นคน ค้นพบทักษะใหม่ๆ ในอาชีพ ค้นพบงานที่เขาชอบ สร้างความก้าวหน้าทางอาชีพได้ นอกจากโครงการนี้แล้ว Google จะยังคงเดินหน้าสนับสนุนประเทศไทยด้านการศึกษาและการพัฒนาเพื่อช่วยปลดล็อคและสร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงเทคโนโลยี  ตอกย้ำแนวคิด “Leave No Thai Behind” ของเรา”นางศารณีย์ กล่าว

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้เล็งเห็นว่าเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในประเทศเรานั้นมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นนัยยะสำคัญ โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยในปีนี้สูงมากถึง 88% รวมทั้ง จากผลวิจัยของ Google, Temasek และ Bain & Company ได้ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านบาทในปี 2564 ซึ่งโตกว่าปีที่ผ่านมาถึง 51% และยังคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว ส่งผลให้แรงงานที่มีทักษะดิจิทัลเป็นที่ต้องการอย่างมาก  นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2573  ไทยจะต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลกว่า 1 ล้านคน ดังนั้น เราจำเป็นต้องรีบพัฒนาแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลชั้นสูงให้เร็วยิ่งขึ้น 


“ผมรู้สึกยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนอย่าง Google ประเทศไทย เพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางทักษะด้านดิจิทัล และสร้างเสริมโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการศึกษา เพื่อตอบโจทย์อาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด  “

 นายศรัณย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่กลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมทำงานกับ Google ในการเสริมทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย จากนโยบายของ AIS ในฐานะ Digital Service Provider ที่มุ่งนำดิจิทัลมาเสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลของประชาชน คือ 1 ในหมุดหมายนั้น จึงขอยืนยันว่า จะร่วมทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้จากโครงการ Samart Skills ไปสู่ลูกค้า พนักงาน และคนไทย เพื่อเป็นอีกพลังในการสร้างทักษะดิจิทัลให้สัมฤทธิ์ผลอย่างดีที่สุด


ดร. ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรู มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Google ประเทศไทย ในโครงการ “Samart Skills” สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของกลุ่มทรู ในการนำศักยภาพเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลครบวงจร มาสนับสนุนด้านการศึกษาของไทย เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้สมัครรับทุนการศึกษาของโครงการ “Samart Skills” ผ่าน ทรู ดิจิทัล อคาเดมี จะได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม สัมมนา และโอกาสฝึกงานจริง รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มเติมจากกลุ่มทรู ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้คนไทยมีความรู้ความสามารถและมีทักษะดิจิทัลทัดเทียมกับนานาประเทศ และเป็นพลังสำคัญในขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุค 4.0

ไมค์ จิตติวาณิชย์(ซ้าย) ดร. ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ (ชวา)
โครงสร้างหลักสูตร Samart Skills

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Xendit สตาร์ทอัพยูนิคอร์นอินโดฯบุกตลาดไทย ยกนิ้วเศรษฐกิจดิจิทัลไทยโตพุ่ง 

Xendit' สตาร์ทอัพยูนิคอร์น สัญชาติอินโดนีเซีย เดินหน้ากลยุทธ์บุกตลาดฟินเทคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) กับก้าวใหม่ขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศไทย เปิดให้บริการโซลูชันทางการเงินดิจิทัลแก่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งเเต่ SMEs รายย่อยไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค

'พล.อ.ประวิตร'นำ พปชร.สัญจรหนองคาย ชมศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน มุ่ง พัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ พร้อมรับฟังปัญหาสะท้อนรัฐบาล-สภาฯ เร่งจัดการดูแลให้ชาวอีสาน

พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รองหัวหน้าพรรค,นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค, นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค, ,นางสาวตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค ร่วมลงพื้นที่สัญจรที่โรงเรียนฮั่วเคียวกงฮัก เทศบาลเมืองหนองคาย อ.เมือง จ.หนองคาย โดยมีนายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชารัฐให้การต้อนรับ

นายกฯ ดันเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มสูบเพื่อให้ทันโลก!

นายกฯ ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ พร้อมจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ภัยออนไลน์ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้ประชาชน

'พิชัย' โอ่ไทยเป็นสวรรค์ของบุคลากรดิจิทัลของโลกจี้เร่งนโยบายเชิงรุก

'พิชัย' เร่งนโยบายเชิงรุก ประสานภาครัฐและภาคเอกชน พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของบุคลากรดิจิทัลของโลก แนะคิดนอกกรอบ แก้ทุกอุปสรรค ทำให้เกิดขึ้นให้ได้จริง

ทำไมถึงควรใช้บริการ “รับทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก Google”

ในปัจจุบัน การทำการตลาดออนไลน์กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจทุกประเภท การทำเว็บไซต์เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและส