สภาฯม.รามฯ มีมติถอด 'สืบพงศ์ ปราบใหญ่ 'พ้นอธิการบดี ผลตรวจ 'ไม่จบปริญญาเอก-เข้าข่ายบกพร่องในศีลธรรมอันดี'

8พ.ย.2565- รายงานข่าวเผยเกี่ยวกับแถลงข่าว ฉบับที่ 1สภามหาวิทยาลัยรามคาแหง เรื่อง การถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ออกจากตาแหน่งอธิการบดี ความว่า


เมื่อเวลา 13.30 น ของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 สภามหาวิทยาลัยรามคาแหงได้มีการประชุมนัดสาคัญเกี่ยวกับการพิจารณาผลการสอบสวนเรื่องที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่อธิการบดี ถูกร้องเรียนว่าอาจเข้าข่ายกระทาความผิดและมีคุณสมบัติต้องห้ามในการดารงตาแหน่งอธิการบดี ซึ่งที่ประชุมได้ใช้เวลาในการพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน จึงมีมติที่เห็นควรแจ้งให้ประชาคมมหาวิทยาลัยรามคาแหงทุกภาคส่วน ได้รับทราบข้อเท็จจริงตรงกันดังต่อไปนี้

ด้วยเหตุที่ตาแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง เป็นตาแหน่งผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ที่ดารงตาแหน่งดังกล่าวสมควรที่จะต้องยึดถือคุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคาแหง ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหาร พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นแบบอย่างของผู้นำที่ดีให้แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร ตลอดจนนักศึกษา ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน อันเป็นการธำรงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียง และหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยรามคาแหง แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กลับกระทาการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และข้อบังคับและระเบียบของมหาวิทยาลัยรามคาแหง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคาแหง ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหาร พ.ศ. 2562 ด้วยพฤติการณ์ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง ได้ใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากสานักงาน ก.พ. ในการสมัตรเข้าบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ โดยสำนักงาน ก.พ. ได้รายงานให้สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงทราบว่า จากการตรวจสอบวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ปรากฏว่า “ไม่พบข้อมูลระดับปริญญาเอก” รายละเอียดปรากฏตามหนังสือลับจากสานักงาน ก.พ. ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2565

ทั้งนี้ การใช้คุณวุฒิการศึกษาที่สานักงาน ก.พ. รับรองถือเป็นคุณสมบัติสาคัญตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคาแหง ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2551 ข้อ 20.1 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคาแหง ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556 ข้อ 26(1) ที่กาหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ สามารถได้รับค่าจ้างตามคุณวุฒิและตามที่ก.พ. กาหนด จึงหมายความว่า คุณวุฒิของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ที่จะสามารถได้รับค่าจ้างตามอัตราเงินเดือนที่สานักงาน ก.พ. กาหนด ต้องเป็นคุณวุฒิที่สานักงาน ก.พ. รับรองเท่านั้น และจากบทบัญญัติในข้อบังคับ ฯ ทั้งสองฉบับดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าคุณวุฒิการศึกษาที่สานักงาน ก.พ. รับรองถือเป็นคุณสมบัติประการสาคัญในการบรรจุบุคคลเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยรามคาแหงเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้บรรจุบุคคลให้ตรงตามความต้องการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งจะต้องเป็นคุณวุฒิจากหลักสูตรการศึกษาที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์สากลเพื่อให้การกาหนดอัตราเงินเดือนสาหรับคุณวุฒินั้นเหมาะสมและเป็นธรรม

ดังนั้น การที่สานักงาน ก.พ. ซึ่งมีอานาจหน้าที่ตามกฎหมายในการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาสาหรับผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการหรือพนักงานราชการในหน่วยงานของรัฐ ประกอบกับข้อบังคับของมหาวิทยาลัยรามคาแหงยังยึดโยงอยู่กับสานักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิการศึกษา กรณีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาในระดังปริญญาเอกของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดี ย่อมมีมูลรับฟังได้ว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตาแหน่งอาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มาตั้งแต่ต้น และจะไม่มีผลงานการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านบริหารที่จะมีคุณสมบัติสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง ตามาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคาแหง พ.ศ. 2541

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง ได้ทาการรับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดฐานร่ารวยผิดปกติ ซึ่งถือเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อมโดยการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการรับโอนที่ดินจานวน 2 แปลง อันได้แก่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 52022 ตาบลบางปลากด อาเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และที่ดินโฉนดเลขที่ 52023 ตาบลบางปลากด อาเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว และการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากการที่สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ดาเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรณีมีเหตุควรเชื่อว่านายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ร่ารวยผิดปกติแล้ว และในท้ายที่สุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ก็ได้ถูกศาลฎีกาพิพากษายึดที่ดินดังกล่าวทั้งสองแปลงตกเป็นของแผ่นดินตามคาพิพากษาฎีกา ที่ 469/2561

นอกจากนี้ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น ฯ ที่แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยรามคาแหงยังได้ตรวจสอบพบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากที่ศาลฎีกาได้มีคาพิพากษาแล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ปราบใหญ่ ก็ไม่ได้นาส่งมอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงตามคาพิพากษาศาลฎีกา จนล่วงเลยระยะเวลามาประมาณ 2 ปีเศษ กระทั่งกระทรวงการคลัง ได้ยื่นคาขอโอนตามกฎหมายโดยขอออกโฉนดใบแทน และได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโอนให้กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ทั้งในฐานะพนักงานมหาวิทยาลัยรามคาแหง และต่อมาดารงตาแหน่งประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคาแหง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตลอดจนกระทั่งดารงตาแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหงในปัจจุบัน กลับไม่เคยรายงานให้มหาวิทยาลัยได้ทราบถึงเรื่อราวดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสาคัญที่ควรแจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้ามผู้บริหาร และเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีตลอดจนละเมิดพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547มาตรา 39 วรรคท้ายและมาตรา 40 รวมทั้งพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเกี่ยวเนื่องกับการกระทาความผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความผิดเกี่ยวกับการรับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่า ก่อน ขณะ หรือหลังการกระทาความผิดมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน ซึ่งถือเป็นความผิดฐานฟอกเงิน ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และมีอายุความ 15 ปี

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง ทูลเกล้า ฯ ถวายฎีการ้องขอความเป็นธรรมจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จงใจบิดเบือนข้อมูล ใส่ร้ายป้ายสีกรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคาแหงด้วยการตัดแต่งข้อมูลอย่างปราศจากมโนสานึก ขาดความรับผิดชอบ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นสาคัญ เพื่อสะกัดกั้นไม่ให้สภามหาวิทยาลัยรามคาแหงดาเนินการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ถูกร้องเรียนกรณีการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกานั้น สืบเนื่องจากผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ได้เคยถูกสภามหาวิทยาลัยรามคาแหงถอดถอนออกจากตาแหน่งอธิการบดีมาครั้งหนึ่งแล้ว ด้วยข้อหาจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคาแหง ว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2541 แต่ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ดังเดิมด้วยคาสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุด แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ยังจงใจใช้สิทธิซ้าซ้อนในการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอความเป็นธรรม ทั้ง ๆ ที่เรื่องดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

  2. อย่างไรก็ตาม สภามหาวิทยาลัยรามคาแหงได้มีการทำหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแล้ว ส่วนรายละเอียดของการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จและไม่เหมาะสมอย่างยิ่งเป็นเช่นไรนั้น สภามหาวิทยาลัยรามคาแหงไม่อยู่ในฐานะที่จะให้รายละเอียดด้วยประการใด ๆ ในขณะนี้ได้ ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น หากคำนึงถึงเกียรติของตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย ที่จะต้องมีภาวะผู้นำและเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ด้วยการยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ความถูกต้อง และความเป็นธรรมในสังคม ประกอบกับความรังเกียจของสังคม ต่อการทุจริตในทุกรูปแบบ ย่อมถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง เข้าข่ายเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี อันเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารตามข้อ 7(4) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคาแหง ว่าด้วยคุณสมบัติละลักษณะต้องห้ามของผู้บริหาร พ.ศ. 2562

  3. ดังนั้น พฤติการณ์ทั้งหมดข้างต้นของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง ประกอบกับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏ ย่อมเพียงพอต่อการที่สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงจะไม่ไว้วางใจให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ดารงตาแหน่งอธิการบดีอีกต่อไป และสมควรที่สภามหาวิทยาลัยรามคาแหงจะมีมติให้ถอดถอนให้พ้นจากตาแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคาแหง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันลงมติเป็นต้นไป อันเป็นการใช้อานาจและดุลพินิจโดยแท้ของสภามหาวิทยาลัยรามคาแหงตามาตรา 18 (7) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคาแหง พ.ศ. 2541 และเป็นเหตุให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ ปราบใหญ่ พ้นจากตาแหน่งอธิการบดีโดยทันทีตามมาตรา 23 วรรคสาม (6) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคาแหง พ.ศ. 2541

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ม.รามคำแหง' แจงตั้งกก.สอบผูับริหารยืม Ipad ไปใช้ส่วนตัว ดำเนินการมติป.ป.ช.

ม.รามคำแหง แจงตั้งกก.สอบวินัยร้ายแรง ’รศ.ยศระวี’ อนุมัติให้ผู้บริหารยืม Ipad ไปใช้ส่วนตัวดำดำเนินตามมติป.ป.ช. ชี้เป็นการเอื้อประโยชน์ผู้บริหาร ขัดต่อระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบุใช้สิทธิชี้แจงข้อกล่าวหาต่อกก.สอบสวนได้ ขู่กลับการกล่าวหาว่าถูกลั่นแกล้งอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย

ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำฟ้อง 'สืบพงษ์' ฟ้องสภาม.ราม จำหน่ายคดีออกจากสารบบ พ้นสภาพอาจารย์

ม.รามคำแหง แพร่ข่าว ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับฟ้อง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง ฟ้องสภาฯม.ราม จำหน่ายคดีออกจากสารบบ ระบุชัด'สืบพงษ์ ใช้ วุฒิป.เอก ไม่มีตัวตน ยืนยันพ้นสภาพอาจารย์ม.รามฯ

'อว.' แจงศาลปค.ไม่พิจารณาคุณวุฒิ 'ดร.สืบพงษ์' เหตุ 'ACICS' ไม่รับรองวิทยฐานะ

มีรายงานความคืบหน้าปัญหาคุณวุฒิ นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากเกิดข้อพิพาพกับสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการฟ้องร้องกันอย่างยืดเยื้อ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)

จบ! ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยกคำขอของ 'สืบพงษ์' ให้ทุเลาถอดพ้นอธิการบดีม.รามฯ

ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา คำร้องที่ ๒๘๐/๒๕๖๖ คำสั่งที่ ๗๔๔/๒๕๖๖ ในคดีของศาล

ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนมติสภาม.รามฯ ถอด 'สืบพงษ์' พ้นอธิการบดีม.รามฯ

ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ บ. 12/2565 หมายเลขแดงที่ บ.116/2566 ระหว่าง นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ ผู้ฟ้องคดี กับ สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ 1 ศาสตราจารย์ สมบูรณ์ สุข