ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำฟ้อง 'สืบพงษ์' ฟ้องสภาม.ราม จำหน่ายคดีออกจากสารบบ พ้นสภาพอาจารย์

ม.รามคำแหง แพร่ข่าว ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับฟ้อง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง ฟ้องสภาม.ราม จำหน่ายคดีออกจากสารบบ ระบุชัด'สืบพงษ์ ใช้ วุฒิป.เอก ไม่มีตัวตน ยืนยันพ้นสภาพอาจารย์ม.รามฯ

7 ม.ค.2567- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง เผยแพร่เอกสารข่าว กรณีศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำฟ้องของนายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

โดยเอกสารข่าวระบุว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหงขอเรียนว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม2567 ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับทราบคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคำร้องที่ 407/2566 คำสั่งที่1787/2566 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 โดยสรุป ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งถึงที่สุดเป็นไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี คือ นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ ไว้พิจารณา และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยในคดีนี้ นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ ได้ฟ้องสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 1 กับพวกรวม27 คน โดยขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำสั่งที่แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี และรองอธิการบดีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566โดยอ้างว่าศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองผู้ฟ้องคดีที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งอธิการบดีตามมติสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงในการประชุมครั้งที่ 21/2565 เมื่อวันที่8 พฤศจิกายน2565 แล้ว คดีดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดจนนำมาสู่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุด คำสั่งที่ 1787/2566 ที่ส่งถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 โดยผลของการพิจารณามีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งว่าให้จำหน่ายคำฟ้องข้อหาที่ 1 และข้อหาที่2 และไม่รับคำฟ้องข้อหาที่3 และข้อหาที่4 ไว้พิจารณา กับให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ

ต่อมานายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา

2. ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า

2.1 ฟ้องข้อหาที่หนึ่งและข้อหาที่สอง ศาลเห็นว่า การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเป็นการแต่งตั้งบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีเพื่อให้การบริหารงานในมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 21/2565 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และภายหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 15พฤศจิกายน2565 บอกเลิกสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดี จากการเป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว จึงเป็นกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในขณะนั้น

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2566 จึงมีมติแต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 25 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 และอาศัยอำนาจตามมาตรา18 (4) มาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน แต่งตั้งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่อธิการบดีมอบหมาย

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติดังกล่าวจึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลอันมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิการบดี และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองอธิการบดี

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า ในขณะที่ผู้ฟ้องคดี นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 10 มีนาคม2566 ผู้ฟ้องคดีได้พ้นจากตำแหน่งธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้วคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีและคำสั่งแต่งตั้งรองอธิการบดีที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี จึงไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ฟ้องคดีแต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งดังกล่าว

ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่3 เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่27 เป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อศาลได้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการประชุมครั้งที่21/2565 เมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน2565 ที่ถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 362/2565 และศาลปกครองกลางในคดีดังกล่าวได้มีคำสั่ง ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์2566 ให้ทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งที่ถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากตำแหน่งอธิกรบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นก็ตาม ผู้ฟ้องคดีก็ชอบที่จะไปดำเนินการบังคับคดีตามคำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าวที่ให้ทุเลาการบังคับตามมติและคำสั่งที่ถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว จึงหาเป็นเหตุที่จะทำให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่3 เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่27 เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่อย่างใดไม่

กรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติแต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี และแต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 27 เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้เกิดการทับซ้อนของอำนาจหน้าที่ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และกระทบกระเทือนถึงสิทธิต่างๆ ของผู้ฟ้องคดีในฐานะอธิการบดี นั้น เห็นว่า ความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างเป็นเหตุอันเกิดจากมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ถอดถอนผู้ฟ้องคดีออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งผู้ฟ้องคดีก็ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ บ.362/2565 ไว้แล้ว และคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีฟังไม่ขึ้น

2.2 ฟ้องข้อหาที่สามและข้อหาที่สี่ ศาลเห็นว่า การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541ส่วนการแต่งตั้งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามมาตรา 18 (4)
แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541

ดังนั้น คำสั่งพิพาทที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่2 จึงมีสถานะเป็นหนังสือแจ้งมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์2566 ที่แต่งตั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และที่แต่งตั้งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 24 คน เท่านั้น คำสั่งพิพาทจึงไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี อันจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีข้อหาที่สามและข้อหาที่สี่ต่อศาลตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เช่นกัน

การที่ศาลปกครองขั้นต้น มีคำสั่งจำหน่ายคำฟ้องข้อหาที่หนึ่งและข้อหาที่สอง และไม่รับคำฟ้องข้อหาที่สามและข้อหาที่สี่ไว้พิจารณา กับให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยบางส่วนจึงมีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

มีรายงานว่า กรณีนี้เกิดจากการพบว่า นายสืบพงษ์ ใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน(กพ.)ไม่รับรองมาสมัครงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ปี2554 และเป็นเหตุที่ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีคำสั่งถอดถอนนายสืบพงษ์ ออกจากตำแหน่งอธิการบดี

ต่อมา วันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้ทำหนังสือชี้แจง ศาลปกครอง พร้อมสำเนาผลการพิจารณาและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เรื่องการพิจารณาคุณวุฒิ นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ ว่า อว.มีมติไม่สามารถพิจารณาวุฒิ ดร.สืบพงษ์ ได้เนื่องจากการสืบค้นข้อมูลจาก “ACICS”ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่พบข้อมูลการได้รับการรับรองวิทยฐานะ

ดังนั้น จึงมีมติว่า ไม่สามารถพิจารณาคุณวุฒิ Doctor of Business Administration จาก Pacific Stater University ประเทศสหรัฐอเมริกา ของผู้ฟ้องคดีได้เนื่องจากไม่ปรากฎข้อมูลการได้รับการรับรองวิทยฐานะของคุณวุฒิดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่ผู้ฟ้องคดีศึกษา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อว.' แจงศาลปค.ไม่พิจารณาคุณวุฒิ 'ดร.สืบพงษ์' เหตุ 'ACICS' ไม่รับรองวิทยฐานะ

มีรายงานความคืบหน้าปัญหาคุณวุฒิ นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากเกิดข้อพิพาพกับสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการฟ้องร้องกันอย่างยืดเยื้อ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)

เฮือกสุดท้าย ป.ป.ช.!ลุ้นคำสั่งศาลปกครองสูงสุดปมเอกสารนาฬิกาเพื่อนของบิ๊กป้อม

ระทึก! ศุกร์นี้ลุ้นศาลปกครองสูงสุดอ่านคำสั่งคำสั่งคดีวีระ สมความคิดร้องศาลให้เปิดเผยยข้อมูลนาฦกาเพื่อน-แหวนเพชรแม่ของบิ๊กป้อม หลัง ป.ป.ช.อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้วถูกตีตก

จบ! ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยกคำขอของ 'สืบพงษ์' ให้ทุเลาถอดพ้นอธิการบดีม.รามฯ

ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา คำร้องที่ ๒๘๐/๒๕๖๖ คำสั่งที่ ๗๔๔/๒๕๖๖ ในคดีของศาล

ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนมติสภาม.รามฯ ถอด 'สืบพงษ์' พ้นอธิการบดีม.รามฯ

ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ บ. 12/2565 หมายเลขแดงที่ บ.116/2566 ระหว่าง นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ ผู้ฟ้องคดี กับ สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ 1 ศาสตราจารย์ สมบูรณ์ สุข

ศาลไฟเขียว 'สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง' เลิกจ้าง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' พร้อมให้ขนของออกจากสำนักงาน

ศาลจังหวัดสมุทรปราการ สั่งคุ้มครองชั่วคราว ไฟเขียว 'สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง' เลิกจ้าง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' ได้ ชี้นำวุฒิปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจาก ก.พ. จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีทันที พร้อมให้ขนของออกจากสำนักงาน

เปิดเอกสาร 'ม.รามฯ' แจงเลิกสัญญาจ้าง 'สืบพงษ์' พ้นอธิการบดี

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่อง ม.ร. บอกเลิกสัญญาจ้าง ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ตามที่ ม.ร. ได้มีคำสั่งถอดถอนผู้ช่วย ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ออกจากตำแหน่งอธิการบดี ด้วยข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง 3 ประการ ดังนี้ หนึ่ง ใ