'คุณหญิงกัลยา' เผยการศึกษาต้องปรับทิศทาง ให้คนไทยทันโลก สิ่งสำคัญ คือ การเรียนอย่างมีความสุข-สนุก

14ก.พ.65-ที่สำนักงานเลขาธิการสภารการศึกษา – คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานและเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในวันคล้ายวันสถานปนาสำนักงานเลขาธิการสภารการศึกษา ครบรอบปีที่ 63 และเป็นประธานการเสวนาพิเศษ เรื่อง “สภาการศึกษาเข็มทิศการศึกษาไทย :สร้างกำลังคนสมรรถนะสูงรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่เวทีโลก” โดยคุณหญิงกัลยาให้สัมภาษณ์ภายหลังการเสวนา ว่า สภาการศึกษาเป็นสมองของการชี้ทิศทางการศึกษาไทย เป็นเข็มทิศการศึกษา เข็มทิศประเทศไทย เพื่อให้เด็กไทยสามารถอยู่ในโลกดิสรัป หรือ ยุคดิจิทัล ได้อย่างมีความสุขและมีภูมิคุ้มกันที่จะสามารถแก้ปัญหาในยุค “วูก้า” VUCA หรือ VUCA World ได้

คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า ในปัจจุบันแม้จะไม่มีโรคติดเชื้อโควิด-19 เราก็จำเป็นต้องปรับทิศทางการศึกษาไทย ให้คนไทยทันโลก ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก มีอาวุธพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ โดยเราต้องเตรียมเด็กให้คิดเป็น แก้ปัญหาได้ ซึ่งโค้ดดิงคือเครื่องมือสำคัญที่จะฝึกให้เด็กคิดเป็นโดยใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในแก้ปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องทำให้เด็กเรียนอย่างมีความสุขและสนุก พ่อแม่ไม่ต้องรู้ทุกอย่าง ครูไม่ต้องรู้ทุกอย่าง แต่ทุกคนต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก รวมถึงต้องส่งเสริมเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม รากเหง้าของความเป็นไทย จากที่มุ่งเน้นเรื่องของ สะเต็มศึกษา ( STEM ) ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรม (Engineering) และ คณิตศาสตร์ (Math) ก็เพิ่ม A เข้าไป เป็น สตีม(STEAM)วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรม (Engineering), ศิลปะ (Arts) และ คณิตศาสตร์ (Math) เพื่อให้เด็กไทยในอนาคตนอกจากจะเป็นคนเก่งแล้วยังต้องเป็นคนดีด้วย

“ สำหรับเรื่องการสร้างกำลังคนสมรรถนะสูงทางสภาการศึกษาจะช่วยกำหนดทิศทาง แต่หน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องคิดและทำด้วย เพราะการสร้างคนที่มีศักยภาพสูงไม่ใช่จะทำได้ในวันเดียว ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการก็คิดและทำไว้มาเป็นระยะ และตอนนี้ทางสภาการศึกษาก็มีความคิดที่จะเดินสายสัญจรพบปะเสาหลักเศรษฐกิจไทย เพราะคิดว่าการศึกษาจะอยู่ลำพังไม่ได้ ต้องพบปะกับเสาหลักต่าง ๆ ภาคเอกชน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การเกษตร ให้มาร่วมคิดและร่วมชี้ทิศทางการศึกษาของไทย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละภาคส่วน เป็นการต่อยอดจากที่ทำมาแล้ว”รมช.ศธ.กล่าว

ด้านนายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า สภาการศึกษาจะเดินสายพบปะเสาหลักเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อดูว่าเขาต้องการคนอย่างไร จากนั้นจะได้มาทำวิจัย สังเคราะห์ และนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนผลิตกำลังคนของประเทศ จากนั้นจะมอบให้หน่วยงานผลิตคนไปผลิตตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม และสถานประกอบการ โดยจะเริ่มเดินสายในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป้าหมายกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามสำหรับข้อแนะนำต่าง ๆ ที่ได้จากการเสวนาในวันนี้ สภาการศึกษาจะนำมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน กำหนดยุทธศาสตร์ ปีงบฯ 2566 อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ คุณหญิงกัลยา เน้นย้ำอย่างมาก คือ เรื่องของ วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม รากเหง้าของคนไทย ที่จะต้องสอดแทรกลงไปด้วย เพื่อให้เด็กไทยนอกจากจะเป็นคนเก่งแล้วยังต้องเป็นคนดี ที่จะทำให้เราสามารถชนะเครื่องและประเทศอื่น ๆ ได้ ซึ่งสภาการศึกษาจะเน้นย้ำเรื่องนี้ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุทิน' ควง 'เจ้าสัวธนินท์' สักขีพยาน MOU กลาโหมจับมือซีพี

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

หนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

'หมอวรงค์' เปิดใจ! ทำไมต้องมี 'พรรคไทยภักดี'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี คำถามที่หลายคนต้องการคำตอบ เพื่อความชัดเจนว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี ตั้งใจอ่านให้จบนะครับ

ตะลึง! ทั้งโรงเรียนมีครูคนเดียว ต้องดึงฝ่ายธุรการช่วยสอนนักเรียน

นายสุนทร ผูนา ผู้ใหญ่บ้านดงโชคหมู่ 1 เปิดเผยว่าโรงเรียนแห่งนี้ชาวบ้านร่วมกันบริจาคที่ดินก่อสร้าง เริ่มจากปี 2484-2548 มีครูใหญ่ 6 คน จากนั้นก็เปลี่ยนผู้บริหารมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.รร.ฯ) ถึงขณะนี้มี 3 คน

เด็ก มธ. ชวนสร้าง 'ค่านิยมใหม่' วันรับปริญญา ใช้วาระเฉลิมฉลองบัณฑิต เป็นสะพานเชื่อมโอกาสสู่สังคม

‘วันรับปริญญา’ ถือเป็นวาระแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่มองว่าวันรับปริญญาคือหลักไมล์สำคัญของชีวิต เป็นรอยต่อที่จะก้าวเข้าสู่โลกการทำงานอย่างเต็มตัว