'เบิร์ด ธงไชย' ร่วมงานวันศิลปินแห่งชาติ พร้อมสัญญาว่าจะไม่หยุดพัฒนา

เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ ร่วมงานวันศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2567 ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี จัดโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ

นอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ แก่สาธารณชนในวงกว้าง อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ศิลปินแห่งชาติได้มีขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานอันล้ำค่า พัฒนางานศิลปะให้ตกทอดเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบไป

ภายในงานมีกิจกรรมหลักประกอบด้วย พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ พร้อมด้วยพิธีเปิดนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 และงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมมอบช่อดอกไม้และพวงมาลัยเพื่อแสดงความยินดีแก่ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง) พุทธศักราช 2565 รวมทั้งศิลปินแห่งชาติท่านอื่น ๆ

เบิร์ด ธงไชย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง) พุทธศักราช 2565 เผยว่า "เบิร์ดรู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมงานในวันนี้ และรู้สึกปลื้มใจว่าสิ่งที่เราตั้งใจทำมาทั้งหมดไม่สูญเปล่า การเป็นศิลปินแห่งชาติต้องรู้ให้จริงในสิ่งที่ทำ ต้องรู้ว่าทำแล้วใครดู และนำไปใช้ได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้สำคัญนะครับ เราสามารถนำไปบอกต่อ ไปสอนให้น้องๆรุ่นหลังได้ทราบกัน วันนี้ที่ได้มายืนกับทุกท่านตรงนี้ เบิร์ดรู้สึกเลยว่า เราตัวเล็กมากๆ เพราะทุกท่านล้วนเป็นบุคคลที่เก่ง มีความสามารถมากมายเรียกว่าเป็นระดับหัวกะทิของประเทศเลยก็ว่าได้ ทำให้เบิร์ดรู้สึกภูมิใจที่ได้มายืนตรงนี้กับทุกๆท่านครับ ทุกวันนี้เบิร์ดไม่เคยรู้สึกเหนื่อยเลยครับ รู้สึกสนุก ตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ทำงาน เพราะทำจนมันเป็นลมหายใจแล้ว รู้สึกชื่นใจที่ว่าเราจะได้ไปสร้างความสุขให้ทุกคนได้ดู เพราะเบิร์ดอยากให้คนดูทุกคนมีความสุขครับ ต้องขอบคุณทุกคนมากๆ ที่เห็นความสำคัญของเบิร์ด เห็นความเป็นศิลปินในตัวเบิร์ด อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ขอบคุณความรักที่ทุกคนมีให้กันตลอดเวลาที่ผ่านมา เบิร์ดสัญญาว่าจะไม่หยุดพัฒนา เพื่อทำให้ทุกคนมีความสุขไปกับเบิร์ดในทุกๆครั้งที่เราเจอกันครับ"

สำหรับนิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 จะจัดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมฟรี ได้ที่อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 9 มีนาคม 2567 ในวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.30-16.30 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

12 ศิลปินแห่งชาติมือฉมัง ปั้นนักเขียนคลื่นลูกใหม่ก้าวสู่มืออาชีพ

เป็นอีกครั้งที่ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ชื่อดังมาถ่ายทอดความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์บนถนนนักเขียนเพื่อจุดประกายให้นักเขียนรุ่นใหม่มีความรู้และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการเขียนทั้งนวนิยาย  เรื่องสั้น  สารคดี และกวีนิพนธ์ กว่า 80 คน

สิ้นศิลปินแห่งชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร

6 มิ.ย. 2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ศิลปินนักร้องชื่อดังหลากรุ่น ร่วมเชิดชู 'สมาน กาญจนะผลิน'

จบลงอย่างสวยงาม กับคอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง 103 ปี ชาตกาล "เพลงคู่...ครูสมาน กาญจนะผลิน" เมื่อวันนี้ บ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดงานช่วงแรกด้วย 2 พิธีกร โกมุท คงเทศ และ ขวัญรวี กาญจนะผลิน ที่ชวน จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาทครูสมาน มาเล่าเรื่องราว การประพันธ์เพลงของครูสมาน กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงไทยสากล) ปี 2531ให้ฟังกัน

ศิลปินแห่งชาติ แพร่บทความเรื่องการใช้เงินให้เป็น กรณีสกายวอล์กแยกปทุมวัน

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองวันนี้มีหลายคนถามผมว่าคิดอย่างไรกับงานออกแบบอัตลักษณ์เมือง (พวกเขาใช้คำฝรั่งว่า City Branding) ของกทม. ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกแบบ เพราะมันเป็นเรื่อง subjective บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา