ลดก๊าซเรือนกระจกจาก'สวนยาง' สร้างรายได้เกษตรกร

อ.อ.ป.- กยท.ลงนาม MOU ส่งเสริมทำสวนยางมาตรฐานสากล ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก สร้างธุรกิจคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพารา เตรียมถ่ายทอดนวัตกรรมให้เกษตรกร หนุนความร่วมมือวิชาการ

20 พ.ค.2565 – นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา ระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)  ณ ห้องประชุมราชไมตรี (ชั้น 4) อาคาร 50 ปี การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กล่าวว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา เป็นความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นดำเนินตามพันธกิจของรัฐวิสาหกิจของ อ.อ.ป. และ กยท. การลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากลให้ได้ตามมาตรฐาน FSCTM, PEFCTM  ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา และสร้างโอกาสในธุรกิจคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพารา    

” ความร่วมมือในครั้งนี้ อ.อ.ป. และ กยท. จะให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือในรูปแบบการจัดทำโครงการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรมให้แก่บุคลากร เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อพัฒนาความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการทำสวนยางให้เกิดความอย่างยั่งยืน และให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล รวมทั้งการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพาราที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ” ผอ.อ.อ.ป. กล่าว

นายสุกิจ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ทั้ง 2 หน่วยงาน จะมีการแลกเปลี่ยนบุคลากร มีการศึกษาดูงาน และฝึกงานบุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงเสริมสร้างและสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ นวัตกรรม ในเรื่องการจัดการสวนยางให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยางอย่างสูงที่สุด  อ.อ.ป. และ กยท. มุ่งหวังว่า การลงนามความร่วมมือฯ ครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง และจะสามารถพัฒนาศักยภาพของสวนยางให้เกิดความยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล  ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนงานของรัฐบาลเรื่องลดก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศไทยอีกทางหนึ่ง  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ.อ.ป. ผสานความร่วมมือ กรมป่าไม้ และ ม.เกษตรฯ ลงนามความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัยไม้เศรษฐกิจพันธุ์ดีสู่ประชาชน”

วันนี้ (29 มีนาคม 2567) นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และ นายดำรง ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

พปชร. เดินหน้าเสนอร่างพรบ.ลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต เข้าสภาฯ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เตรียมที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิตพ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567