กรมอุทยานฯ ศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวขึ้นถ้ำนาคา

กรมอุทยานฯ ประชุมร่วมจ.บึงกาฬกำหนดมาตรการขึ้นถ้่ำนาคา สรุปเบื้องต้นต้องจองผ่านแอปคิวคิวเท่านั้น ตรวจบัตรประชาชนชื่อต้องตรงกัน พร้อมสั่งให้อุทยานฯ ภูลังกาศึกษาความเป็นไปได้เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากกว่า 500 คน ระดมกำลังพลรับวันมาฆบูชา

10 ก.พ.2565 – นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า กรณีการเกิดปัญหานักท่องเที่ยวที่ไปชมถ้ำนาคา ภายในเขตอุทยานแห่งชาติภูลังกา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ และตกค้างอยู่บนเขาจำนวนมาก ซึ่ง พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งกำชับในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่ง นายวราวุธศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการอย่างเร่งด่วนนั้นล่าสุด นายวันชัย จริยาเศรษฐโชค ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ได้บูรณาการการทำงานร่วมประชุมถอดบทเรียนดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเบื้องต้นได้สรุปแนวทางมาตรการในการบริหารการท่องเที่ยวถ้ำนาคา ได้มีมติให้ นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา ต้องจองคิวผ่านแอปพลิเคชั่น QueQเท่านั้น โดยจะมีการตรวจบัตรประชาชนนักท่องเที่ยวทุกคนให้ตรงกับรายชื่อที่จองผ่านแอปพลิเคชั่นคิวคิว โดยควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกิน 500 คน ตามขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านนันทนาการ (Carrying Capacity: CC) พร้อมทั้งได้ให้ทางอุทยานแห่งชาติภูลังกา ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากกว่า 500 คน

กรณีไกด์อาสาท้องถิ่นและร้านค้า ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้กระทำการในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 22 วรรคสอง มาตรา 27 วรรคสาม และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 พ.ศ.2564 โดยให้ยื่นคำขอและเอกสารหลักฐาน ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อจะได้รวบรวมส่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาคำขอใบอนุญาตต่อไป พร้อมทั้งปรับปรุงเส้นทางเดินขึ้นถ้ำนาคาให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention For COVIC-19) และมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ นักท่องเที่ยว และไกด์อาสาท้องถิ่น ต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กำหนด หรือใบรับรองแสดงประวัติเคยติดเชื้อมาก่อนอยู่ในช่วง 1 – 3 เดือน หรือผลการตรวจ RT-PCR เป็นลบ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน หรือผลการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เป็นลบ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 วัน ก่อนเข้ามาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องนำชุดตรวจ ATK มาเอง

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวในวันมาฆะบูชา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่จะถึงนี้ โดยได้ระดมกำลังพลจากหน่วยงานใกล้เคียง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูพาน อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ สถานีควบคุมไฟป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง และโครงการพระราชดำริในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 50 นาย มาทำความสะอาดและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณแหล่งท่องเที่ยวถ้ำนาคา รวมทั้งปรับปรุงห้องน้ำชั่วคราวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และสั่งกำชับในการดูแลความปลอดภัย อำนวยความสะดวก และสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว ในการเข้ามาเที่ยวชมถ้ำนาคาอย่างใกล้ชิด รวมถึงเร่งสำรวจเส้นทางเบี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดการแออัดในการขึ้นชมถ้ำนาคา โดยได้เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ผึ้งหลวงหิมาลัย'ดอยผ้าห่มปก ดัชนีความหลากหลายชีวภาพ

การค้นพบผึ้งหลวงหิมาลัยครั้งแรกในประเทศไทยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่  สร้างความฮือฮาให้กับวงการชีววิทยาของไทยและสากล  นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อช.)

เปิดยุทธศาสตร์'กุยบุรี' ลดขัดแย้งคน-ช้าง

เนื่องในวันช้างไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการรณรงค์สื่อสารให้คนไทยตระหนักถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงของช้างไทยจากปัญหาผืนป่าที่ถูกทำลายและลดลง ทั้งด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมจากน้ำมือมนุษย์รบกวนถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างสัตว์ประจำชาติ

ยุติค้าสัตว์ป่า ภัยเงียบทำลายระบบนิเวศ

23 ธ.ค.2566 - พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (ประทับช้าง) จ.ราชบุรี ที่

ตามรอย’เสือโคร่ง’ คุ้มครองถิ่นที่อยู่ 4 กลุ่มป่า

สถานการณ์ประชากรเสือโคร่งในป่าไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่มีรายงานลักลอบล่าเสือโคร่ง สัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวดีคนไทยจากรายงานสำรวจพบเสือลายเมฆ สัตว์ป่าที่พบยากและมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบัน

'พลายศักดิ์สุรินทร์' ถึงไทย 14.00 น. กรมอุทยานฯเผยการเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์บรรยากาศการเคลื่อนย้าย “ช้างไทย" พลายศักดิ์สุรินทร์ ทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย