'วันนอร์' เผย 5 โมงเย็น 13 ก.ค. เริ่มโหวตนายกฯ แบ่งเวลาอภิปราย ส.ส.-ส.ว. รวม 6 ชั่วโมง

‘วันนอร์’ ระบุ เคาะ 13 ก.ค.เริ่มโหวตนายกฯ 5 โมงเย็น แบ่งเวลาอภิปราย ส.ส. 4 ชม. - ส.ว. 2 ชม. ลั่นขอโฟกัสโหวตรอบแรก อย่าเพิ่งคิดไปถึงรอบอื่น ยันสภาฯ มีหน้าที่หานายกฯ ให้ได้ แนะพรรคการเมืองดึงสติมวลชนอย่าวุ่นวาย

11 ก.ค.2566 - เมื่อเวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมวิปสามฝ่ายเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธาน พร้อมด้วยตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านและส.ว.ร่วมประชุม โดยใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง

จากนั้นเวลา 12.50 น. นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้เป็นการประชุมระหว่างวิปของ ส.ว.และพรรคการเมือง โดยที่ประชุมหารือประเด็นการโหวตเลือกนายกฯ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ซึ่งจะมีการอภิปรายและจะมีการโหวตกันได้ในเวลา 17.00 น. โดย ส.ว.ได้เวลา 2 ชั่วโมง และ ส.ส.จากทุกพรรคการเมืองได้เวลา 4 ชั่วโมงส่วนตัวเชื่อว่าการประชุมมีข้อบังคับอยู่ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาหรือความวุ่นวายเกิดขึ้น

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการดูแลความปลอดภัยสมาชิกที่เข้ามาประชุมนั้น ตนจะนัดคุยกับตำรวจสภาฯ ในเวลา 15.00 น. เพื่อหารือถึงเรื่องดังกล่าว โดยจะให้เป็นไปตามประกาศชุมนุมในที่สาธารณะ ขณะที่ประชาชนรวมทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนที่จะเดินทางมาให้กำลังใจ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และพรรคการเมืองก็ควรไปชี้แจงเพราะเชื่อว่าคนที่มาส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ตนเชื่อในเจตนาดีของประชาชนที่อยากเห็นบ้านเมืองได้นายกฯ และเห็นความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง หากได้นายกฯ ล่าช้า บ้านเมืองก็จะเกิดความเสียหาย ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุน จึงขอให้คิดให้หนักว่าจะทำอย่างไรให้ได้นายกฯ ด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ สภาฯ ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยสมาชิกเท่านั้น แต่ประชาชนที่มาสังเกตการณ์นั้นเราก็จะจัดสถานที่ให้ด้วย

เมื่อถามว่าหากโหวตนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล ไม่ผ่านในรอบแรก จะสามารถโหวตรอบที่ 2 ได้หรือไม่เนื่องจากมี ส.ว. บางส่วนออกมาท้วงติงว่าสามารถเสนอชื่อได้เพียงครั้งเดียว นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่นายพิธาสามารถแสดงวิสัยทัศน์ก่อนได้ ทั้งนี้ เรายังไม่รู้ว่านายพิธาจะได้รับเสียงโหวตหรือไม่ผ่าน แต่ถ้าไม่ผ่านก็ต้องมาพิจารณา โดยยึดตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ และมติที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยมาแล้วแม้จะไม่เกี่ยวกับกรณีนี้โดยตรง และความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาว่าจะสามารถทำได้อย่างไร ดังนั้นขอให้การพิจารณารอบแรกเสร็จสิ้นเสียก่อน ถ้าไม่ได้นายกฯ ถึงอย่างไรสภาฯ ก็ต้องดำเนินการให้ได้นายกฯ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรง แต่จะเสนออย่างไร กี่ครั้งและคนเดิมได้หรือไม่ ขอให้จบรอบแรกไปก่อน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' แจง ป.ป.ช. พยานคดี สส.ก้าวไกล แก้ 112 ชี้นิรโทษยกเข่งรอดหมด

'คารม' แจง 'ป.ป.ช.' ในฐานะพยาน ปม สส.ก้าวไกล ลงชื่อแก้ ม.112 พร้อมถามใครเจ้ากี้เจ้าการ เชื่อนิรโทษล้างผิดยกเข่ง 'ผู้นำจิตวิญญาณ - สส.พรรคส้ม' รอดหมด

โปรดทราบ! 'วันนอร์' ลั่นตำแหน่งประธานสภาฯ หากไม่ได้ลาออก ใครก็เปลี่ยนไม่ได้

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาชาติ ให้การต้อนรับสมาชิกพรรคประชาชาติ จากกรุงเทพฯ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และนนทบุรี จำนวน 400 คน

ฟังไว้ 'วันนอร์' ฮึ่ม! ตำแหน่งประธานสภาฯ ใครจะมาแทรกแซงไม่ได้

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวจะมีการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งประธานสภาฯ เพื่อใช้รองรับการ

'เลขาฯ ประชาชาติ' ยันไร้แรงกระเพื่อม 'ปรับ ครม.' ยังหนุน 'ทวี' คุม ยธ.

'ซูการ์โน' ชี้ยังไม่มีหารือพรรคร่วมรัฐบาล ปรับ ครม. ยันประชาชาติยังหนุน 'ทวี' นั่งเก้าอี้ รมว.ยุติธรรม ปัดตอบกระแสเปลี่ยนตัว 'ปธ.สภา'