
13 มี.ค. 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2565 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวสงคราม รัสเซีย-ยูเครน โดยค่อนข้างสนใจ ร้อยละ 52.40 สนใจมาก ร้อยละ 30.71 ติดตามข่าวจากสื่อโซเชียลมากที่สุด (ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป ฯลฯ) ร้อยละ 84.89 รองลงมาคือ โทรทัศน์ ร้อยละ 59.40 โดยค่อนข้างรู้สึกกังวลเกี่ยวกับ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ร้อยละ 53.81 กังวลมาก ร้อยละ 21.34 ผลกระทบต่อประเทศไทย คือ น้ำมันแพงขึ้น ร้อยละ 88.32 ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้าแพงขึ้น ร้อยละ 63.39 มองว่าไทยควรมีบทบาทต่อสงครามครั้งนี้ด้วยการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ร้อยละ 75.40 รองลงมาคือ แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่กำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม ร้อยละ 66.78 ทั้งนี้มองว่าทางออกคือ ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศควรเจรจาตกลงกันอีกครั้ง ร้อยละ 57.46 และจากกรณี ประเทศไทยร่วมโหวตเห็นด้วยให้รัสเซียถอนทัพจากยูเครนนั้นมองว่าอยากให้สงครามจบลงโดยเร็ว ร้อยละ 56.59 เหมาะสม เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม ร้อยละ 51.46
ประชาชนสนใจติดตามข่าวสงครามรัสเซีย-ยูเครนจากสื่อโซเชียลเป็นส่วนใหญ่ และรู้สึกวิตกกังวลต่อสงครามครั้งนี้ ถึงแม้สมรภูมิรบจะไกลจากประเทศไทย แต่ผลกระทบกลับส่งผลถึงไทยในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงาน ราคาทองคำ รวมไปถึงค่าครองชีพที่กำลังปรับเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนจึงอยากให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมรับมือ และแสดงท่าทีอย่างเหมาะสม คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม รวมถึงตั้งรับแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรานุช โสภา อาจารย์ประจำหลักสูตรสหวิทยาการการท่องเที่ยว โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดจากประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งภายในของยูเครนที่มีทั้งฝ่ายโปรรัสเซียและฝ่าย โปรตะวันตก การที่ NATO ต้องการให้ยูเครนเป็นสมาชิกทำให้รัสเซียไม่พอใจ ไทยต้องพบผลกระทบอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะสูงขึ้นและกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชน แม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกนำเข้าสินค้าและการลงทุนจากรัสเซียและยูเครนค่อนข้างน้อย แต่ด้านการท่องเที่ยวจะกระทบต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทยอยู่บ้าง เนื่องจากไทยมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวรัสเซียในประเทศ
สงครามส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกแบบนี้ย่อมไม่มีประเทศใดต้องการให้ยืดเยื้อ แม้แต่ประเทศที่คว่ำบาตรรัสเซียก็ได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้น การเจรจาคือทางออกที่ดีที่สุด ส่วนการแสดงท่าทีของไทยบนเวทีโลกก็ทำหน้าที่ได้เหมาะสม เนื่องจากการกระทำของรัสเซียต่อการรุกรานยูเครนเป็นการผิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อรัสเซียรวมถึงยูเครนด้วย สร้างสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ แสดงบทบาทต่ออาเซียนรวมถึงเวทีโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและไม่มีความขัดแย้งใด ๆ กับนานาชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดุสิตโพลชี้ผลสำรวจพบประชาชนเครียดเรื่อง 'จัดตั้งรัฐบาล' เพิ่มขึ้น
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
สวนดุสิตโพล ‘พท.’ได้ส.ส. 246 ‘ก.ก.’ 106 ‘ภท.’ 45 ‘ปชป.’ 28 ‘รทสช.’ 25 ‘พปชร.’ 22
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สรุปคาดการณ์จำนวนที่นั่ง ส.ส. ในศึกเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
แห่เดา‘ผลเลือกตั้ง’ สารพัดโพลคาดเก้าอี้ส.ส. บิ๊กตู่ไม่เสียใจคะแนนร่วง
โพลพาเหรดเผยผลสำรวจ “สวนดุสิตโพล-นิด้าโพล” ยก “อุ๊งอิ๊ง” ว่าที่นายกฯ ในดวงใจ
‘สวนดุสิตโพล’ เผยคะแนนนิยม 'เพื่อไทย' นำโด่งก่อนยุบสภา ตามด้วยก้าวไกล
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศกรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,614 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-17 มีนาคม 2566 ก่อนที่จะประกาศยุบสภาพบว่าพรรคที่คนไทยนิยมเป็นอันดับ 1
คนไทยสนใจข่าวการเมืองเพิ่มขึ้นโดยเชื่อโซเชียลฯ มากสุด!
สวนดุสิตโพลเผยสำรวจการเมืองกลางสัปดาห์ ชี้คนไทยเกินครึ่งสนใจข่าวการเมืองมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ไม่ชอบเรื่องทะเลาะเบาะแย้ง 82% ข่าวช่วงนี้มีผลต่อการตัดสินใจ อึ้ง!เชื่อข่าวโซเชียลมีเดียมากสุด
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วกรุง
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 20 - 44 ไมโครกรัม (มคก.) / ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)