3นักวิชาการ มธ. แจกการบ้าน ปัญหาเมืองกรุงที่ 'ว่าที่ผู้ว่าฯ' ต้องสะสาง 'ระบบขนส่ง-น้ำท่วม-พื้นที่สีเขียว'

รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล

มธ.-PPTV จัดเวทีเสวนาประชันวิสัยทัศน์ 5 ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กทม. ระดมนักวิชาการวิศวกรรม-ผังเมือง ร่วมฉายภาพปัญหาเมืองกรุง โยนโจทย์ถึงว่าที่ผู้ว่าฯ แก้ไขปัญหาระบบขนส่งมวลชน-น้ำท่วม-โครงสร้างพื้นฐาน เสนอให้มองพื้นที่สีเขียวเป็นองค์ประกอบสำคัญของเมือง เชื่อมต่อการสัญจรให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ลดรายจ่าย-เพิ่มต้นทุนทางสุขภาพให้ผู้คน

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 25656 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36 จัดเวที “เลือกตั้งผู้ว่าฯ แก้ปัญหาคนกรุง” พร้อมเสวนาในหัวข้อ “กทม.ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว?” โดยมีว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ พร้อมด้วยนักวิชาการ มธ. ที่มาร่วมชี้ภาพปัญหาในมุมมองด้านสถาปัตยกรรมและผังเมือง ต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาเมืองกรุง ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. เปิดเผยว่า ประเด็นปัญหาแรกของ กทม. คือการจราจรหนาแน่น ที่นำมาสู่คำถามว่าเราจะควบคุมปริมาณรถยนต์ในตัวเมืองได้อย่างไร จะมีการจำกัดรถวิ่งเข้าเขตเมืองเป็นเวลาหรือไม่ รวมถึงการที่จะต้องมามองร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหาระบบขนส่งมวลชนอย่างไร ทั้งให้มีการเชื่อมต่อที่ดี และมีค่าใช้จ่ายที่ทุกคนจะสามารถจับต้องได้

ทั้งนี้ คำถามในเรื่องระบบขนส่งยังสอดคล้องกับปัญหาเรื่องฝุ่นละออง PM2.5 ที่ยังไม่แน่ใจว่าเราจะแก้ไขได้อย่างไร จะมีการเปลี่ยนรถเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า การพัฒนาขนส่งมวลชนให้คนเข้าถึงได้ง่าย หรือแนวคิดของการขยายเมืองที่ไม่ต้องให้คนวิ่งเข้ามาที่จุดศูนย์กลางแห่งเดียว แต่เป็น Sub Center กระจายในแต่ละที่ ทำให้ระบบขนส่งมวลชนจับต้องได้ เพื่อให้ผู้คนไม่ตัดสินใจที่จะต้องขับรถมาเอง

รศ.ดร.ธีร กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยถัดมาคือปัญหาน้ำท่วม เพราะที่ผ่านมาแม้เราจะมีการก่อสร้างหรือซ่อมแซมระบบระบายน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่ยังคงเกิดน้ำท่วมอยู่ เป็นคำถามว่า กทม.เคยมีแผนสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์เส้นทางน้ำว่าไปทางไหนหรือไม่ มีการดูระดับสูง-ต่ำของน้ำในเขต กทม. หรือจะมีระบบไอทีน้ำมาประเมินหรือป้องกันน้ำท่วมได้หรือไม่ ขณะเดียวกันเมื่อมีการปล่อยผ่านน้ำให้ไหลไปยังบริเวณใด ได้มีการดูแลคนในพื้นที่เหล่านั้นหรือไม่

รศ.ดร.ธีร กล่าวอีกว่า ประเด็นสุดท้ายคือสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นถนนหรืออาคาร ที่เราจะทราบได้หรือไม่ว่าใน กทม. มีโครงสร้างที่กำลังเสี่ยงพังทลายอยู่เท่าไร ในปัจจุบันเมื่อคนขออนุญาตต่อเติมอาคารแล้ว กทม.มีฐานข้อมูลที่อัพเดทหรือไม่ เพื่อที่จะทราบว่าอาคารใดเสี่ยงพังทลาย จะมีแผนรับมือหรือเผชิญเหตุหรือไม่ เหล่านี้เป็นอีกส่วนที่นักวิชาการให้ความสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาของ กทม. ที่ครอบคลุมไปถึงในปริมณฑลได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังท้าทาย

ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. กล่าวว่า ในด้านกายภาพหรือภูมิทัศน์ของ กทม. โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียว คนอาจมองว่าเป็นส่วนประดับของเมือง ไม่ว่าจะเป็นสวนหย่อม สวนสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตามในมุมมองของสถาปนิก จะมองพื้นที่สีเขียวในเชิงของระบบนิเวศที่มีความซับซ้อนมากกว่านั้น เป็นภูมิทัศน์ของเมืองที่หลากหลาย โดยคีย์เวิร์ดหนึ่งที่สำคัญคือคำว่า Green Infrastructure

ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์

ผศ.อาสาฬห์ กล่าวว่า แทนที่จะมองเป็นส่วนเล็กๆ แต่ Green Infrastructure จะมองพื้นที่สีเขียวเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเมือง เหมือนกับถนนหรือระบบระบายน้ำ ซึ่งการมองเช่นนี้จะทำให้เราเปลี่ยนวิธีจัดการได้เป็นระบบมากขึ้น โดยมีตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ ที่ใช้แนวคิดนี้มาเป็นหลักการในการออกแบบเมืองนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 ซึ่ง กทม. จะเอาเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้อย่างไร

ผศ.อาสาฬห์ กล่าวอีกว่า ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อมพบว่าปัจจุบัน กทม. มีพื้นที่ 1,500 ตร.กม. แต่มีพื้นที่สีเขียวเพียง 150 ตร.กม. และหากลงไปดูจะพบว่ามีเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ฉะนั้นหลังจากนี้เราควรจะต้องมองในเรื่องของ Ecosystem Services คือการนับรวมพื้นที่เกษตร หรือพื้นที่รกร้างต่างๆ ว่ามีประโยชน์และคุณค่าในเชิงนิเวศวิทยา ที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร อีกทั้งการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่กระจัดกระจาย โดยส่วนใหญ่เป็นของภาคเอกชน ให้มีการเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ด้าน รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. กล่าวว่า เมื่อมองลงมาถึงประเด็นที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้คน คำถามคือเมืองใหญ่อย่าง กทม. ที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ทุกคนเข้ามาอยู่แล้ว ได้มอบคุณภาพชีวิตอย่างไรให้กับเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน หรือการสร้างรายได้ ซึ่งปัจจุบันยังมีช่องว่างเหล่านี้ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ที่อาจยังไม่ได้ตอบโจทย์กลุ่มคนที่หลากหลาย ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน

“อย่างการสัญจรดีที่สุด คือการสัญจรที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น เดินเท้า ปั่นจักรยาน แต่พอเดินทางด้วยวิธีนี้ก็ต้องคิดหนักเรื่องความปลอดภัย พอจะขยับไปใช้ขนส่งมวลชน กลายเป็นเจอปัญหาค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งจำนวนเที่ยวและคุณภาพที่ไม่เอื้อ ขาดการเข้าถึงที่ต่อเนื่อง เส้นทางสายใหญ่ไม่ได้ไปถึงในระบบรอง เหล่านี้เราจะมีการดูแลหรือวางแผนอย่างไร เพื่อให้ระบบการสัญจรต่างๆ ของมหานครแห่งนี้เชื่อมโยงกัน และทำให้พื้นที่เมืองหรือถนนกลายเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่ผู้คนสามารถพบปะ จับจ่าย มีปฏิสัมพันธ์กันได้” รศ.ดร.ภาวิณี กล่าว

รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล

รศ.ดร.ภาวิณี กล่าวว่า สุดท้ายคือเรื่องของสุขภาวะ เพราะต้นทุนทางสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากเมืองไม่เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับคน อย่างน้อยต้องลดรายจ่ายโดยให้ต้นทุนสุขภาพของผู้คนดี แต่ที่ผ่านมากลับพบว่า 3 ใน 4 วันของปี คน กทม.ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมลพิษฝุ่นละอองในระดับที่เป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงอยากให้มีการพิจารณาต้นทุนทางสุขภาพเป็นเรื่องที่อยู่ในการพัฒนาเมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

มธ.จัดงาน 'วันสัญญา ธรรมศักดิ์' เปิดวงเสวนายกเคส ชั้น 14 สะเทือนกระบวนการยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด “งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2567” มอบรางวัลนักศึกษากฎหมาย-เรียนดี สืบสานปณิธานปูชนียบุคคลด้านนิติศาสตร์ พร้อมจัดวงเสวนา “กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนบังคับคดีอาญา” ยกเคสตัวอย่าง “คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ” บนขั้นตอนที่ผิดเพี้ยน สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรม-กฎหมายไทย

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก