มาแล้ว! กรมอุตุฯ ประกาศเข้า 'ฤดูฝน' เริ่มกลางเดือน พ.ค. ปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 3%

29 เม.ย.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2565 โดยระบุว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งใกล้เคียงปกติและจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 3 แต่จะน้อยกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าปกติร้อยละ 8 และปริมาณรวมทั้งปีมากกว่าค่าปกติร้อยละ 11) โดยในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม) ปริมาณฝนรวมประเทศไทยตอนบนจะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 แต่บริเวณภาคใต้ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 ส่วนช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 3

อนึ่ง ช่วงตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจท้าให้เกิดการขาดแคลนน้้าในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้้าเพื่อประโยชน์สูงสุด

ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่
และก่อให้เกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน น้้าป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่

ลักษณะอากาศทั่วไป ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนมิถุนายน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะมีฝนตกร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เว้นแต่ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง

ทั้งนี้เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย โดยมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ประกอบกับจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ นอกจากนี้ในบางช่วงจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวบริเวณทะเลอันดามัน แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นหรือพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ด้านตะวันตกของประเทศไทย

จากนั้น ช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง และอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ส่วนร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน

สำหรับช่วงตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ประเทศไทยจะกลับมามีฝนตกชุกหนาแน่นอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะมีฝนตกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย จะกลับมามีกำลังแรงและต่อเนื่องมากขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยร่องมรสุมจะปรากฏเป็นระยะๆ

ส่วนในเดือนตุลาคม บริเวณเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงและเริ่มจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะตอนบนของภาค ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนภาคเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออก นอกจากนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยจะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมแทน

รายละเอียดตามภาคต่างๆ

ภาคเหนือ เดือนพฤษภาคม กรกฎาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 5 – 10 (ค่าปกติ 173, 189, 222 และ 117 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 153 มิลลิเมตร) สำหรับเดือนสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 237 มิลลิเมตร)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนพฤษภาคม กรกฎาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 5 – 10 (ค่าปกติ 191, 242, 256 และ 101 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายนปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 198 มิลลิเมตร) สำหรับเดือนสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 276 มิลลิเมตร)

ภาคกลาง เดือนพฤษภาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 5 – 10 (ค่าปกติ 147, 238 และ 160 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียง ค่าปกติ (ค่าปกติ 133, 152 และ 173 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

ภาคตะวันออก เดือนพฤษภาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 5–10 (ค่าปกติ 204, 353 และ 218 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 258, 287 และ 285 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เดือนพฤษภาคมและเดือนสิงหาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 133 และ 131 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและกันยายน ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5-10 (ค่าปกติ 119, 120 และ 147 มิลลิเมตร ตามลำดับ) สำหรับเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 254 มิลลิเมตร)

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายน คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 303 และ 426 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 - 10 (ค่าปกติ 340, 352 และ 419 มิลลิเมตร ตามลำดับ) สำหรับเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 370 มิลลิเมตร)

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนพฤษภาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 207 และ 244 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 196, 183, 212 และ 326 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

พายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อนและไต้ฝุ่น) สำหรับในช่วงฤดูฝนปีนี้ คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือน 25 จังหวัด เสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ยังร้อนจัด อีสานฝนตกเพิ่มขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 22 เม.ย. - 1 พ.ค. 67

ผวาฮีตสโตรก! 'สาธารณสุขเชียงใหม่' เตือน ปชช. 25 อำเภอ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า อากาศในช่วงนี้อุณหภูมิสูงร้อนอบอ้าวจากอิทธิพลความกดอากาศต่อเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน