22 มิ.ย.2565 - สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้เปิดเผยผลงานโครงการวิจัยและพัฒนาด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของเทคโนโลยีเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางสนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และภารกิจทางด้านความมั่นคงต่าง ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางทหารและพลเรือน โดยรูปแบบการดำเนินงานมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อบูรณาการขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
จากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดอย่างต่อเนื่อง สทป. ได้มีการนำข้อเสนอแนะจากหน่วยผู้ใช้มาพัฒนาและปรับปรุงสมรรถนะ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยผู้ใช้ ทำให้หุ่นยนต์ของ สทป. ได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม พร้อมเดินหน้าเข้าสู่สายการผลิต จำนวน 2 รุ่น ได้แก่
1. ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก รุ่น D-EMPIR V.4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สทป. กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหุ่นยนต์ที่สนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด โดยออกแบบให้หุ่นยนต์มีความคล่องตัวในการเข้าพื้นที่ ทนต่อสภาพแวดล้อม ควบคุมและสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 300 เมตร ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง และสามารถรับน้ำหนักของวัตถุต้องสงสัยได้ถึง 30 กิโลกรัม
2. ต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา รุ่น NOONAR V.4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สทป. กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหุ่นยนต์ที่สนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ และภารกิจด้านความมั่นคงทั้งทางทหารและพลเรือน โดยออกแบบให้หุ่นยนต์มีขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพา มีความคล่องตัว ทนทานสูง ควบคุมและสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 300 เมตร ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง 30 นาที และรองรับ แรงกระแทกจากการตกจากที่สูงได้เป็นอย่างดี
หุ่นยนต์รุ่นดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการตรวจประเมินโรงงานหรือแหล่งผลิต ตรวจและทดสอบสมรรถนะทั้งห้องปฏิบัติการและภาคสนาม โดยมีผลการตรวจและทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมที่กำหนด จึงได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยระบบยานภาคพื้นไร้คนขับ สำหรับภารกิจตรวจการณ์ และ/หรือ การเก็บกู้/ทำลายวัตถุระเบิด ตามประกาศกระทรวงกลาโหม ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2565
สทป. มุ่งหวังใหเผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เกิดขึ้นจากความสามารถของคนไทยจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทหาร ตำรวจ หรือหน่วยงานที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงภัยในการเก็บกู้วัตถุระเบิดหรือสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สามารถทราบได้ให้ปลอดภัยจากการปฏิบัติภารกิจ และที่สำคัญสามารถซ่อมบำรุงได้ภายในประเทศ นอกจากจะเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในด้านการทหารแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้ต่อไปในอนาคต
ความสำเร็จของการได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม จากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม (กมย.กห.) ของหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดของ สทป. ในครั้งนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า สทป. พร้อมขยายผลเชิงพาณิชย์เข้าสู่สายการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุนกิจการป้องกันประเทศให้เข้มแข็ง เกิดการพึ่งพาตนเองด้านการป้องกันประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เสริมสร้างความมั่นคง นำมาซึ่งผลประโยชน์ของชาติ ลดการนำเข้า มุ่งเป้าการส่งออก สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป “สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ คิดเพื่อชาติ ทำเพื่อคุณ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' รับมีแนวคิดยกเลิก 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' จังหวัดชายแดนใต้
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงแนวนโยบายการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่จังหวัดชาย
'บิ๊กอ้วน' เรียกถก JTC ทันทีหลัง ครม.ไฟเขียวนั่งหัวโต๊ะ เตือนพูดด้านเทคนิคกระทบอธิปไตย
'ภูมิธรรม' เรียกถกแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ทันทีหลัง ครม.ไฟเขียวนั่งหัวโต๊ะ JTC เตือนระวังพูดด้านเทคนิค หวั่น กระทบดินแดน หากอนาคตเรื่องถึงศาล เผยลงพื้นที่เกาะกูด โมเดลเดียว 'เขาพระวิหาร' แสดงความเจ้าของ
'ภูมิธรรม' แบ่งงาน 'บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กรอย-สุรสิทธิ์-ธิติรัฐ' ลุยงานมั่นคง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้นำนายธิติรัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของนายภูมิธรรม พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
โฆษก มท. แจงมติครม.เร่งแก้ปัญหาคนไร้สถานะทางทะเบียน 4.8 แสนราย ไม่ใช่ให้สัญชาติคนต่างด้าว
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามา
ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย