30 มิ.ย.2565 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ "พายุโซนร้อนบริเวณทะเลจีนใต้ (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2565)" ฉบับที่ 5 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (30 มิ.ย. 65) พายุโซนร้อน “ชบา” มีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 16.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 115.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือค่อนทางตะวันออกเล็กน้อยอย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 2–3 ก.ค. 65 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่อาจเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 ก.ค. 65
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 30 มิถุนายน 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
วันที่ 1 กรกฎาคม 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
วันที่ 2 กรกฎาคม 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก
พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปภ.จัด 4 โซนพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ
DDPM แจ้งพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง (ลุ่มเจ้าพระยา) และภาคใต้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ตั้งแต่ช่วงวันที่ 14 สิงหาคม 2565
'นายกฯ' ให้กำลังใจประชาชนประสบอุทกภัยพายุ 'มู่หลาน' สั่ง จนท. เร่งช่วยเหลือ
“นายกฯ” ห่วงใยฝากกำลังใจถึงพี่น้องประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จากอิทธิพล “มู่หลาน” 11 จังหวัด กำชับจังหวัด-หน่วยทหาร-ท้องถิ่น เร่งเข้าสำรวจความเสียหายหลังน้ำลด ขณะที่ “มท.1” เดินหน้าแก้ปัญหารวดเร็ว ปภ. จังหวัดเข้าช่วยเหลือน้ำท่วมเชียงราย-น่านแล้ว
กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ช่วงแรกฝนลดลง ก่อนจะเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย
ฤทธิ์พายุมู่หลาน! ชายแดน 'แม่สาย' อ่วมหนักน้ำท่วมสูงครึ่งเมตร ร้านค้าจมมิด
พลตรี ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 37 /ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 37 จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทานจาก หมวดทหารม้าที่ 2 กองร้อยทหารม้าที่ 3
'ชัชชาติ' ไม่ห่วงน้ำทะเลหนุนช่วงนี้ จับตาน้ำเหนือจากอิทธิพายุมู่หลาน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำทะเลหนุน ว่า ในช่วงวันที่ 11-13 ส.ค. เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด แต่จากการตรวจสอบเมื่อวานที่ผ่านมา (12 ส.ค.) อยู่ที่ประมาณ 1.90 เมตร
กรมอุตุฯ เปิดภาพกราฟิก ฝนเริ่มเบาลง และกลับมาตกหนักในช่วง 20 ส.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ภาพกราฟิก แสดงการพยากรณ์ฝนรวมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.)10 วันล่วงหน้า ประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีฝน/ฝนฟ้าคะนองตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก