SACIT โชว์ 'องค์ความรู้-ภูมิปัญญาบรรพบุรุษ' เชิดชู 'ครูศิลป์'

SACIT โชว์องค์ความรู้-ภูมิปัญญาบรรพบุรุษเชิดชู “ครูศิลป์” สร้างสรรค์ผลงานสะท้อนถึงทักษะบรมครูในงานหัตกรรมดั้งเดิม ส่องฝีมือ “ครูช่าง” ชั้นเลิศ รักษาส่งต่อภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลัง พร้อมเผย “ทายาท” คนรุ่นใหม่ที่พร้อม สืบสาน งานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน

12 ก.ย.2565 - นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)เปิดเผยว่า SACIT ดำเนินการเฟ้นหาเพชรล้ำค่าด้านงานหัตถศิลป์ไทย และเชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ผู้เปี่ยมด้วยทักษะฝีมือและองค์ความรู้ และยังคงยึดมั่นรักษาภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมดั้งเดิมที่นับวันใกล้จะสูญหาย สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่น มีจิตวิญญาณในความเป็นช่างฝีมือที่พร้อมจะถ่ายทอดส่งต่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลานและคนรุ่นหลัง เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้สามารถเข้าถึงงานศิลปหัตถกรรมอันล้ำค่า และร่วมกันสืบสานอนุรักษ์พร้อมเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต

ทั้งนี้ SACIT ได้คัดสรรบุคคลที่เป็นที่สุดในการอนุรักษ์และมีความเป็นฝีมือเชิงช่างแห่งแผ่นดิน เพื่อเชิดชูเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งถือเป็นการสืบสานและส่งต่อภูมิปัญญาเชิงช่างชั้นสูงไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและเกิดความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการพัฒนา ต่อยอดรูปแบบและการใช้งานสู่ความร่วมสมัยอันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต

โดยในปี 2565 นี้ มีบุคคลเป็นได้รับการเชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ที่เป็นที่น่าภาคภูมิใจ ทุกท่านยังคงยึดมั่นรักษาภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมดั้งเดิมที่นับวันใกล้จะสูญหาย สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นสะท้อนถึงทักษะฝีมืออันล้ำเลิศชั้นครู มีจำนวน 2 คน สำหรับผู้ได้รับเชิดชูเป็น “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”ผู้ที่มีทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นเลิศทั้งในงานเชิงอนุรักษ์และพัฒนาแล้ว ยังคงมุ่งมั่นสืบสานส่งต่อภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลังไว้อย่างน่าภาคภูมิใจมีจำนวน 13 คน และผู้ที่ได้รับเชิดชูเป็น “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ที่นับเป็นบุคคลผู้ซึ่งสืบสาน รักษา ต่อยอด งานหัตถศิลป์ไทยด้วยใจที่มุ่งมั่นที่จะดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์งานที่ส่งต่อมาจากบรรพบุรุษหรือครูบาอาจารย์ ให้คงอยู่ต่อไป มีจำนวน 10 คน

SACIT ขอนำทุกท่านได้ชมตัวอย่างฝีมือช่างชั้นเลิศจาก “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ดังนี้ นายสมคิด ด้วงเงิน อายุ 81 ปี ได้รับการเชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ประเภท หัตถกรรมทองลงหิน เป็น เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพงานหัตถกรรมทองลงหินมากว่า 60 ปี (เริ่มทำตั้งแต่อายุ 14ปี) ปัจจุบันเป็นเจ้าของ “ศูนย์หัตถกรรมทองลงหิน” และเป็นผู้อยู่ในยุคสมัยที่เชื่อมโยงการผลิตทองลงหินจากรุ่นก่อนมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน โดยผลงานสำคัญๆ ที่มีความโดดเด่นที่สร้างความภาคภูมิใจคือ ช้อน ส้อม ลายดอกพิกุลโดยมีการพัฒนาสร้างสรรค์ การปรับประยุกต์ หรือ ต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเอกลักษณ์ พัฒนาจากมีดทานข้าว ดัดแปลงมาเป็นรูปทรงของมีดริ้วมะปราง และมีดคว้านเพื่อให้เข้ากับรูปแบบการใช้และความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันที่หันมาสนใจและใส่ใจในเรื่องของการริ้วมะปราง

นางสุมิตรา ทองเภ้า อายุ 79 ปีหรือคุณยายดำ ผู้ที่จะเข้ารับการคัดสรรเพื่อเชิดชูเป็น “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” ประเภท เครื่องทอคุณยายดำเป็นผู้ทอริเริ่มผ้ายกดอกเพื่อจำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด อาทิ ลายเทพพนม ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ผ้ายกดอกลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และลายโบราณอื่นๆ ของจังหวัดร้อยเอ็ด คุณยายดำมีความตั้งใจในการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาในงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ ให้คงอยู่ และส่งต่อถึงคนรุ่นหลัง โดยการฝึกให้ลูกหลาน หัดทำผ้ายกดอกตามขั้นตอนต่างๆ จนปัจจุบันมีหลานที่สามารถทอผ้ายกดอกโบราณได้แล้ว 2 คน

นอกจากนี้ยังได้เปิดโอกาสให้เด็กๆ ในชุมชน มาฝึกการทอผ้า และถ่ายทอดขั้นตอนการทำผ้ายกดอกให้แก่ลูกหลาน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีผ้าสวยๆไว้ใช้ ที่สำคัญยังได้รับการยกย่องจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด อนุมัติให้ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (ช่างทอผ้ายกดอกลายโบราณจังหวัดร้อยเอ็ด) อีกด้วย

นายเอกฉันท์ จันอุไรรัตน์ อายุ 56 ปี ผู้ที่จะเข้ารับการคัดสรรเพื่อเชิดชูเป็น “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประเภท เครื่องลงยาสีร้อนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ ฝึกฝนในงานศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเริ่มจากการช่วยคุณแม่คือครูบุญมี จันอุไรรัตน์ ซึ่งเป็นครูศิลป์ของแผ่นดินประจำปี 2561 ทำงานหัตถกรรมเครื่องลงยาสีร้อนมาตั้งแต่จำความได้ เริ่มเป็นกำลังหลักในการผลิตเครื่องลงยาสีแทนคุณแม่ครูบุญมี จันอุไรรัตน์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ปัจจุบันเป็นผู้อนุรักษ์ สืบทอด การทำงานศิลปหัตถกรรมเครื่องลงยาสีร้อนที่สั่งสม สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้ถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจเพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชนในท้องถิ่นให้มีรายได้ และได้จัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนเครื่องลงยาสีโบราณ” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552

สำหรับผลงานสำคัญๆ ที่มีความโดดเด่นที่สร้างความภาคภูมิใจคือ กำไลลายดอกนพเก้า และ กล่องเครื่องประดับลายดอกนพเก้า เป็นเครื่องประดับและของใช้ลงยาสีลายดอกนพเก้าชุดนี้ ใช้เทคนิคการลงยาสีร้อนตามสีนพเก้า ซึ่งจุดเด่นของเครื่องประดับและของใช้ลงยาสีนพเก้าชุดนี้ นอกจากจะมีคุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้ครอบครอง

ขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาเริ่มจากลูกค้าต้องการสั่งทำสินค้าประเภทเครื่องประดับต่างๆ เช่น เข็มกลัดเสื้อ หมุด/แหนบหนีบเนคไท พวงกุญแจลงยาสีลวดลายไทยแบบต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของไทย เพื่อนำไปให้ชาวต่างประเทศเป็นของที่ระลึก จึงได้ออกแบบทำให้ลูกค้า จากนั้นจึงพัฒนาเป็นสินค้าประเภทเครื่องใช้ที่มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น เช่น หลอดยานัตถุ์ ถ้ำยาดม ตลับสีผึ้ง กล่องบุหรี่/ซิก้า กำไล กรอบรูป เป็นต้นรวมถึงการออกแบบสินค้าประเภทของชำร่วยแบบต่างๆ ให้ทันกับยุคสมัยตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจและรักในงานศิลปหัตถกรรมไทย สามารถเข้าไปศึกษาศิลปหัตถกรรมไทยและดูรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sacit.or.th/th และ https://www.facebook.com/sacitofficial

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

sacit ชวนสัมผัสประสบการณ์ “เที่ยวฟินอินผ้าไทย” โดนใจคนรุ่นใหม่ วัยเกษียณ และต่างชาติ ดัน Soft Power ปล่อยพลังคราฟต์ไทยให้กระหึ่ม

sacit ชูศิลปหัตถกรรมไทยเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างแบรนด์ดิ้งให้ประเทศไทย ดึงเยาวชนคนรุ่นใหม่จนถึงวัยเกษียณอายุ

SACIT ผลักดันพัฒนาผลิตภัณฑ์งานคราฟท์เข้าสู่ตลาดโดยฝีมือคนไทยในงาน Maison & Objet ณ กรุงปารีส

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) จัดงานแถลงข่าวเปิดงานจัดแสดงนิทรรศการผลงานและกิจกรรมการทดสอบตลาดผู้ซื้อพบผู้ขายในโครงการพัมนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล

sacit ดัน Soft Power หัตถศิลป์ไทยในแดนปลาดิบ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมกว่า 30,000 ราย ได้เข้าถึงภูมิปัญญาของไทย ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023

sacit โชว์งานหัตถศิลป์ไทยในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เข้าชมงานกว่า 30,000 ราย เป็นการยกระดับงานหัตถศิลป์ไทย

sacit ปลื้มผลสำเร็จงาน “ฝ้ายทอใจ” คึกคัก สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 15 ล้านบาท ปลุกกระแสคนรักผ้าฝ้าย สืบสานงานศิลป์ต่อเนื่อง

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ปลื้มผลสำเร็จการจัดงาน “ฝ้ายทอใจ” ระหว่างวันที่ 7-13 สิงหาคม 2566 ณ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย อ.บางไทร

sacit โชว์พลัง Soft Power ในแดนปลาดิบ อวดโฉมหัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทย ผสานความคิดสร้างสรรค์ ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit มีนโยบายเสริมสร้างภาพลักษณ์งานศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อขับเคลื่อน "เศรษฐกิจสร้างสรรค์"

sacit ประกาศศักดางานหัตถศิลป์ไทยในแดนปลาดิบ สร้างแบรนดิ้ง ดันคราฟต์ไทยลุยตลาดต่างประเทศ พร้อมดึง “เลดี้ปราง” ร่วมสร้าง Soft Power ผ้าไทย อวดสายตาชาวโลก ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit โชว์ศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2566