เผยแรงงานเมียนมาทะลักไทยชายแดนเมืองกาญจน์ เหตุด่านน้อย

เผยแรงงานพม่าทะลักไทยด้านเมืองกาญจน์เหตุด่านน้อย “สุชาติ” ประกาศดูแลแรงงานต่างด้าวเหมือนคนไทย หอการค้าไทยชี้ความต้องการพุ่งนับล้านคน นักวิชาการแนะรัฐทำยุทธศาสตร์ชาติ-อย่าทำแค่มติ ครม.เป็นครั้ง

13 พ.ย.2564 - มีงานเสวนาออนไลน์เรื่อง “ปัญหาแรงงานข้ามชาติซับซ้อน หรือซ้ำซาก” โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผศ.ดร. กิริยา กุลกลการ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และดำเนินรายการโดย น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters

นายสุชาติ กล่าวว่าเราต้องดูแลแรงงานข้ามชาติเหมือนคนไทย ทั้งเรื่องสุขภาพและสาธารณสุข ขณะนี้เราฉีดวัคซีนไปให้พวกเขาแล้วเกือบ 5 แสนโดส การที่แรงงานทะลักตามแนวชายแดน ด้านหนึ่งก็เป็นภาพบวกของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจเพราะมีการเปิดประเทศและมีความต้องการแรงงาน จริงๆ แล้วเราได้ทำแผนและเตรียมนำเข้าแรงงานตั้งแต่เดือนสิงหาคมแล้ว แต่ตอนนั้นสถานการณ์โควิดในประเทศพุ่งสูงถึง 2 หมื่นคน ขณะที่แรงงานต่างด้าวเป็นจำเลยของสังคม เพราะการแพร่ระบาดใครๆ ก็มาลงที่แรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตามเมื่อประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนและมีการเปิดประเทศ เราจึงได้มีการหารือเรื่องการนำเข้าครั้งใหม่โดยตนได้ขอให้กระทรวงสาธารณะสุขเก็บวัคซีนไว้ 5 แสนโดส สำหรับการนำแรงงานต่างด้าวที่จะนำเข้า เราพยายามแก้ปัญหาที่ต้นทาง

“อยากเชิญทุกคนมาช่วยคิดเพื่อแก้ปัญหาแรงงานระยะยาว เราไม่อยากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราต้องการวางแผนระยะยาว ผมเองไม่ได้รอบรู้หมดทุกอย่าง”นายสุชาติ กล่าว

น.ส.สุธาสินี กล่าวว่าก่อนระบาดของโควิด แรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่งที่หนังสือเดินทางหมดอายุและต้องกลับไปทำหนังสือเดินทางในประเทศต้นทาง ซึ่งระหว่างนั้นได้เกิดการแพร่ระบาด ทำให้แรงงานที่ไม่สามารถกลับเข้ามาได้เพราะประเทศไทยปิดพรมแดน ขณะที่แรงงานอีกจำนวนมากในเวลานั้นได้ถูกครอบครัวเรียกตัวกลับบ้าน ทำให้แรงงานจำนวนมากหนีกลับประเทศ ทำให้เกิดสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานกลายเป็นโอกาสของนายหน้าค้าแรงงานโดยอ้างว่าเข้ามาง่ายและเข้ามาทำเอกสารในประเทศไทยโดยต้องจ่ายค่าหัว ซึ่งขณะนี้มีแรงงานพม่าเข้ามามากที่สุดเพราะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดและความไม่สงบภายในพม่า โดยแรงงานหนีความเดือดร้อนและความยากจน

“ไม่แตกต่างจากที่คนอีสานบ้านเราที่หนีไปทำงานต่างประเทศเพื่อหาเงินจุนเจือครอบครัว จึงตกเป็นเหยื่อของนายหน้าค้าแรงงาน ยิ่งประเทศไทยไม่ได้เปิดชายแดนให้เข้ามา เขาจึงต้องมากับนายหน้า และเลือกผ่านจุดที่มีด่านน้อยที่สุดคือแถวจังหวัดกาญจนบุรี ถ้าเป็นแม่สอดต้องผ่านถึง 4 ด่าน ในจำนวนนี้มีทั้งแรงงานเก่าที่เคยเข้ามาทำงานและแรงงานใหม่ เราได้รับการติดต่อจากคนงานว่าเข้ามาได้หรือไม่ บางส่วนซ่อนตัวมากับถังน้ำมัน 200 ลิตร เราจึงบอกว่ายังไม่ต้องเข้ามา ควรรอให้ทางการไทยเปิดรับก่อน” น.ส.สุธาสินี กล่าว

น.ส.สุธาสินี กล่าว การนำเข้าแรงงานไม่ได้ง่ายว่าการทำหนังสือเดินทางของพม่า ซึ่งต้องใช้เวลา 7-10 วันและมีขั้นตอนการส่งเอกสารและขออนุญาตออกนอกประเทศอย่างน้อยใช้เวลา 45-60 วันที่จะนำแรงงานออกจากประเทศได้ ขณะที่ขั้นตอนในประเทศไทย ต้องเสียค่าตรวจโควิด ใบอนุญาตแรงงาน สิทธิในการรักษา ค่ากักตัวสูง รวมแล้วค่าใช้จ่าย 2 หมื่นกว่าต่อคน ถ้าแพงขนาดนี้ กิจการขนาดใหญ่อาจไม่มีปัญหาแต่ขนาดกลางและเล็กรับได้หรือไม่และมีการผลักภาระไปให้คนงานหรือไม่

นายพจน์ กล่าว สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานสูงมาก โดยคนงานต้องหนีตายและหนีการอดตายจากพม่า เพราะช่วงหลังพม่าพึ่งพาการส่งออก แต่เมื่อพม่าปิดประเทศและมาเจอกับปัญหาการเมืองภายในอีกทำให้ต้องลักลอบเข้าประเทศไทยโดยเฉพาะเข้ามาในชุมชนที่มีญาติ เช่น มหาชัย ทำให้เกิดการแพร่ระบาดในระลอกที่ 2 อย่างไรก็ตามเมื่อประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวและภาคการส่งออกเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี ทำให้ภาคการผลิตขาดแคลนแรงงาน

นายพจน์กล่าวว่าความต้องการแรงงานมี 4 ประเภท คืออุตสาหกรรม ก่อสร้าง เกษตรกรรม และภาคบริการ โดยแรงงานอุตสาหกรรมต้องการมากและมีการจ้างงานอย่างเป็นระบบ ขณะที่ภาคการก่อสร้างยังที่มีโครงการก่อสร้างที่ค้างไว้จำนวนมากจึงต้องการแรงงานมากโดยเฉพาะชาวกัมพูชา ส่วนภาคเกษตรเป็นความต้องการแรงงานในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ส่วนภาคบริการนั้น มีความต้องการมากหลังจากเปิดประเทศโดยมีตัวเลขของกระทรวงแรงงานบอกความต้องการประมาณ 5 แสน แต่ตนคิดว่ามากกว่านั้น จึงอยากให้มีการสำรวจชัดเจน ตนคิดว่าความต้องการแรงงานเบ็ดเสร็จสูงถึง 1 ล้านคน

นายอดิศร กล่าวว่าแรงงานข้ามชาติที่อพยพกลับประเทศตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิดและเมื่อมีการแพร่ระบาดแล้วมีประมาณ 1 แสนคน และเริ่มไหลกลับเข้ามาตั้งแต่สิงหาคมปีที่แล้ว แต่อาจไม่เยอะเหมือนปัจจุบัน และหลังเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเกิดรัฐประหารในพม่าได้กลับเข้ามาจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการนำเข้าแรงงานยังเพื่อกิจการขนาดใหญ่ แต่ไม่ให้ความสำคัญกับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งเป็นกิจการที่ต้องการแรงงานสูง ทำให้เกิดการนำแรงงานในสถานประกอบการขนาดกลางและเล็กมักไม่ถูกกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาซ้ำซาก

“เราต้องคุยกันให้ชัดว่าเราต้องการเอา MOU เป็นการนำเข้าหลักหรือไม่ หากใช่ก็ต้องเจรจากับประเทศนั้นๆอย่างไร อย่างไรก็ตามปัญหาคือเราไม่มียุทธศาสตร์และการตัดสินใจอยู่กับคนไม่กี่คน เช่น กิจการขนาดเล็กไม่มีโอกาสเสนอ”

ผศ.ดร.กิริยา กล่าวว่า จริงๆปัญหาแรงงานข้ามชาติทั้งซ้ำซากและซับซ้อนเพราะเราจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติมา 29 ปีแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องส่วยและการลักลอบน้ำเข้าจนถึงปัจจุบัน ครั้งนี้ที่มีการลักลอบมากเพราะขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก สิ่งที่กระทรวงแรงงานทำคือพยายามเอาแรงานจากใต้ดินในประเทศก่อน แต่ไม่เพียงพอจึงต้องนำเข้า แต่เมื่อเปิดรับยิ่งทำให้แรงงานยิ่งอยากเข้ามา ดังนั้นเราควรทำไปพร้อมกันคือทั้งใช้แรงงานใต้ดินในประเทศมาไว้บนดินและการเปิดรับจากข้างนอก ซึ่งกระทรวงแรงงานอาจทำไปแล้วแต่ช้าเกินไป ขณะเดียกันรัฐบาลพยายามปิดและป้องกันพรมแดน แต่ถึงอย่างไรก็ป้องกันการลักลอบไม่ได้

ผศ.ดร.กิริยา กล่าวว่า เราพึ่งพาแรงงานข้ามชาติมากเกินไปหรือไม่ บางกิจการไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานไร้ฝีมือและสามารถพัฒนาคนเพื่อใช้แรงงานฝีมือได้ ดังนั้นเราควรมองเป็นยุทธศาสตร์ไม่ใช่แค่มติคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งๆไป

นายพิเชษฐ์กล่าวว่า จากการสำรวจมีความต้องการแรงงานข้ามชาติล่าสุดประมาณ 4 แสนคน แต่อาจมากกว่านั้น การทะลักเข้ามาอาจเป็นเพราะแรงงานต่างชาติอาจเข้าใจผิดว่าเมื่อเข้ามาจะขึ้นทะเบียนได้ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เพราะต้องเข้ามาก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตามล่าสุดเตรียมน้ำเข้าแบบ MOU ซึ่งเราอยากได้แรงงานข้ามชาติแต่ต้องไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด

นายพิเชษฐ์กล่าวว่า การนำเข้า MOU นั้น ขั้นตอนเริ่มต้นจากผู้ประกอบการแจ้งความต้องการที่สำนักงานจัดหางานโดยต้องระบุให้ทราบว่าจะตรวจโควิดที่ไหน หากมีกรณีติดเชื้อใช้ประกันสุขภาพอะไร เมื่อมีการตรวจสอบปริมาณความต้องการแล้วเสร็จ เราก็ส่งเรื่องไปที่ประเทศต้นทางเพื่อให้เขารับสมัครและส่งกลับมาประเทศไทย หลังจากนั้นเราจะส่งต่อให้นายจ้างเพื่อทำการขออนุญาตการทำงานของคนต่างด้าวและมีประกันชีวิตเพื่อไม่ได้เป็นภาระของไทย หลังจากนั้นจะส่งหนังสือไปยังสถานทูตเพื่อให้นำคนต่างด้าวเข้ามา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

‘สุชาติ’ ลั่นไม่ยึดติด หลังมีชื่อนั่ง รมต. ยันปรับ ครม.อำนาจนายกรัฐมนตรี

พรรครวมไทยสร้างชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกลไกของหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และผู้ใหญ่ของพรรคเป็นหลัก การปรับ ครม.อำนาจเป็นของนายกรัฐมนตรี

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์