GISTDA แจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวดตกสู่พื้นโลก 5 พ.ย.นี้ ชี้โอกาสไทยได้รับผลกระทบ 1.4%

3 พ.ย.2565 - ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA ใช้ระบบการจัดการจราจรอวกาศ (Space Traffic Management System) หรือ ZIRCON ในการติดตามและคาดการณ์การตกของชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5บี วาย4 (Longmarch 5B-Y4) ซึ่งพบว่า ชิ้นส่วนของจรวดดังกล่าวจะตกสู่พื้นโลกในวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2565 และอาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยได้

เนื่องจากวัตถุอวกาศนี้ผ่านประเทศไทยทุกวัน (ตามภาพกราฟิกแสดงให้เห็นทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทย) โดยวันนี้ (3 พ.ย.) จะโคจรในช่วงเวลาประมาณ 13:54 ถึง 13:56 น. พาดผ่านบริเวณพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สำหรับวัตถุอวกาศดังกล่าวขณะนี้โคจรสูงจากพื้นโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 177 กิโลเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 21.6 ตัน (ระหว่างที่วัตถุอวกาศกำลังตกสู่โลกนั้น จะมีน้ำหนักน้อยกว่านี้ เนื่องจากจะมีบางส่วนถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ)

ส่วนจุดที่คาดว่าจะเป็นจุดตกของชิ้นส่วนจรวดฯ ขณะนี้ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และจะสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำก็ต่อเมื่อวัตถุอวกาศอยู่ห่างจากพื้นโลกโดยเฉลี่ยไม่เกิน 130 กิโลเมตร (ระยะห่างของวัตถุอวกาศกับพื้นโลกมีผลอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์และคาดการณ์จุดตก ดังนั้นยิ่งใกล้โลกเท่าไรจะยิ่งแม่นยำมากขึ้น

ทั้งนี้ การแจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวดตกสู่โลกในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA ใช้ระบบ ZIRCON ที่ทีมนักวิจัยของ GISTDA พัฒนาขึ้น ทำการวิเคราะห์ติดตาม และคาดการณ์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล

สำหรับปฏิบัติการของลองมาร์ช 5บี วาย4 ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อนำโมดูลเหมิงเถียน (Mengtian) มาเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong Space Station) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักบินอวกาศทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยบนอวกาศ อาทิ การทดลองด้านฟิสิกส์ของไหล, วัสดุศาสตร์, เทคโนโลยีอวกาศ และอื่น ๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ณ วันนี้ มีโอกาสได้รับผลกระทบเพียง 1.4 % ซึ่งถือว่าน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม GISTDA จะติดตามสถานการณ์และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการตกของชิ้นส่วนจรวดนี้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

Cr.ข้อมูลและภาพระบบZIRCON: ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูลดาวเทียม 'ค่าฝุ่นพิษ' 5 อันดับจังหวัดอากาศแย่ กทม.เกินมาตรฐานทุกเขต

เพจเฟซบุ๊ก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ล่าลุดเวลา 9.00 น. ของวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

เปิด 5 อันดับจังหวัดพบจุดความร้อนมากที่สุด ฝุ่นพิษพุ่งพรวด ภาคเหนือกระอัก

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เปิดเผยถึงสถานการณ์หมอกควันไฟป่า ประเทศไทยยังครองอันดับหนึ่ง พบจุดความร้อนวานนี้กว่า 3.2 พันจุด...พื้นที่ป่าอนุรักษ์ยังมากสุดกว่า1.8 จุด

เปิดภาพดาวเทียม 'มวลน้ำเหนือ' ทยอยไหลลงภาคกลาง จ่อเข้าปทุมฯ นนทบุรี กทม.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เปิดเผยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Radarsat-2 พบมวลน้ำจากภาคเหนือกำลังทยอยไหลลงสู่พื้นที่ภาคกลาง และมีมวลน้ำบางส่วนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

'จิสด้า' เปิดภาพถ่ายดาวเทียม เผยพื้นที่น้ำท่วม คาดการณ์จุดเสี่ยงท่วมฉับพลันจากพายุโนรู

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) คาดการณ์พื้นที่น้ำท่วมขังหลังจากอิทธิพลพายุโนรูเคลื่อนตัวสู่ประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลสถิติน้ำท่วมจากดาวเทียมที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมาวิเคราะห์ร่วมกับแนวพายุและการคาดการณ์ฝน

'จิสด้า' เกาะติด! อัปเดตภาพถ่ายดาวเทียมญี่ปุ่น เผยเส้นทาง 'พายุโนรู' ทวีกำลังแรงมากขึ้น

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมฮิมาวาริ 8 ของญี่ปุ่น วันที่ 26 กันยายน 2565

ส่อง 10 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยา เกี่ยวข้าวแล้ว 96% เตรียมรับน้ำระลอกใหญ่ปลาย ก.ย.

GISTDA ได้อัพเดทเป็นระยะด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังและพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ครั้งนี้เรามาอัพเดทสถานการณ์ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวจาก 10 ทุ่งกันบ้าง