ภาคใต้รับมือฝนตกหนัก ส่วนไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา

6 ต.ค. 2565 – กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปของประเทศไทย โดยระบุว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าและอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส
โดยมีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส
โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ยัน ร่วมโต๊ะอาหารเที่ยงกับ 'เอกนัฏ'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับนายกรัฐมนตรีและคณะ

แปรปรวนหนัก! ไทยตอนบนร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุ

กรมอุตุฯ ออกประกาศ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วง 8-11 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8 – 11 เมษายน 2567)

กรมอุตุฯ เตือนรับมือพายุฤดูร้อน ฝนแรกเดือนเมษายน หนักแน่!

กรมอุตุนิยม อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3-12 เม.ย. 67 init. 2024040212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ช่วง 3-8 เม.ย.67 จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน

กรมอุตุฯ เผยสาเหตุเกิด 'พายุฤดูร้อน' ถล่มอีสาน เตือน 42 จังหวัดระวังฝนตกใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) บริเวณภาคอีสาน (จ.เลย อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย ร้อยเอ็ด นครราชสีมา) เมื่อวานที่ผ่านมา (28/3/67)