สมาคมรักษ์ทะเลไทย ย้ำ จับสัตว์น้ำด้วยอวนลาก-อวนรุน ทำลายสัตว์น้ำ สนองธุรกิจไม่กี่ครอบครัว

สมาคมรักษ์ทะเลไทย ย้ำจับสัตว์น้ำด้วยอวนลาก-อวนรุนและเรือปั่นไฟ ทำลายสัตว์น้ำในทะเลไทย เหตุปลาป่น1กก.ใช้สัตว์น้ำศก.วัยอ่อนถึง4กก.หรือ1ล้านตัน/ปีสนองธุรกิจปลาป่นไม่กี่ครอบครัวแต่ทำลายประมงชายฝั่งกว่า5แสนครอบครัว

11 พ.ย.2565 - นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า

ย้ำกัน​อีกครั้​งว่าสาเหตุที่ปลาป่น by catch (จับสัตว์น้ำขึ้นมาด้วยอวนลาก/อวนรุนและเรือปั่นไฟ) มีส่วนทำร้ายทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลไทยก็เพราะว่า

1. ปลาป่นน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้วัตถุดิบจากเรืออวนลาก/อวนรุนและเรือปั่นไฟ(by catch) ซึ่งก็คือ ลูกกุ้ง หอย ปู ปลา สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนถึง 4 กิโลกรัม ประเทศเราผลิตปลาป่น 500,000 ตัน ผลผลิตปลาป่นในประเทศเรามาจาก by catch คือ จากเรืออวนลาก และที่เรียกว่า by product ซึ่งเป็นเศษหัวก้างจากซูริมิ หรือปลาทูน่าปลากระป๋องประมาณ 50/50 นั่นก็หมายความว่าปลาป่น 250,000 ตันจากปลาป่น by catch จะต้องทำลายพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่จะเติบโตขึ้นมาถึง 1 ล้านตัน/ปี

คนไทยบริโภคสัตว์น้ำทั้งหมดในปริมาณ 28-31 กก./คน/ปี (เป็นปลาน้ำจืดในปริมาณ 5 กก./คน/ปี) ถ้าเทียบกับคนอเมริกันบริโภคในปริมาณ 50 กก./คน/ปี หรือคนในญี่ปุ่นในปริมาณ 69 กก./คน/ปี (รศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ)

แม้คนไทยจะบริโภคปลาเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 กก./คน/ปี เราก็ยังมีปลาเพิ่มขึ้นถึง 66,000 ตัน/ปี จากฐานประชากร 66 ล้านคน แค่เราหยุดธุรกิจปลาป่น by catch ซึ่งก็คือ การหยุดทำลายสัตว์น้ำไปถึง 1 ล้านตัน กุ้ง หอย ปู ปลาเหล่านั้นก็จะเติบโตเต็มที่ คนไทยก็จะมีอาหารทะเลกินอย่างเหลือเฟือ

2. ผลิตภัณฑ์ปลาป่นของประเทศไทยในปี 2558 ผลิตได้ประมาณ 420,000 ตัน แต่เราส่งออกไปขายยังต่างประเทศถึง 159,500 ตัน ที่เหลือใช้ภายในประเทศ คำถามจึงมีว่าในเมื่อปลาป่นเป็นส่วนทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำที่เป็นอาหารโปรตีนของสังคมไทยโดยรวม

ทำไมเราถึงยังปล่อยให้มีการทำลาย และตอบสนองกลุ่มธุรกิจปลาป่นที่มีไม่กี่ครอบครัว แต่ได้ทำลายอาชีพของชาวประมงชายฝั่งใน 22 จังหวัด ซึ่งมีอยู่กว่า 500,000 ครอบครัว ประชากรกว่า 1 ล้านคนที่เป็นชาวประมง ให้ต้องอดอยากยากจน???

3. ปี 2558 ประเทศไทยนำเข้าปลาป่น 31,100 ตัน และที่ทำจากเนื้อไก่ป่น เนื้อหมูป่น ซึ่งสามารถนำเข้าได้อย่างเสรี 330,200 ตัน กากถั่วเหลือง 2,694,748 ตัน ดังนั้นเราควรพิจารณายุติการส่งออกปลาป่น by catch โดยทันที

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประมงพื้นบ้านตราด ยื่นผู้ว่าฯค้านการแก้ไขพรบ.ประมง หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์

สมาคมประมงพื้นบ้านรักษ์ทะเลตราด ยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไขพรบ.ประมงฉบับใหม่ที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการ หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์ เหตุให้เรือประมงพาณิชย์ขนาด 100 ตันกรอสทำประมงในพื้นที่ชายฝั่ง และลดพื้นที่ประมงพื้นบ้าน

กสม. ชี้โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบประมงพื้นบ้าน ระบบนิเวศ

กสม. ชี้ โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านและระบบนิเวศทางทะเล แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ไข

ครม. เห็นชอบแก้ พ.ร.ก.ประมง ปี 2558 นายกฯ สั่งรับฟังความเห็นทุกหน่วยงานโดยละเอียด

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่ร่างโดยคณะกรรมการแก้ไ

'รมช.คมนาคม' ตอกหน้า 'ศิริกัญญา' อ่านรายงาน 'แลนด์บริดจ์' ผิดฉบับ

'มนพร' ตอก 'ศิริกัญญา' อ่านรายงานแลนด์บริดจ์ผิดฉบับ เย้ยใช้รายงานเดิม จะตั้งกมธ.ใหม่ทำไม ลั่นรัฐบาลไม่ใช่แค่กล้าสบตาประชาชน แต่เปิดหูเปิดตารับฟัง

ชาวประมงเดือดร้อนหนัก จี้หน่วยงานรัฐอย่าเมินปัญหาไฟกระพริบบอกร่องน้ำใช้การไม่ได้

ชาวประมงพื้นบ้านและเรือบริการนักท่องเที่ยวเดือดร้อนหนัก ไฟกระพริบบอกร้องน้ำเดินเรือบริเวณเกาะนกเสียมานานไร้หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบช่วยดูแลแก้ไข

ชาวประมงสตูล จอดเรือปิดร่องน้ำปากบารา ประท้วงจับเรือ 3 ลำ

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค3) เปิดเผยว่า ศรชล.ภาค 3 โดย ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล (ศคท.จว.สต.) ร่วมสังเกตการณ์ เรือประมงพื้นบ้านปิดร่องน้ำปากบารา