ข่าวปลอม หลอกลงทุน - รับสิทธิ์กู้เงิน ยังระบาดหนัก

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมนโยบายรัฐบาล จำนวน 67 เรื่อง สอดคล้องกับกระแสการเมืองที่อยู่ในความสนใจอย่างมากของประชาชน ขณะที่ข่าวปลอมโควิด-19 มีเพียง 1 เรื่อง

13 พ.ย. 2565 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 4 – 10 พฤศจิกายน 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 5,213,861 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 238 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 222 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 16 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 104 เรื่อง

ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรม อันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 67 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิด กฎหมาย จำนวน 19 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 13 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 5 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 1 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ ในสัปดาห์. ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านเศรษฐกิจ สำหรับข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 4 – 10 พฤศจิกายน ดังนี้

อันดับ 1 เรื่อง ปตท. ให้ลงทุนหุ้นระดับโลก ด้วยเงิน 1,000 บาท และซื้อหุ้นปตท. ได้รับสิทธิ์จอง OR

อันดับที่ 2 เรื่อง กรุงไทยส่ง SMS ให้ประชาชนรับสิทธิ์ยื่นกู้เงินผ่านลิงก์

อันดับที่ 3 เรื่อง ขนส่งฯ เปิดเพจเฟซบุ๊ก DLT e-eairning รับทำใบขับขี่ทุกชนิด

อันดับที่ 4 เรื่อง สมุนไพรจมูกปลาหลดใช้รักษาโรคมะเร็ง

อันดับที่ 5 เรื่อง ออมสินปล่อยสินเชื่อ GSB ผ่านไลน์

อันดับที่ 6 เรื่อง ใช้เนยแท้ทาเคลือบแผลน้ำร้อนลวก ช่วยแก้ปวด ลดตุ่มพองใส

อันดับที่ 7 เรื่อง สารบอแรกซ์ใช้รักษาโรคมะเร็งได้

อันดับที่ 8 เรื่อง กรมการจัดหางานเปิดรับสมัครแรงงานโรงงานไฟฟ้าที่เกาหลี

อันดับที่ 9 เรื่อง ปตท. ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดลงทุนหุ้นระดับโลก ด้วยเงิน 1,000 บาท

อันดับที่ 10 เรื่อง ไปรษณีย์ไทยโทรแจ้งประชาชนว่ามีพัสดุตกค้าง

“ดีอีเอส พร้อมดำเนินการทุกวิธี เพื่อปกป้องประชาชนจากข่าวปลอมและมิจฉาชีพผ่านออนไลน์ โชเชียลมีเดีย โทรศัพท์ และการส่ง SMS หากท่านได้รับโทรศัพท์หรือได้รับข้อมูลที่ผิดปรกติ ผ่านโชเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ และ SMS ท่านสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 ทั้งนี้ดีอีเอส ได้มีการติดตามการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง” นางสาว นพวรรณ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปกรณ์วุฒิ' ประเดิมชงหั่นงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเหี้ยน!

ถกงบฯต่อวันที่ 2 'ปกรณ์วุฒิ' เดือดขอตัดงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมทั้งโครงการ ลั่นไม่เคยเป็นกลาง เป็นแค่เครื่องมือของรัฐ ผูกขาดความจริง

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ

ไม่แผ่ว! ดีอี เผยข่าวปลอม ‘กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน’ ถูกปล่อยไม่หยุด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สรุปข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดเป็นอันดับ 1 พบว่าเป็นเรื่องเพจปลอม “กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน” รับสมัครพนักงาน แพ็กของ รายได้เฉลี่ย 450 บาท/ต่อวัน รองลงมาเป็นข่าวปลอม “สินเชื่ออเนกประสงค์กรุงไทย 5 พลัส วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท ผ่านเพจ Loan Versatile 5 Plus” ยังระบาดหนัก เตือนเช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ หรือแชร์ข้อมูล

ดีอี เตือนข่าวปลอม อย่าแชร์! อย่าเชื่อ 'กรมการจัดหางาน' รับสมัครงานโปรโมตสินค้าผ่านโซเชียล

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบมิจฉาชีพปั่นข่าวปลอม ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงเป็นอันดับ 1 กรมการจัดหางานรับสมัครผู้ช่วยโปรโมตสินค้าจำนวนมาก รองลงมาเป็นข่าวปลอม ด้านสุขภาพวิธีขัดฟันด้วยผงถ่านคาร์บอนช่วยทำให้ฟันขาว และเคี้ยวเมล็ดมะละกอสุก รักษามะเร็ง เตือนประชาชนเช็คข้อมูลให้รอบด้าน ก่อนแชร์ อย่าตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ