2 ธ.ค. 2565 – นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) แจ้งขอปรับขึ้นค่าโดยสาร ว่า กรุงเทพมหานครได้พิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันนี้แล้วเห็นว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อประชาชน และเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนในการเดินทางเป็นอย่างมาก ประกอบกับบริษัทฯ ยังมีรายได้ทางอื่นซึ่งนอกเหนือจากรายได้จากค่าโดยสารเพื่อมาชดเชย อาทิ รายได้จากการประกอบพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณชั้นจำหน่ายตั๋ว รายได้จากการโฆษณา รายได้จากการอนุญาตให้เอกชนก่อสร้างทางยกระดับเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีและอาคารบุคคลภายนอก ซึ่งรายได้ดังกล่าวสามารถนำมาช่วยสนับสนุนรายจ่ายจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือขอความร่วมมือให้บริษัทฯ ทบทวนและชะลอการปรับ “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ออกไปก่อน
ทั้งนี้ บริษัท BTSC ได้แจ้งการขอปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นการขอปรับขึ้น “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนระหว่าง กรุงเทพมหานครกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (สัญญาสัมปทานฯ) ข้อ 13.2 ได้ระบุว่าค่าโดยสารที่เรียกเก็บ จะต้องไม่เกินไปกว่าเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุดที่อาจเรียกเก็บได้ ซึ่งบริษัทฯ จะต้องแจ้งให้ กทม. และประชาชนทั่วไปทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงค่าโดยสารที่เรียกเก็บล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่ค่าโดยสารใหม่จะมีผลบังคับใช้ โดยเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุดที่อาจเรียกเก็บได้เมื่อเดือนเม.ย. 2565 อยู่ที่ 21.52 – 64.53 บาท
อนึ่ง บริษัท BTSC ได้เคยมีหนังสือแจ้งกรุงเทพมหานครเมื่อเดือน ส.ค. 2565 เพื่อขอปรับขึ้นค่าโดยสารจาก 16 – 44 บาทเป็น 17 – 47 บาท ซึ่งการขอปรับค่าโดยสารดังกล่าวไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุด แต่กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ขอให้บริษัทฯ ชะลอการปรับค่าโดยสารออกไปก่อน โดยขอให้บริษัทคำนึงถึงความเดือดร้อนและภาระของประชาชนโดยรวม และขอให้ชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอปรับ “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ”
ต่อมาบริษัทฯ ได้มีหนังสือแจ้งกรุงเทพมหานครอีกครั้งในเดือน พ.ย. 2565 ชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าบริษัทฯ มีรายจ่ายจากการดำเนินโครงการที่เพิ่มสูงขึ้นและได้หารือกับผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (กองทุนฯ) และมีความเห็นตรงกันว่า เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน บริษัทฯ จึงยินดีที่จะชะลอการปรับ “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ไปจนถึงสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2565 และจะบังคับใช้อัตรา “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป ซึ่งค่าโดยสารใหม่ที่จะเรียกเก็บนั้นอยู่ในอัตรา 17 – 47 บาท ซึ่งไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุดที่อาจเรียกเก็บได้ตามสัญญาสัมปทาน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ
นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
ไม่ทน! ฟ้อง 'อธิบดีทางหลวง-รมว.คมนาคม' เหตุเครนถล่มพระราม 2
'ศรีสุวรรณ' เตรียมยื่นฟ้องศาลปกครอง เอาผิด 'อธิบดีทางหลวง-รมว.คมนาคม' เหตุเครนถล่มพระราม 2 หลังเกิดขึ้นซ้ำซาก
คนไทยอ่วม! ฝุ่น PM2.5 ท่วม 27 จังหวัด 'กทม.' พุ่งทุกพื้นที่
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้