
12 ธ.ค. 2565 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในวันนี้ (12 ธันวาคม 2565) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณภูมิลดลง กับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกาและเกาะสุมาตรา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 5-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) ตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า ตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย อุตุฯ ออกประกาศฉบับ 9 รับมือฝนตกหนัก 10 จังหวัด
กรมอุตุฯออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 9 คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก เตือน 10 จังหวัดในภาคตะวันออกและภาคใต้ฝนยังตกหนักถึงหนักมาก เสี่ยงท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม อ่าวไทยและอันดามันทะเลมีคลื่นสูง-ลมแรง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึง 6 มิ.ย.นี้
อุตุฯเตือน ภาคตะวันออก - ภาคใต้ ฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำท่วม
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้
อุตุฯ เตือนรับมือร่องมรสุมพาดผ่าน ฝนจะเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นช่วง 5-10 มิ.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 8 (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566)
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 6 อัปเดตพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัดภาคตะวันออก-ภาคใต้ฝั่งตะวันตกเจอฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 6 มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง
อุตุฯ เตือนฝนถล่ม 36 จังหวัด คลื่นสูง 2-3 เมตร
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก