ปลัดศธ.เผยยกระดับแผนการศึกษาเป็นระดับ 2 รับมือ'สึนามิ 'ปัญหาสังคมสูงวัย

 29 ธ.ค. 2565 – นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือถึงสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นวิกฤติหนักของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีความห่วงใยในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกภาคส่วนวางแผนแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าวอย่างยั่งยืน

“ในอีก 11 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุของไทยจะสูงขึ้นเป็น 28% ถือเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ส่วนด้านผลิตภาพแรงงานของไทยอยู่ในอันดับที่ 40 จาก 64 ประเทศ มีแรงงานนอกระบบมากถึง 52% ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่มีสวัสดิการ ในระยะยาวจะกระทบต่อรัฐในการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณด้านสุขภาพ ขณะที่กลุ่มผู้ว่างงานและอยู่นอกระบบการศึกษา (Non Education Employer Development : NEED) มีมากถึง 1.3 ล้านคน หากปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามภาวะปกติ ในทศวรรษหน้าประเทศไทยจะเผชิญปัญหาหนัก แต่ตอนนี้เรามีช่องว่างที่สามารถเข้าไปพัฒนาได้ คือ การเตรียมพัฒนากำลังคนให้ทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งต้องใช้เวลาและเตรียมการตั้งแต่วัยเด็ก จึงได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมพัฒนากำลังคนอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตินี้” 

ทั้งนี้ ศธ.เตรียมแนวทางดำเนินการไว้แล้ว เช่น ความร่วมมือกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยกระดับแผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นแผนระดับ 2 เพื่อให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ, วางแผนพัฒนาระบบ Up-Skills Re-Skills ให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ความร่วมมือและช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมพัฒนาการสมองแต่ละช่วงวัย, กระทรวงแรงงานและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูแลความต้องการของตลาดงาน, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ศธ.ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนระยะสั้น ในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าของปี 2566 ด้วยแนวคิด “สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณค่า” เพื่อสร้างความสุขให้กับกลุ่มผู้สูงอายุทุกกลุ่ม คือ ครูเกษียณอายุราชการ กลุ่มแรงงานไม่มีสวัสดิการ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ กลุ่มที่ต้องการอาชีพเสริม กลุ่ม NEED ด้วย 5 กลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ

  1. ความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีโอกาสทางวิชาชีพหลังเกษียณ
  2. ส่งเสริมการสร้างอาสมัคร กระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  3. การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในระดับสูง เข้ามาเป็นวิทยากรฝึกอบรมวิชาชีพ ในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน
  4. การส่งเสริมการสร้างรายได้จากวิชาชีพชุมชน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
  5. การยกระดับห้องสมุดชุมชน ให้เป็นมากกว่าห้องสมุด โดยปรับโฉมให้เป็นแหล่งค้นคว้าที่ทันสมัย แหล่งเรียนรู้วิชาชีพ และเรียนรู้สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ

แนวทางระยะสั้นในการขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ จะเปิดรับสมัคร อส.ศธ. ผ่านระบบออนไลน์ วางเป้าหมายมีผู้สมัครกว่า 30,000 คน โดย อส.ศธ.ซึ่งกระจายทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะเป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินการร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยพัฒนากำลังคนทุกกลุ่มวัยในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมคนในอนาคต รวมทั้งกลุ่มผู้สูงวัยด้วย เช่น เป็นครูอาสาสมัครจิตอาสา เพื่อเข้ามาช่วยงานการศึกษา มุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ของเด็กในชุมชน พร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูลการเข้าสู่ระบบการศึกษา ออกกลางคัน หรือมีภาวะความรู้ถดถอยในด้านไหน อส.ศธ. จะเข้าไปช่วยเติมเต็มสิ่งเหล่านั้นให้

ทั้งนี้ ผู้สนใจที่จะเข้าเป็น “อาสาสมัคร กระทรวงศึกษาธิการ” นอกจากจะเป็นผู้เกษียณอายุ และมีจิตอาสาแล้ว จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพต่าง ๆ โดย ศธ.จะพิจารณาใช้งบประมาณที่มีอยู่ ไม่ขอเพิ่มจากภาครัฐ รวมถึงดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีค่าตอบแทน พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการลงพื้นที่เข้าไปทำงาน เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพกำลังคนและผู้สูงวัย ให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ร่วมพาประเทศไทยผ่านวิกฤติไปได้ด้วยดี” ปลัด ศธ. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รมช.สุรศักดิ์” ร่วมถก การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ฯ

เมื่อวันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2567 ที่

“รมช.สุรศักดิ์” เปิดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ลงพื้นที่เมืองเชียงราย​ ลุย​ รับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานทางการศึกษา​ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ​ที่ประชุม​ ครม.

เมื่อวันจันทร์​ ที่ ​18 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์​เจริญ​ว​ร​กุล​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุม​ ครม.สัญจร​ ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง จ.เชียงราย​ โดยมี​ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)

ครูเฮ! คืนครูให้นักเรียนทั่วประเทศลดภาระครู “เสมา 2” เผย ศธ.ชงงบจ้างภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาด ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้

เมื่อวันพุธ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการเสนอของบประมาณสนับสนุนให้จัดสรรนักการภารโรงให้สถานศึกษาทั่วประเทศ

“รมช.สุรศักดิ์” ลงพื้นที่เกาะติดการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี รับฟังเสียงสะท้อนปัญหาอุปสรรค ลั่นเรื่องไหนขับเคลื่อนเร่งด่วนได้ทำทันที พ

เมื่อวันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดอาคารเรียนแบบพิเศษ