ฝุ่น PM2.5 กลับมาแล้ว กทม. แจ้ง 19 พื้นที่มีปัญหาต่อสุขภาพ

10 ม.ค. 2566 – เช้านี้ค่าฝุ่นอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 19 พื้นที่

ผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) โดยศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร
ตรวจวัดได้ 34-56 มคก./ลบ.ม.

ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 46.2 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 34-56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 19 พื้นที่ ได้แก่

🔺1.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
🔺2.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
🔺3.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
🔺4.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
🔺5.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
🔺6.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
🔺7.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
🔺8.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
🔺9.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
🔺10.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
🔺11.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
🔺12.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
🔺13.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
🔺14.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
🔺15.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
🔺16.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
🔺17.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
🔺18.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
🔺19.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

PM2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม. ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ตั้งแต่ช่วงวันที่ 5 – 11 ม.ค. 66 อากาศไม่ยกตัว(มีเสถียรภาพ) ประกอบกับเกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการระบายอ่อน/ไม่ดีในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้การสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 ค่อนข้างทรงตัว

ในช่วงระหว่างช่วง 9-16 ม.ค.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุม จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้อากาศอุ่นขึ้น มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกบางในตอนเช้า

วันที่ 10 มกราคม 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และใต้

แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ 11 – 15 มกราคม 2566 จะมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากอากาศที่เปิดมากขึ้นประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังแรงเข้าช่วย

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ในวันนี้ ไม่พบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

แผนการตรวจ 🔎แหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ของกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 10 มกราคม 2566
สถานประกอบการ/โรงงาน 108 แห่ง 18 เขต
สถานที่ก่อสร้างสำนักการโยธา กทม. 20 แห่ง
สถานที่ก่อสร้างเอกชน 35 แห่ง 8 เขต
แพลนท์ปูน 9 แห่ง 5 เขต
ตรวจควันดำรถ (ต้นทาง) 8 แห่ง 2 เขต
จุดตรวจจับรถปล่อยควันดำ 20 จุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'25 จังหวัด' ยังอ่วม! เช็กฝุ่น PM2.5 ทั่วไทย พร้อมคาดการณ์ 7 วันข้างหน้า

ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 19 เมษายน 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้