นายกฯ ประชุม คทช. ติดตามความก้าวหน้า ผลการดำเนินงานจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาที่ดินทำกินให้ประชาชนต่อเนื่อง กำชับขับเคลื่อนต่อไปให้เกิดประโยชน์ เป็นธรรมทุกฝ่าย
16 ม.ค.2566 - เวลา 13.30 น. ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 1/2566 ร่วมกับ โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาที่ดินทำกินให้กับประชาชน โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐบาล คสช. มาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้การดำเนินการมีความก้าวหน้าโดยลำดับ รวมไปถึงการดูแลประชาชนทุกกลุ่มผ่านมาตรการและโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการอื่น ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่ทับซ้อนทั้งในส่วนของรัฐต่อรัฐ และรัฐกับประชาชน ผ่านกลไกคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และขอให้ดำเนินการต่อเนื่องให้ปัญหาได้รับการแก้ไขเกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน รวมถึงให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำถึงการดำเนินงานต่าง ๆ และการใช้จ่ายงบประมาณต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังรอบคอบ ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ และกฎหมาย โดยคำนึงให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและเทศชาติ โดยเฉพาะสิ่งสำคัญในการจัดที่ดินทำกินให้กับประชาชนต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ไร้ที่ทำกินอย่างแท้จริง โดยดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามกฎหมายที่มีอยู่ โปร่งใส ประชาชนยอมรับได้ รวมทั้งขอให้มีการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในการไม่ไปทำเกษตรและปลูกพืชต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ไม่ถูกฎกหมาย แต่ต้องดำเนินการในพื้นที่ที่ถูกกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศในการส่งออกผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรไปยังต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและเห็นชอบในประเด็นสำคัญ ดังนี้ รับทราบผลการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ซึ่งมีความก้าวหน้าโดยลำดับ ได้แก่ (1) กำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้ว 1,491 พื้นที่ 70 จังหวัด 5,792,145 - 1 - 71.75 ไร่ (2) ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 419 พื้นที่ 1,559,549 - 3 - 95.86 ไร่ (3) จัดคนเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว 78,109 ราย 96,536 แปลง ใน 354 พื้นที่ และ (4) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้วใน 271 พื้นที่ 65 จังหวัด
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบต่อผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย (ยกเว้นกรณีแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) และมอบหมายให้ สคทช. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
รวมทั้งเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี (กรณีเร่งด่วน) ดังนี้
(1) เห็นชอบต่อผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กรณีอุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน และให้ สคทช. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
(2) มอบหมายให้คณะอนุกรรมการนโยบายแนวทางและมาตรการการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินรับเรื่องไปพิจารณา กรณีพื้นที่นอกแนวเขตที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. (แต่อยู่ภายในเขตเส้นปรับปรุงปี พ.ศ. 2543) ว่าควรใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมอย่างไร และนำเรื่องเสนอ คทช. พิจารณา ผลเป็นประการใด ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป แล้วแจ้งคณะอนุกรรมการ One Map ทราบและพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
อีกทั้งที่ประชุมเห็นชอบการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง ในพื้นที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทับซ้อนกับวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร โดยให้กรมป่าไม้ เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าพระแท่นดงรัง (บางส่วน) เนื้อที่ประมาณ 193 ไร่ เพื่อให้เป็นอาณาเขตของวัดพระแท่นดงรังฯ และเป็นที่ธรณีสงฆ์ และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 1/2566 พร้อมกล่าวก่อนการประชุมว่า การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนนั้น เราเดินหน้าแก้ไขปัญหามาตั้งแต่รัฐบาล คสช. อย่างต่อเนื่อง จำกันได้ใช่ไหม ก่อนหน้านั้นเราไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลย วันนี้ คทช. กลายเป็นหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบโดยตรงแล้ว ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาตามลำดับ และขออนุญาตกล่าวไปถึงเรื่องอื่นด้วย รัฐบาลนี้ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรกๆ มีความก้าวหน้า ส่วนปัญหาวันนี้ของเราคือการจัดหาที่ดินทำกินให้ประชาชนก็มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เรื่องการทับซ้อนของที่ดินทำกินกับพื้นที่ของส่วนราชการ เช่น ปัญหาที่ดินอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ม็อบครึ่งหมื่นบุกพบ 'นายกฯอิ๊งค์' ค้าน 'พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์' ขีดเส้น 3 เดือน แก้ให้จบ
มวลชนครึ่งหมื่นบุกศาลากลางเชียงใหม่ ขอพบนายกฯ เรียกร้องรัฐบาลทบทวนออก พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์ฯ และเร่งแก้ไขใน 3 เดือน รองนายกฯรุดเจรจา
เอาแล้ว 'ญาติวีรชน' ปลุกปชช.ทวงคืนที่ดินเขากระโดง
“อดุลย์” ปลุกปชช.ทวงคืนที่ดินเขากระโดงของพ่อหลวงร.5ที่พระราชทานให้การรถไฟฯ แฉ ”ชัย ชิดชอบ”เคยลงบันทึกยินยอมขออาศัย แต่มีขบวนการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ศาลสูงสุดมีคำพิพากษาเป็นข้อยุติแล้ว กรมที่ดินต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล เตือน นักการเมือง- ขรก.กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ-ละเมิดอำนาจศาล มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
มท.2 คิ๊กออฟปล่อยคาราวานโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 69 จังหวัด
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณอาคารรังวัดและทำแผนที่ กรมที่ดิน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานฯ
‘สรรเพชญ’ เบรก รบ.อย่าคิดขายชาติ ย้อน ‘พท.’ อย่าถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองซ้ำอีก
นายกรัฐมนตรีที่ได้รับสมญานามว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีความต้องการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสงสัยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือต้องการเอื้อผลประโยชน์ให้กับใครหรือไม่
ชาวใต้เตะโด่ง ประเคนต่างชาติเช่าที่ดินยาว ฟาดคนไทยยังแทบไม่มีจะอยู่
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ เปิดผลสำรวจประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ จี้เศรษฐา หยุดเปิดเช่าอหังสาริมทรัพย์ 99 ปี หวั่นเปิดทางเอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติ – เจ้าของธุรกิจ
'อนุทิน' เผยนายกฯสั่งเร่งแก้กฎหมายให้ต่างด้าวเช่าที่ดินเพิ่มเป็น 99 ปี ยันไม่เอื้อกลุ่มทุน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีการแก้กฎหมายการถือครองอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดของต่างด้าวจากเดิม 49 % เป็น 75% และการเช่าที่ดินขยายจาก 50 ปีเป็น 99 ปี