เก็บข้อมูลไว้ ถูกเลิกจ้างแบบไหน ไม่สามารถรับสิทธิชดเชยหรือเงินทดแทน

AFP

21 ก.พ. 2566 – สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office ได้ออกมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ออกจากงานและอยู่ในสถานะว่างงาน ถูกไล่ออก ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด และไม่ได้มีการกระทำความผิดใดๆ

แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้กระทำความผิด หรือมีเหตุบางข้อที่เข้าข่ายเงื่อนไขทำให้นายจ้างสามารถให้ออกจากงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ประกันตนจะไม่สามารถรับสิทธิชดเชย หรือเงินทดแทนใดๆ ได้ ตามกรณีดังต่อไปนี้

ทุจริตทำผิดกฎหมาย
หากลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง

จงใจทำให้บริษัทฯ เสียหาย
ลูกจ้างทำโดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัท ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

ฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง
การทำงานย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดซ้ำๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว

ไม่มาทำงานติดต่อกัน 7 วัน
ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าติดต่อไม่ได้ต่อเนื่อง 7 วัน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ

ประมาทเลินเล่อ
การกระทําการใดๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือละเลยในสิ่งที่ควรกระทํา ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ติดคุกและต้องโทษคดี
ลูกจ้างที่กระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิให้ออกจากงานได้ทันที และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชยหรือเงินทดแทนต่างๆ ได้

การถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นสิ่งที่หลายๆ คน ไม่อยากให้เกิดขึ้น ยิ่งกรณีที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า อาจยิ่งทำให้ลำบาก ยิ่งการออกโดยมีความผิดติดตัว นอกจากจะเสียโอกาสดีๆแล้ว ยังเสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกัน

"พิพัฒน์" เล่นใหญ่ บุกตลาดล้านเมืองเชียงราย ยกประกันสังคมเอื้อพ่อค้าแม่ค้าเข้าประกันตน ม.40 มอบสิทธิประโยชน์ถ้วนหน้า

วันที่ 18 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

อดีตลูกจ้างปางช้าง 'ฝรั่งเตะหมอ' ร้องถูกเลิกจ้างไม่ได้เงินชดเชย แจงเหตุถอนฟ้องไร้เงินขึ้นศาล

กมธ.แรงงานติดตามกรณีแรงงานปางช้างเดวิด เตรียมเพิกถอนใบอนุญาตทำงานเดวิด ส่วนอดีตลูกจ้างปางช้างเข้าพบขอความช่วยเหลือ

แจ้งผู้ประกันตน โค้งสุดท้ายการเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โฟซโฟซบุ๊กว่า โค้งสุดท้ายการเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี ของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ต้องยื่นเรื่องก่อน 31 มีนาคม 2567 นี้เท่านั้น

เปิดขั้นตอนผู้ประกันตนมาตรา 39 ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตัวเองผ่าน LINE ได้หรือไม่❓