ครม. อนุมัติ 1,190 ล้านบาท เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม ในพื้นที่กทม.และ 15 จังหวัด

ครม.อนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยฤดูฝน 2565 เพิ่มเติม ในพื้นที่ กทม. และ 15 จังหวัด จำนวน 237,048 ครัวเรือน วงเงิน 1,190.46 ล้านบาท

28 ก.พ.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้จ่ายเงิน ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 เพิ่มเติม สำหรับกรณีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2565 - 31 มกราคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 15 จังหวัด (ได้แก่ ชุมพร ตรัง นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และอ่างทอง) ซึ่งต้องไม่เป็นครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2565 ตามมติ ครม. (29 พ.ย. 65) จากการสำรวจเบื้องต้น มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ กทม. และ 15 จังหวัด จำนวน 237,048 ครัวเรือน วงเงิน 1,190.46 ล้านบาท

หลักเกณฑ์การเยียวยาฯ ดังนี้ 24 ชั่วโมง - 7 วัน จำนวน 193,802 ครัวเรือน อัตราจ่าย 5,000 บาท วงเงิน 969.01 ล้านบาท, เกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน จำนวน 40,808 ครัวเรือน อัตราจ่าย 5,000 บาท วงเงิน 204.04 ล้านบาท, เกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน จำนวน 2,265 ครัวเรือน อัตราจ่าย 7,000 บาท วงเงิน 15.86 ล้านบาท, เกินกว่า 60 วัน จำนวน 173 ครัวเรือน อัตราจ่าย 9,000 บาท วงเงิน 1.56 ล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเคยมีมติให้ความช่วยเหลือไว้แล้วแต่ยังคงมีประชาชน ที่ได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และการระบายน้ำ ในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค. 65 - 31 ม.ค. 66 โดยเป็นจังหวัดที่เคยได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. ( 29 พ.ย. 65 ) แต่คนละพื้นที่จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร อ่างทอง ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานีและชุมพร และจังหวัดที่ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กทม. ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง ยะลา และสงขลา จึงได้อนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยฤดูฝน 2565 เพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำรวจ หรือผู้ประสบภัยยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือภายใน 30 วัน และให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับ ธนาคารออมสิน เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรืมีมติอนุมัติด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝนถล่มสัตหีบ แค่ครึ่งชั่วโมง น้ำท่วมขังถนนหลวงชุมชนบางเสร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเขตพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชุมชนตำบลบางเสร่ หลังฝนตกลงมาเพียง 30 นาที ส่งผลให้ช่วงบนถนนสุขุมวิท เส้นทางขาเข้าสัตหีบ

เขื่อนเจ้าพระยา ปรับลดระบายน้ำ ลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วม น้ำทะเลหนุนสูงช่วง 13 ต.ค.นี้

นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณทรงตัว ประกอบกับ แม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี

ทุ่งบางระกำ รับน้ำเหนือจากสุโขทัย เข้าทุ่งกักเก็บแล้ว 143% แม่น้ำยมเพิ่มอีก 30 ซม.

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย.ถึง 8 ต.ค. 2567 มีพื้นที่ได้รับกระทบ จำนวน 304 หมู่บ้านจาก 50 ตำบล ในพื้นที่ 9 อำเภอของจ.พิษณุโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะรับน้ำเหนือผ่านจังหวัดสุโขทัย

“บางจากฯ ชวนปันน้ำใจ ช่วยผู้ประสบภัย มอบน้ำดื่มหนึ่งล้านขวด”

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วย นายเสรี อนุพันธนันท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจการตลาด นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร นายวัฒนา

MEA ห่วงใย แนะนำย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง เพื่อความปลอดภัย พร้อมให้บริการย้ายปลั๊กไฟฟ้า และมิเตอร์ไฟฟ้า

MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง มีความห่วงใยความปลอดภัยประชาชน จากสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำทะเลหนุน และการเร่งระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา แนะนำให้ประชาชนในพื้นที่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ ที่เป็นลักษณะแอ่งกระทะน้ำท่วมบ่อยครั้ง

'ปราโมทย์ ไม้กลัด' ดึงสติคนกทม.-ปริมณฑล ไม่ต้องกังวลปัญหาน้ำท่วม

อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา มาตลอดจนถึงวันนี้ 8 ตุลาคม