หนาว! นักไวรัสวิทยาเตือนเรื่องวิวัฒนาการไวรัสฝีดาษลิง

นักไวรัสวิทยาอธิบายเรื่องไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ชี้เชื้อมีวิวัฒนาการให้ระวังในอนาคตฝีดาษลิงอาจขยับเข้มข้นขึ้นในอนาคตระหว่างคน หากอยู่ในสภาวะเหมาะสม!

29 มี.ค.2566 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ไวรัสหลายชนิดที่ก่อโรคในมนุษย์เป็นไวรัสที่รับเชื้อมาจากสัตว์ตัวกลางโดยตรง โดยไวรัสมักจะก่อโรคในมนุษย์บางชนิดรุนแรงมาก เช่น ไวรัส Marburg, Nipah, Rabies หรือ H5N1 แต่ส่วนใหญ่แล้วไวรัสมักจะหยุดที่คนที่ได้รับเชื้อมา และ ไม่มีการแพร่ต่อจากคนสู่คน ถ้ามีก็จะอยู่ในวงที่จำกัด มีไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่สามารถกระโดดจากสัตว์สู่คนแล้วกลายเป็นไวรัสของคนไปได้ในที่สุด ที่ชัดเจนที่สุดคือ HIV-1 จากลิง และ SARS-CoV-2 จากสัตว์ตัวกลางที่ยังไม่ตกลงว่าเป็นตัวอะไรกันแน่ ภาพนี้จะเห็นว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือ Rabies เป็นโรคที่ติดคนได้ แต่คนที่ติดเชื้อไม่เคยแพร่เชื้อต่อให้คนอื่นได้เลย ส่วนไวรัสอื่นๆก็มีโอกาสติดจากคนสู่คนได้มากน้อยต่างกันตามสีที่แสดงในภาพ

ประเด็นที่สำคัญคือ ไวรัสมีวิวัฒนาการเช่นเดียวกันข้อมูลในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เช่น ไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งยังอยู่กลุ่มสีเหลือง (moderate) อาจเข้มขึ้น แพร่ได้ง่ายขึ้นระหว่างคน จนกลายเป็นโรคของคนได้ในที่สุดเช่นกัน ไวรัสจะเปลี่ยนโฮสต์ได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)