
29 พ.ค. 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (29 พ.ค. 66) : ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง และประเทศกัมพูชา
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 มิ.ย. 66 นี้ไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า : ในช่วงวันที่ 28 – 30 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยลงสู่อ่าวมะตะบัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร









ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมที่จะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย. 66
สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วง (28 – 29 พ.ค. 66): ไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศและใกล้เคียงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 8 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมภาคอีสาน
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง" ฉบับที่ 8 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศลาว ขณะที่ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่
'นครพนม' ดีเปรสชั่นมาตามนัด ระดมเดินเครื่องสูบน้ำรับมือ ผันลงน้ำโขงกันท่วมเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดนครพนม รวม 12 อำเภอ
กรมอุตุฯ เตือนทั่วทุกภาค รับมือฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 พายุดีเปรสชัน ขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ เตือนพื้นที่เจอฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 4 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (25 ก.ย. 66) พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 15.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมต
พยากรณ์ฝน 10 วันล่วงหน้า 25 ก.ย. - 4 ต.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 ก.ย. - 4 ต.ค.66 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ตอนกลาง
นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง" ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 26 - 29 กันยายน 2566) โดยมีใจความว่า