กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับที่ 9 เปิดรายชื่อจังหวัดโดยฝนถล่มตั้งแต่ 31 ส.ค.ถึง 3 ก.ย.

อธิบดีกรมอุตุฯ ออกประกาศเตือรฉบับที่ 9 เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมาก ระบุเป็นรายภาคและรายจังหวัดที่จะเจอฝนถล่มหนัก กทม.และปริมณฑลติดบ่วงตั้งแต่ 31 ส.ค.ยาวถึง 3 ก.ย.

31 ส.ค.2566 – น.ส.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 9 (234/2566) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 กันยายน 2566) ระบุว่า

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 31 สิงหาคม 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, น่าน, แพร่, อุตรดิตถ์, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, พิษณุโลก, พิจิตร, และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, อำนาจเจริญ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, นครปฐม, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, และตราด

ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, และกระบี่

วันที่ 1 กันยายน 2566
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, พิษณุโลก, พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และสตูล

วันที่ 2-3 กันยายน 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, พิษณุโลก, พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ, ขอนแก่น, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ออกประกาศ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วง 8-11 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8 – 11 เมษายน 2567)

กรมอุตุฯ เตือนรับมือพายุฤดูร้อน ฝนแรกเดือนเมษายน หนักแน่!

กรมอุตุนิยม อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3-12 เม.ย. 67 init. 2024040212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ช่วง 3-8 เม.ย.67 จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน

กรมอุตุฯ เผยสาเหตุเกิด 'พายุฤดูร้อน' ถล่มอีสาน เตือน 42 จังหวัดระวังฝนตกใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) บริเวณภาคอีสาน (จ.เลย อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย ร้อยเอ็ด นครราชสีมา) เมื่อวานที่ผ่านมา (28/3/67)

กรมอุตุฯ เตือน 47 จังหวัด ระวังอันตรายฝนฟ้าคะนองใน 24 ชม.ข้างหน้า เมฆล้อม กทม.แล้ว

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว

กรมอุตุฯ เผยอากาศกลับมาร้อนอีกครั้ง ก่อนจะมีฝนเพิ่มขึ้น 27-31 มี.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 22-31 มี.ค. 67 init. 2024032112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)