เฝ้าระวัง! ภาคกลาง 7 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา เสี่ยงน้ำท่วมหลายพื้นที่

17 – 21 ก.ย.ชลประทาน 12 เตือน 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงเกิดอุทกภัยหลายพื้นที่

17 ก.ย.2566 –  นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท  ออกหนังสือแจ้งสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 1/2566 ลงวันที่ 16 กันยายน 2566 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี  ให้เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 1 – 1.5 เมตร

เนื่องจาก ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝน คาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีความเสี่ยงอุทกภัย ในช่วงวันที่ 17-21 กันยายน 2566   ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณเพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลวันที่ 17 กันยายน 2566  ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2 จังหวัดนครสวรรค์ วัดได้ 665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำเก็บกัก เหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ยกตัวสูงขึ้น อยู่ที่ระดับ +16.50 เมตร(ระดับน้ำทะเลปานกลาง) และคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 300-500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำ มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ถึงบริเวณ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร แต่ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวยังคงอยู่ในตลิ่งลำน้ำ

อย่างไรก็ตาม สำนักงานชลประทานที่ 12 จะควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ด้วยการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมิให้มีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร หากมีปริมาณน้ำหลากเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลกระทบให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป.



เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเดินหน้ารับมือภัยแล้ง หลังพบ 4 แห่ง ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยขณะนี้ มีปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ 46,027 ล้านลูกบาศก์

“พิพัฒน์” ห่วงใยแรงงาน ส่งหน่วยงานในสังกัดเข้าช่วยลูกจ้างน้ำท่วมศรีราชา ขอความร่วมมือนายจ้างไม่ถือเป็นวันลา ได้ค่าจ้างปกติ

วันที่ 21 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณี สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีว่า ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในเขตพื้นที่ อ.ศรีราชา

'ดร.เสรี' ชี้น้ำท่วมใหญ่ของจริงยังไม่มา ยกเหตุชลบุรีจมบาดาล อนาคตจะรุนแรงมากกว่านี้

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #น้ำท่วมใหญ่ของจริงยังไม่มา ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลง

กรมอุตุฯ เตือน 46 จังหวัด ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้

พายุฤดูร้อนพ่นพิษ! ชลบุรีจมบาดาล ฝนตกหนักน้ำท่วมถนนหลายสาย การจราจรเป็นอัมพาต

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า วันนี้ เวลา 16.05 น. สวนเสือ-หนองค้อ รถเล็กไม่ควรผ่าน ระดับน้ำท่วมสูงมาก ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ทำให้สายแรงสูงขาดหลายจุด หลายที่ ไฟดับบริเวณกว้าง พื้นที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี

ฝนถล่มหนัก สัตหีบจมบาดาล บ้านเรือน-ถนนสุขุมวิทระบายน้ำไม่ทันท่วมขังสูง

ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ ได้เกิดเหตุฝนตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง ทั่วพื้นที่ในเขต อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ส่งผลให้บ้านเรืยนประชาชน พื้นที่ผิวจราจร ช่วงบนถนนสุขุมวิท และตามซอกซอย ในหลายจุดต่างได้รับความเดือดร้อนถูกน้ำท่วมขัง