‘ทิพานัน’ แนะปชช.-สถานประกอบการ ตรวจ ‘หมอปลอม’ ผ่านเว็บแพทยสภา ก่อนตกเป็นเหยื่อ

‘ทิพานัน’ เชิญชวนประชาชน-เจ้าของสถานประกอบการร่วมกันตรวจสอบ “หมอปลอม” ผ่านเว็บไซต์แพทยสภา เช็คง่ายรู้ทันที ชี้มีกฎหมายควบคุมโทษถึงจำคุก  หวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

20 ธ.ค.2564-น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่หมอปลอมใช้เอกสารใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์หญิงท่านหนึ่งที่อยู่ต่างประเทศมาสมัครเป็นแพทย์ของคลินิกของ น.ส.พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือพิมรี่พายว่า ปัจจุบันพบมิจฉาชีพมีกลอุบายในการหลอกลวงพี่น้องประชาชนในหลายรูปแบบ การสวมรอยเป็นบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีทั้งหลอกลวงให้บริการประชาชน หลอกเพื่อขายสินค้า  ทำให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อต้องสูญเสียทรัพย์สินและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เสียโฉม และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  ประกอบกับการเข้าถึงช่องทางต่างๆ ในโลกโซเชียลของมิจฉาชีพเหล่านี้ ทำให้เข้าถึงเหยื่อได้ง่ายขึ้น

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า กรณีที่เป็นข่าวนี้อยู่ในขณะนี้ผู้แอบอ้างเข้าข่ายการกระทำความผิดในหลายข้อหาด้วยกัน กล่าวคือ พ.ร.บ. ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2525 มาตรา 26 ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท และ พ.ร.บ. ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2525 มาตรา 28 แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท และยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นผู้อื่น ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 100,000 บาท อีกด้วย ซึ่งสำหรับคลินิกเองก็ควรมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล 2541 มาตรา 34 (1) ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต้องควบคุมและดูแลไม่ให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“ขอเชิญชวนประชาชนและเจ้าของสถานประกอบการร่วมกันตรวจสอบแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ โดยสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ รู้ผลทันที กับทางแพทยสภาผ่านช่องทางเว็บไซต์ https//checkmd.tmc.or.th  เพื่อปกป้องตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน จากบรรดามิจฉาชีพเหล่านี้ โดยเฉพาะกรณีคลินิกศัลยกรรมความงาม ผู้ที่มีความประสงค์จะเสริมความงาม ควรตรวจสอบข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ต และข่าวสารเกี่ยวกับการศัลยกรรมความงามก่อน  ตัดสินใจเลือกใช้บริการ โดยใช้โอกาสจากการให้คำปรึกษาฟรีของคลินิก ในการประเมินความสามารถของศัลยแพทย์ และพนักงาน รวมถึงประเมินมาตรฐานต่างๆ ในการให้บริการของคลินิก โดยต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ใบอนุญาตประกอบกิจการ มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจสอบคลื่นหัวใจ และอุปกรณ์กู้ชีพ ประเมินความสะอาด ถูกต้องตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541และพูดคุยกับแพทย์อย่างละเอียดก่อนจะยินยอมให้ทำการศัลยกรรม”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

MEA ตอกย้ำความมั่นใจใช้แอปฯ MEA Smart Life ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

นายคมกริช สาคริก ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า MEA ยืนยันความั่นใจแนะนำผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการได้แก่

'ทิพานัน' ชูผลงาน 'พล.อ.ประยุทธ์' ดูแลเอสเอ็มอีสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 2แสนล้าน

“ทิพานัน” ชูผลงาน “พล.อ.ประยุทธ์”อุ้มเอสเอ็มอีเครื่องจักรสำคัญบูมเศรษฐกิจไทย ต่ออายุโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 10 เป็นระยะเวลา 2 ปี สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 2แสนล้าน รักษาการจ้างงาน 7 แสนราย

'ชาคริต-แอน' เจอมิจฉาชีพทำเสียหาย 100 ล้าน ผู้เสียหายบุกถึงสวน-ยืนด่าหน้าบูธ!

พระเอกรุ่นใหญ่ ชาคริต แย้มนาม ที่วันนี้ควงภรรยาสาวคนสวย แอน ภัททิรา และลูกชายวัย 5 ขวบ น้องโพธิ์ มาเคลียร์ใจหลังเจอมิจฉาชีพปลอมเพจขายทุเรียน สร้างความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท ผ่านทางรายการ คุยแซ่บshow ทางช่องOne31 ที่มี ชมพู่ ก่อนบ่าย, อาจารย์เป็นหนึ่ง และธัญญ่า ธัญญาเรศ เป็นพิธีกรดำเนินรายการ

'ต๋อง ศิษย์ฉ่อย' เตือนภัยออนไลน์ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกสูญ 3.2 ล้าน

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

MEA เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างหลอกลวงประชาชน

นายคมกริช สาคริก ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า ตามที่มีประชาชนได้รับข้อความแอบอ้างหน่วยงาน MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง