ผลสำรวจพบ 'แรงงานไทย' ยังสนใจกลับไปทำงานที่อิสราเอล

หลังสถานการณ์การสู้รบคลี่คลาย อิสราเอลเตรียมนำเข้าแรงงานเก่า-ใหม่ นครพนมพบคนขายแรงงาน วิกฤตจากผลกระทบด้านจิตใจ 9 รายแพทย์ดูแลใกล้ชิด

17 ธ.ค. 2566 -ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นางออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือถึงโอกาสในการจัดส่งแรงงานไทย กลับไปทำงานในประเทศอิสราเอล ภายหลังสถานการณ์ความไม่สงบคลี่คลายลง ซึ่งผลการหารือมีแนวโน้มว่า หากสถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว คาดว่าแรงงานไทยกลุ่มเดิมที่เดินทางกลับประเทศไทย ในช่วงเกิดการสู้รบกับกลุ่มฮามาส เมื่อต้นเดือนตุลาคม 66 ที่ยังประสงค์จะเดินทางไปทำงานในอิสราเอล

ทั้งนี้ ทาง รมว.แรงงาน ได้ขอให้สถานทูตฯอำนวยความสะดวก ด้วยการประสานการจัดสรรตำแหน่ง รวมทั้งคุ้มครองสวัสดิการให้แก่แรงงานกลุ่มนี้ด้วย และนำไปสู่ความร่วมมือในการจัดส่งแรงงานไทยกลับไปยังอิสราเอล หลังสถานการณ์คลี่คลาย โดยกระทรวงแรงงานพร้อมที่จะจัดส่งนักรบแรงงาน ทั้งคนเก่าและคนใหม่ ไปทำงานภาคการเกษตรหรือภาคอื่นๆ ในเวลาที่เหมาะสม โดยต้องมีการลงนาม MOU ในข้อตกลงต่างๆให้แล้วเสร็จ ก่อนจะส่งแรงงานไปทำงานที่อิสราเอล ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า อิสราเอลดูแลแรงงานไทยเสมือนคนในประเทศ และดูแลแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ให้ได้รับเงินชดเชยแก่ครอบครัว และทายาทผู้เสียชีวิตทุกราย

ด้าน จังหวัดนครพนม ซึ่งมีประชาชนเดินทางไปขายแรงงานในประเทศต่างๆ กว่า 2,000 คน ในส่วนของอิสราเอลพบผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 579 คน ในจำนวนดังกล่าวมีเสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 1 และถูกจับไปเป็นตัวประกัน 5 คน แต่ได้รับการปล่อยตัวมาหมดแล้ว โดยมีข้อมูลว่า อ.เรณูนคร มีแรงงานไปอยู่ที่อิสราเอลมากสุดคือ 186 คน รองลงมาเป็น อ.นาหว้า 62 คน และ อ.โพนสวรรค์ 57 คนตามลำดับ

ด้านการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ มีกลุ่มเสี่ยงจากผลกระทบ 31 ราย มีจำนวน 9 รายอยู่ในภาวะวิกฤต และมี 6 รายที่ต้องรักษาด้วยยา ส่วนอีก 548 รายถือเป็นกลุ่มปกติ ซึ่งในอนาคตหากสถานการณ์คลี่คลาย กลุ่มเสี่ยงทั้ง 31 ราย หากต้องการเดินทางกลับไปทำงาน ต้องได้รับผลการประเมินภาวะจิตใจจากแพทย์ก่อน

ทั้งนี้ มีข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน พบว่ากว่า 90 % มีความต้องการกลับไปทำงานที่อิสราเอลอีกครั้ง เนื่องจากได้ค่าตอบแทนที่สูง และทำงานเป็นรายชั่วโมง แม้จะทราบดีว่าเป็นจำพวกงานไร้ฝีมือ ทั้งสกปรก อันตราย และเป็นงานหนัก ซึ่งชาวอิสราเอลไม่ทำกัน โดยทางการอิสราเอลอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างชาติใน 4 ประเภทกิจการเท่านั้น คือ 1.งานเกษตร 2.การก่อสร้าง 3.งานบริการ (ดูแลคนชราและผู้พิการ) และ 4.ภาคอุตสาหกรรมบริการ และร้านอาหาร

สำหรับอัตราค่าจ้างแรงงานไทยในอิสราเอล รมว.กระทรวงแรงงานอิสราเอล ได้ลงนามหนังสือขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 5,571.75 เชคเกล หรือชั่วโมงละ 30.61 เชคเกล (1 เชคเกล=9 บาทไทย) สำหรับการทำงานเดือนละ 182 ชั่วโมง เมื่อคิดเป็นเงินไทยคนงานจะได้เงินส่งกลับบ้าน ตกเดือนละประมาณ 51,354.99 บาท แต่ก็มีแรงงานไทยจำนวนไม่น้อยที่ได้เงินเดือนเกือบ 100,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่ที่นายจ้างไว้ใจมอบหมายงานให้ทำ อิสราเอลจึงเป็นประเทศคนไทยต้องการไปขุดทองมากที่สุด รองลงมาเป็นประเทศเกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ร่วมผู้นำ 17 ประเทศ แถลงเรียกร้องปล่อยตัวประกันในกาซา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "วันนี้ ผมร่วมกับผู้นำ 17 ประเทศที่มีตัวประกันที่ยังอยู่ในกาซา ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวประกันทั้งหมด

'พิพัฒน์' เริ่มแล้ว สางปัญหา กองทุนประกันสังคม เยือนญี่ปุ่น หาข้อมูล 3 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หวังเพิ่มผลกำไร จาก 2.4% เป็น 5% หรือ 1.2 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้ถึงจุดล้มละลาย ในปี พ.ศ.2597 ย้ำฝ่ายวิเคราะห์ กองทุนประกันสังคม ต้องศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมขีดเส้น ต้องมีความน่าเชื่อถือ ระดับ Triple B

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงการเดินทางไปราชการที่ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 5-13 เมษายนที่ผ่านมา ว่า ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้ไปเข้าพบและศึกษาดูงาน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของประเทศญี่ปุ่น 3 แห่ง

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

จบทริปเยือนเกาหลีใต้ ได้สวย ! "พิพัฒน์" หารือ รมว.แรงงานเกาหลี เพิ่มโควตารัฐจัดส่งแรงงานอีก 15%

วันที่ 14 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน และนายสมาสภ์

ประสบผลสำเร็จ ! พิพัฒน์ เยือนเกาหลี เจรจา 5 เอกชนยักษ์ใหญ่อู่ต่อเรือ เพิ่มการจ้างแรงงาน ทันที 3 พันคน

วันที่ 13 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้แทนสมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย และสมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ