นักวิชาการชี้โครงการ 'ผันน้ำยวม' มูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกม. สร้างหนี้รัฐมหาศาล ไม่คุ้มค่า

นักวิชาการชี้โครงการผันน้ำยวมมูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกฎหมาย-สร้างหนี้รัฐอีกมหาศาล-ไม่คุ้มค่า จวก สผ.ปล่อยผ่านอีไอเอทั้งที่การศึกษาความเป็นไปได้ไม่ผ่าน ชาวบ้านรุมสับแหลกกรมชลประทานบิดข้อมูล เตรียมตั้งคณะทำงานศึกษาใหม่ทบทวน 3 ประเด็น

19 ธ.ค.2566 - ที่ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม โดยมี ดร.ศิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วยด้วยนายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำ (สทนช.) บริษัทที่ปรึกษา นักวิชการ ผู้เชี่ยวชาญ และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจาก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

ทั้งนี้การประชุมได้ข้อสรุปว่า จะมีการตั้งคณะทำงาน 3 ชุด คือ 1. ทบทวนตรวจสอบข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูลในอีไอเอ 2. ทบทวนความจำเป็นทางวิศวกรรม และ 3. ทบทวนความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเสนอให้กรมชลฯ ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชะลอการพิจารณาทั้งหมดไปก่อน เพื่อรอผลการพิจารณาของทั้ง 3 ด้าน

ช่วงแรกของการประชุมนายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอข้อมูลและความจำเป็นของโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล โดยอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลจุน้ำ 13,000 ล้านลบ.ม. ใช้งานตั้งแต่ พศ. 2507 จนปัจจุบันเคยเก็บน้ำถึง 7,000 ล้านลบ.ม. เพียง 12 ปี ยังมีช่องว่างในการกักเก็บน้ำอีก 4,000 ล้าน ลบ.ม. น้ำท่าที่ไหลลงประเทศเพื่อนบ้าน แม่น้ำยวม ไหลออกไปแม่น้ำเมยเมย ลงแม่น้ำสาละวิน ปีละ 2,800 ล้านลบ.ม ในฤดูฝน กรมชลประทานได้ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว มีโครงการเขื่อนแม่น้ำยวม สูง 69.5 เมตร. อุโมงค์ส่งน้ำความยาว 63.46 กม. เพื่อผันน้ำลงเขื่อนภูมิพล กรมชลประทานได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้พิจารณาเมื่อตุลาคม 2561 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณารายงาน 4 ครั้ง เห็นชอบเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 และเสนอให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป โดยต้องเข้าคณะรัฐมนตรี

“การศึกษาการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เพราะโครงการต้องลงทุนสูงถึง 7 หมื่นล้าน จึงพยายามหาทางออก คือ 1 ตั้งงบประมาณตาม พรบ. ซึ่งเพดานสูง 2 กู้เงิน 3 หาแหล่งเงินทุนให้เอกชนลงทุนก่อนแล้วจ่ายดอกเบี้ย ตาม พรบ.ร่วมทุน ซึ่งได้เสนอไปที่คณะกรรมการพิจารณา ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)”รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

ขณะที่ตัวแทนบริษัทที่ปรึกษานำเสนอการศึกษาร่วมทุนรัฐและเอกชน PPP กล่าวว่ามีการศึกษาคือ 1 กรมชลประทานดำเนินการรูปแบบปกติ 2 เอกชนร่วมทุนตามพรบ. เพื่อลดภาระการกู้เงินของรัฐ และทบทวนราคาโครงการเนื่องจากเอกชนจะมีดอกเบี้ยและกำไรด้วย รูปแบบการหารายได้ การเสริมความมั่นคงของลุ่มน้ำเจ้าพระยา การประปานครหลวงและการประปาภูมิภาคก็ต้องจ่ายค่าน้ำด้วยเพื่อลดค่าใช้จ่าย เอกชนเป็นผู้ลงทุนรัฐเป็นผู้ผ่อนจ่าย มีการติดตั้งรับบ smart grid ให้ใช่น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในสไลด์นำเสนอในที่ประชุมระบุว่าค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนโครงการ PPP และต้นทุนเฉลี่ยค่าผันน้ำ กรณีที่ 1 กรมชลประทานดำเนินงานทั้งหมดในรูปแบบปกติ รวมค่าใช้จ่าย 172,220 บาท กรณีที่ 2 เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ Gross Cost PPP รวมค่าใช้จ่าย 242,151 บาท กรณีที่ 3 เอกชนจัดหาแหล่งเงินทุนและลงทุนก่อสร้าง รัฐดำเนินงานผันน้ำและบำรุงรักษา รวมค่าใช้จ่าย 203,642 ล้านบาท

ตัวแทนที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานอีไอเอนำเสนอข้อมูลว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมี 2 ลักษณะ คือมหาวิทยาลัยนเรศวรไปพบประชาชนแต่ละหมู่บ้าน มีครูกศน. อาสาสมัครชุมชน เริ่มจากการเตรียมโครงการ พบผู้นำในพื้นที่เพื่อเตรียม ต่อมาประชุมปฐมนิเทศ ประชุมย่อย และสัมมนาโครงการ 5 ปี 2559-2564 จนอีไอเอผ่าน มีมวลชนสัมพันธ์เข้าไปพบกับผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องชดเชยทรัพย์สิน เชิญผู้เข้าร่วม 7 กลุ่มตามกำหนดของสผ. มีการประชุมใหญ่มากกว่า 100 คน และการประชุมย่อย ทุกครั้งสอบถามเรื่องภาษาว่าต้องการล่ามหรือไม่ ในการประชุมใหญ่มีล่ามอธิบายผลการศึกษาแปลให้ ผู้ที่พูดไทยไม่คล่องก็มีล่ามแปลให้

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ อนุกรรมการฯ กล่าวว่าในรายงานอีไอเอที่เปิดเผย พบว่าเป็นการกั้นเขื่อนแล้วสูบน้ำทางท้ายเขื่อนไปเข้าอุโมงค์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนและไม่น่าจะเหมาะสมทางวิศวกรรม ไม่มีการอธิบายปริมาณน้ำในแม่น้ำยวม ไม่มีปริมาณน้ำรายวัน มีเพียงปริมาณน้ำเดิมที่ข้อมูลต่างไปแล้วเนื่องจากการใช้น้ำและที่ดินตลอดลุ่มน้ำยวมต่างไปจากเดิมแล้ว การลงทุนด้วยเอกชน หากปริมาณน้ำสูบได้น้อยกว่า 1,835 ล้านลบ.ม/ปี ถือว่าขาดทุน เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากันทุกปี

ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี นักวิชาการคณะเศรษฐศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าความคุ้มค่าของการลงทุนในทางเศรษฐศาสตร์ ควรตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนข้อมูลทั้งหมด เพื่อพิจารณาความคุ้มค่า ในทางวิศวกรรมว่าเป็นไปได้ แต่ความคุ้มทุนนั้นต้องพิจารณา หากดูการศึกษาร่วมทุนรัฐและเอกชน PPP ต้องดูข้อกฎหมายเนื่องจากเสี่ยงผิดกฎหมายเยอะมาก เราเอาโครงการที่การศึกษาความเป็นไปได้ (FS) ไม่ผ่านแต่ผ่านอีเอ การบริหารเงิน 3 แนว รัฐจะปฏิเสธหนี้ไม่ได้ เพดานหนี้แม้ประเทศไทยจะขยายเพดานได้เรื่อยๆ ก็ตาม

ผศ.ดร.ประชา กล่าวว่า ตนเห็นว่าผู้ที่จะอนุมัติโครงการลักษณะนี้เหนื่อย กรมชลประทานต้องตอบให้ดีเพราะภาระหนี้สูงแน่ กรมชลประทานไม่เคยตอบให้พี่น้องชาวนาว่าจะเก็บค่าน้ำอย่างไร โครงการนี้โจทย์ผิดตั้งแต่ต้น บอกว่าสำรองน้ำทำนาปรังผลผลิตคือข้าว หากมองทั้งระบบข้าวปัจจุบันเราผลิตเพื่ออุดหนุนเพื่อให้ต่างชาติบริโภคข้าวโดยรัฐอุดหนุนปีละเป็นแสนล้าน เราอุดหนุนการผลิต การตลาด แต่ผู้รับประโยชน์คือห่วงโซ่เต็มไปหมด ต้องดูเป้าหมายว่าทำนาปรังเราต้องการน้ำหรือไม่ แล้วน้ำในพื้นที่เพียงพอหรือไม่อย่างไร คนไทยกินข้าวเท่านี้พอแล้ว เราผลิตข้าวเกิน 2 เท่า ทุกคนในกระทรวงเกษตรต่างทราบปัญหานี้ โครงการนี้ติดข้อกฎหมายเยอะใครอนุมัติต้องคิดมาก

“เราสามารถตีไปที่ สผ. ว่าการศึกษา FS แบบนี้ผ่านมาได้อย่างไร ทางเศรษฐศาตร์ ต้องกลับไปถามสผ. เราควรทำให้รอบคอบที่สุด งบประมาณแรกเริ่ม 7 หมื่นล้าน แต่ดูตัวเลขตอนนี้เกินไปมากแล้ว ทั้ง 3 ทางเลือกมีปัญหาหมดเพราะในวันที่จะทำโครงการจริงๆ ตัวเลขเปลี่ยนไปหมดแล้วจะกลายเป็นต้องหาเงินมาโปะ หากดูทางเลือกร่วมทุนกับเอกชนจะเห็นว่าภาระหนี้สูงมาก การคิดรายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้ามาแต่ไม่คิดต้นทุน เป็นการคิดที่ไม่ดีนัก ผิดฝาผิดตัว แค่ตอนนี้งบก่อสร้างก็เพิ่มขึ้นมาถึง 10,000 ล้านบาทแล้ว หากหาทางออกสร้างสรรค์คือพิจารณาตัวเลข ซึ่งสคร.คงมีคำตอบ เพราะภารกิจนี้เป็นภารกิจของกรมชลประทานใช่หรือไม่ หากไม่ใช่แล้วโครงการนี้ยังมีประโยชน์ใช่หรือไม่ การประชุมครั้งนี้เราต้องการจุดตั้งต้นที่ถูกต้อง เพื่อให้เป็นโครงการที่มีประโยชน์จริงๆ” อาจารย์เศรษฐศาสตร์กล่าว

ศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร นักวิชการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าการเสนอการร่วมทุนกับเอกชน PPP โดยกรมชลประทานน่าจะเป็นการเริ่มต้นผิด การร่วมรัฐเอกชนคืออะไร เอกชนต้องมีผลตอบแทน ใช่ภารกิจของกรมชลประทานหรือไม่ วิเคราะห์ว่าการเก็บค่าน้ำใช่หรือไม่ สคร. มีอำนาจอนุมัติแล้วถูกต้องหรือไม่ ไม่ใช่ว่าหน่วยงานรัฐเป็นผู้เสนอ จะเอาเผือกร้อนมาเข้าตัวเองทำไม หากมีการศึกษาวิเคราะห์โครงการผ่าน ก็ควรตั้งพรบ.ปกติ ตั้งงบประจำปี

ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร นักวิชาการศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าได้ศึกษาที่หมู่บ้านแม่เงา อ.สบเมย ซึ่งจะเป็นสถานีสูบน้ำ และบ้านแม่งูด อ.ฮอด ที่ปลายอุโมงค์ ตลอดเส้นทางอุโมงค์เป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เป็นภูเขาสลับซับซ้อน หากโครงการสร้างข้างล่างคืออุโมงค์ส่งน้ำ และข้างบนคือสายส่งไฟฟ้า ชาวบ้านถามว่าความปลอดภัยจะอยู่ตรงไหน การศึกษามีระเบียบวิธีวิจัยร่วมกันกับนักวิชาการและประชาชนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบ รายงานอีไอเอไม่ได้ระบุการรักษาป่าของชาวบ้าน ชาวบ้านแม่เงามีรายได้ 15,405.71 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน 33% มาจากผลผลิตจากป่า ชาวบ้านแม่งูดมีรายได้ 11,758.5 บาท แทบทั้งหมดมากจากสวนลำไย และการพึ่งพิงทรัพยากร การศึกษาอีไอเอขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงได้กล่าวให้ข้อมูลของชุมชนซึ่งพึ่งพาอยู่กับป่าไม้และธรรมชาติ หากโครงการนี้สำเร็จจะได้รับผลกระทบมากมาย โดยชาวบ้านได้ร่วมกันคัดค้านมาโดยตลอด แต่กรมชลประทานไม่ได้ให้ความใส่ใจ แม้กระทั่งข้อมูลในอีไอเอก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ แถมยังมีการแอบอ้างว่าไปพบตัวแทนชาวบ้านและนำมาใส่ในอีไอเอทั้งๆที่ชาวบ้านไม่รับรู้มาก่อน และไม่ได้มีการขออนุญาตใดๆในการนำภาพชาวบ้านมาลงในรายงาน

“พวกเรารู้สึกอัดอั้นใจมาหลายปี ดีใจได้มาพูดในวันนี้ อีไอเอที่จัดทำขัดกับความรู้สึกของชาวบ้าน เพราะเราไม่ได้มีส่วนร่วม การทำอีไอเอบอกว่าประวัติศาสตร์พระธาตุแม่เงาสร้างใหม่เพียงสิบกว่าปี ข้อนี้ก็ผิดแล้ว พ่อผมเกิดมาก็บอกว่ามีพระธาตุอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ พ่อผมเกิดราว 100 ปีแล้ว อีไอเอบอกว่าไม่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ แต่ชาวบ้านพบของโบราณ มีดและเครื่องใช้โบราณ ผมไม่รู้เรื่องวิศวะหรือเศรษฐศาสตร์ แต่รู้ว่าแนวส่งอุโมงค์มีลำห้วยสาขาระบุว่าไม่มีน้ำตลอดปีจึงไม่ได้ศึกษา หากเป็นเช่นนั้นชาวบ้านจะเอาน้ำที่ไหนกิน เจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาจะมีผลกระทบอย่างไร ระบบนิเวศแม่น้ำยวม แม่น้ำเงา ไม่เหมือนที่อื่นแต่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่บ้านท่าเรือลงไปถึงแม่น้ำเมย มีกองหินสองฝั่งน้ำไปถึงจุดหัวงานเขื่อน กรมชลได้ศึกษาหรือไม่ว่าธรณีวิทยาบริเวณนั้นรอบคอบแล้วหรือยัง อีไอเอบางทีมาขอถ่ายรูปกับชาวบ้านแล้วเอาไปลงว่ามาประชุม”นายสิงห์คาร ชาวบ้านแม่เงา กล่าว

นายวันไชย ศรีนวน ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด กล่าวว่าชาวบ้านแม่งูดได้รับผลกระทบตรงๆ ที่ระบุว่าอีไอเอมีล่ามภาษาขอบอกว่าผิด การมีส่วนร่วมของประชาชนไม่จริง มีแต่มาเที่ยวหาผู้นำ ขอบอกเลยว่าอีไอเอนี่มั่ว โครงการนี้งบแสนๆ ล้าน จะมามั่วๆ ไม่ได้ บอกว่ารับฟังความคิดเห็นมีแต่ผู้นำที่ไป ตนไปร่วมพบว่าไม่มีเวลาให้ถามหรือแสดงความคิดเห็น การจัดประชุม PPP เรายังไม่รู้เรื่องเลยว่าคืออะไร แต่มาบอกว่าจะพากรมชลประทานไปลงพื้นที่ บอกเลยว่าแบบนี้ไม่จริงใจเลย

นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิแม่น้ำนานาชาติ กล่าวว่าที่ผ่านมาประชาชนได้มีการติดตาม มีปัญหาเรืองการรับฟังและการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบ มีการทำหนังสือส่งไปยังกรมชลประทานและหน่วยงาน แต่ไม่มีการตอบรับอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่วนอีไอเอ อ้างว่ามีผลกระทบเพียง 29 ราย ไม่เป็นความจริง มาตรฐานของการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องถูกทบทวน ทำอย่างไรโครงการแสนล้านจะต้องอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงและตรวจสอบได้

นายสะท้าน ชีววิชัยพงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม เงา เมย สาละวิน กล่าวว่าโครงการผันน้ำยวม ในอีไอเอจะมีรูปของตน คนทำอีไอเอประสานปี 2559 โทรมาประสาน แต่ตนไม่ว่าง สุดท้ายอยากเจออยากคุยจึงได้มีการมาพบกันที่ร้านลาบ ที่อ.แม่สะเรียง เป็นลักษณะการทำความรู้จักว่าเป็นใครมาจากไหน แต่เป็นการคุยเรื่องทั่วๆ แต่กลับเอารูปไปใช้ในรายงานอีไอเอ อยากถามว่าการทำงานระดับอาจารย์เป็นราชการ ทำเช่นนี้ได้ด้วยหรือ โดยอ้างว่ามีการปรึกษาหารือแล้ว เข้าใจว่าการศึกษาต้องทำจากข้อเท็จจริงและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย หากเป็นเช่นนี้ก็บิดเบี้ยว เราทำงานมนุษยธรรมเรื่องสาละวิน ไม่ใช่เรื่องนี้ แต่มีภาพปรากฏในรายงานอีไอเอ สงสัยว่าจะทำงานกับพี่น้องชายขอบและชาติพันธุ์จะทำอะไรก็ได้หรือ ทุกครั้งที่จะมีการพิจารณาเรื่องผันน้ำยวมก็ทำหนังสือทักท้วงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครฟัง

“โครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ผ่านป่ารอยต่อ 3 จังหวัดที่เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแม่เงา ภาพที่เอามาใส่ก็ไม่เกี่ยวข้อง ชาวบ้านขอคัดสำเนาอีไอเอ ต้องจ่ายเงินให้ สผ. หมดไป2หมื่นกว่าบาท มีถมดำด้วย นี่หรือความจริงใจกับพี่น้องประชาชน ทำให้ผมเสียหายจากการที่เอาภาพเราไปลงในรายงาน ขอให้ยกเลิกโครงการเพราะไม่คุ้ม จาก 7 หมื่นล้าน ตอนนี้ไปเป็นแสนล้าน” นายสะท้านกล่าว

นางสาวดาวพระศุกร์ กล่าว่าตนเพียงขับรถผ่านแล้วถูกเรียกเพราะเขาเอาของมาแจกแล้วถ่ายรูปไป แต่กลับถูกนำไปใช้ในรายงานอีไอเอ โดยไม่มีการให้ข้อมูลอธิบายข้อมูลใดให้ ทำให้เสียหาย

นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนกล่าวว่า การทำรายงานอีไอเอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการทำข้อมูลเท็จว่าจะดำเนินการอย่างไร สถานะโครงการในปัจจุบันเป็นอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงเกษตรฯ ชวน ปชช.ลงทะเบียนรับเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน 26 พันธุ์ข้าว

'เกณิกา' เผย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชวน ปชช.ลงทะเบียนรับเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน 26 พันธุ์ข้าว วันนี้ - 25 เม.ย.นี้

'ไชยา' ลั่นปรับครม.กี่ครั้งก็ตาม ก.เกษตรฯต้องอยู่กับเพื่อไทย

นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังมีรายชื่อถูกปรับออก ว่าตนทราบตามข่าว ไม่ได้หวั่นไหวอะไร และ 7 เดือนที่ผ่านมา ทำหน้าที่ในกรอบในข้อจำกัดของงบประมาณ ถ้าหากเป็นไปตามนโยบายของผู้ใหญ่ตนก็ไม่ขัดข้อง ก็แล้วแต่

รัฐบาลขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย สู่การเป็นศูนย์กลางฯผ่าน 9 นโยบายสำคัญ

โฆษกรัฐบาลเผยรัฐบาลขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก ผ่าน 9 นโยบายสำคัญ พร้อมเดินหน้ายกระดับเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร 3 เท่า ใน 4 ปี

'สว.พลเดช' กังขา ทีมพญานาคราช ก.เกษตรฯ เรียกรับกล้วย แลกถอนอายัดยางก้อน

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สว. อภิปรายตอนหนึ่งว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์อายัดยางของชาวบ้านที่อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี กรมวิชาการเกษตรเซ็นคำสั่งดำเนินคดีหจก.ธิติพงษ์ การยาง

โฆษกรัฐบาล โวผลงานนายกฯ ดันราคายางพุ่งทะลุ 90 บาท สูงสุดในรอบ 7 ปี

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลสำเร็จของนโยบายขับเคลื่อนยางพาราไทยของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งล่าสุดราคายางพาราสูงขึ้นทะลุ 90 บาท ถือเป็นราคาสูงที่สุดในรอบ 7 ปี

เปิดทำเนียบ เคลียร์ปมที่ดินพิพาทเขาใหญ่ 'ชัยวัฒน์' ประกาศลั่นจบหล่อไม่ได้ ต้องมีคนผิด

นายจตุพร​ บุรุษ​พัฒน์​ ปลัด​กระทรวง​ทรัพยากร​ธรรมชาติ​และ​สิ่ง​แวดล้อม​ กล่าวว่า​ การประชุมวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกคนให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ ทั้งสองกระทรวงมีเป้าหมายทำงานเพื่อประชาชน ซึ่งในส่วนของกระทรวงทรัพย์ฯ นอกจากดูแลป่าและทะเลแล้วบางส่วน ก็ดูแลพื้นที่ของประชาชน