8 เม.ย.2567 - แพทย์หญิงธนิกา เกตุเผือก แพทย์จากหน่วยวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์บทความไขข้อสงสัยว่า PM2.5 นั้นเป็นสาเหตุของมะเร็งปอดจริงหรือไม่
ปัญหามลภาวะทางอากาศของเชียงใหม่ รวมถึงหลาย ๆ จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีมานานกว่า 10 ปี และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา มลภาวะทางอากาศในระดับรุนแรงที่ดูกันง่าย ๆ จาก Air quality index (AQI) ว่าเป็นสีแดง สีม่วงนั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจน ทั้งโรคทางเดินหายใจ โรคทางหลอดเลือดสมองและหัวใจ และแน่นอนคือมะเร็งปอด
สำหรับ Particulate matter (PM) 2.5 คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ก็คือเล็กกว่ามิลลิเมตรพันเท่า เลยสามารถลงไปในปอดส่วนลึกได้ มะเร็งปอดคนทั่วไปจะเข้าใจว่าสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องและมีความสัมพันธ์กัน ยิ่งสูบเยอะ สูบนาน ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอด แต่ปัจจุบันพบว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่สามารถเป็นมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกันและพบได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในคนที่มีอายุน้อย เพศหญิงและเป็นชาวเอเชียตะวันออก
เริ่มแรกตั้งแต่ปี 2009 มีการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะเช่นนี้ สัมพันธ์กับยีนกลายพันธุ์ที่เรียกว่า EGFR แต่สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้น มีหลายปัจจัยส่งเสริม เช่น พันธุกรรม เชื้อชาติ การได้รับสารก่อมะเร็ง และมลภาวะทางอากาศ มีการศึกษาพบว่า ทุกๆ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัมมิลลิเมตร ทำให้อุบัติการณ์ของ มะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR เพิ่มขึ้น ทั้งจากประชากรในประเทศอังกฤษ เกาหลีใต้และไต้หวัน และพบว่าผู้ที่ได้รับมลภาวะทางอากาศสูงเป็นเวลา 3 ปี เกิดมะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR มากกว่าผู้ที่ได้รับมลภาวะทางอากาศน้อย 1.08 เท่า ดังนั้นหากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศสูง 3 ปีก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดชนิดนี้
จากการศึกษาในหนูพบว่า PM เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดในหนูที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR และ KRAS อยู่แล้ว โดยกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเซลล์ที่มียีนกลายพันธุ์ทั้งในปอดปกติที่ยังไม่เกิดมะเร็งและในรอยโรคที่มีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งในอนาคต ผ่านการกระตุ้นการอักเสบและการสร้างสารอักเสบ (Inflammatory cytokines) IL-1B
นอกจากนี้การศึกษาที่นำเนื้อเยื่อจากปอดปกติของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและผู้ป่วยที่มีก้อนเล็ก ๆ ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง 295 คน มาตรวจ พบว่า 18% ของเนื้อเยื่อปอดปกตินี้มียีนกลายพันธุ์ EGFR อยู่แล้ว และ 53% มียีนกลายพันธุ์ KRAS
ดังนั้นจากการศึกษาทั้งหมดที่กล่าวมา สรุปได้ว่า PM2.5 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอด โดยเฉพาะในคนที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR และ KRAS อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า PM2.5 นั้นเป็น “ปัจจัยกระตุ้น” ไม่ใช่สาเหตุ และในปัจจุบันเราไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า ในผู้ป่วยคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งปอดนั้นมีสาเหตุจากอะไรได้แน่นอน เนื่องจากกระบวนการเกิดมะเร็งดังกล่าวซับซ้อนและเกิดได้จากหลายปัจจัยกระตุ้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อทราบดังนี้แล้ว จึงไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศสูง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากที่ป้องกัน PM2.5 ได้แก่ หน้ากาก N95 เป็นต้นไป จึงจะสามารถกรองอนุภาคเหล่านี้ได้ งดกิจกรรมกลางแจ้ง อยู่ในอาคารและเปิดเครื่องฟอกอากาศ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เช็ก 10 จังหวัด ตรวจคุณภาพอากาศ พบ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน
รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 8 ธ.ค.2567 ณ 17:00 น สรุปดังนี้ ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐาน
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
คนไทยอ่วม! ฝุ่น PM2.5 ท่วม 27 จังหวัด 'กทม.' พุ่งทุกพื้นที่
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
ข่าวดีระยะนี้! ภาคเหนือ PM2.5 อยู่ในเกณฑ์น้อย
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมปร
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้