"จุลพันธ์" แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ "negative income tax" บรรจุในนโยบาย เพื่อเร่งศึกษาให้ตอบโจทย์ปัญหาสังคม ย้ำไม่ได้นำมาทดแทนสวัสดิการที่มีอยู่ แต่เป็นแนวคิดที่ต้องการสร้างตาข่ายรองรับประชาชนไม่ให้ใครตกไปอยู่ในกรอบแห่งความยากจน
13 ก.ย.2567 - เวลา 14.12 น. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายการศึกษาระบบภาษีรูปแบบใหม่ หรือ negative income tax ว่า แนวความคิดนี้ เป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาบรรจุในแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อให้เกิดการศึกษาอย่างละเอียด และเป็นแนวคิดตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ เช่น เรื่องแรงงาน ซึ่งขณะนี้ มีมากกว่า 50% อยู่นอกระบบ ทำให้เราไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างเป็นรูปธรรม
ขณะเดียวกัน ประชาชนผู้มีรายได้ต่ำมีราว 4 ล้านคน ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน และมีประมาณ 5 ล้านคน ที่อยู่ในจุดที่เรียกว่าเกือบจน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเปราะบาง และรัฐบาลก็มีแนวคิดหาหนทางช่วยเหลือมาตลอด
สำหรับปัญหาระบบฐานภาษีของประเทศไทย ที่มีคนเข้าสู่ระบบฐานภาษีค่อนข้างน้อย มีคนยื่นแบบภาษีเงินได้เพียงแค่ 10 ล้านคน แต่มีคนเสียภาษีจริงๆ ประมาณ 3-4 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่ผูกโยงเข้าด้วยกันทั้งหมด
แนวความคิดข้างต้น เป็นการนำตัวอย่างจากต่างประเทศ ที่ต้องการสร้างตาข่ายรองรับสังคมไม่ให้ใครสามารถตกไปอยู่กรอบแห่งความยากลำบากและความยากจน โดยจะมีเกณฑ์เพื่อวัดเส้นแห่งความยากจนที่มีความเหมาะสม หากประชาชนสามารถยื่นแบบภาษีได้ทุกคน เมื่อใครเกินเส้นนี้ ก็เสียภาษีตามอัตราที่เหมาะสมต่อไป
ในขณะที่คนที่ตกต่ำกว่าเส้นที่กำหนด กลไกของภาษีจะสามารถเป็นภาษีติดลบ ที่สามารถกลับไปเพื่อไปชดเชยอุดหนุนให้เขาสามารถลืมตาอ้าปากต่อสู้ได้ รวมถึงทำให้ประชาชนเกิดความกล้าความคิดในการลงทุน
นายจุลพันธ์ ชี้ว่า แนวคิดนี้ จะเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ทำให้ประชาชนรู้อยู่เสมอว่าข้างหลังมีรัฐบาลที่คอยประคับประคองให้เขากลับมาลุกขึ้นยืนได้ใหม่ไม่ว่าจะล้มอีกกี่ครั้งก็ตาม และทำให้คนในประเทศเปลี่ยนแนวความคิด เพิ่มแรงจูงใจในการประกอบอาชีพ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยกัน โดยกระทรวงการคลังจะเป็นแม่งานในการศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วนต่อไป
นายจุลพันธ์ กล่าวถึงข้อสงสัยว่าแนวคิดนี้จะเป็นการชดเชยหรือทดแทนสวัสดิการที่มีอยู่หรือไม่ ว่า ในสวัสดิการแต่ละประเภทมีหลักในการคำนวณที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นคนละประเด็น เนื่องจากเป็นคนละวัตถุประสงค์ แต่แน่นอนว่าด้วยเม็ดเงินที่จำกัดของภาครัฐ เราต้องบริหารจัดการให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 1-2 ปี กระทรวงการคลังจะเร่งรัดการศึกษาแนวคิดนี้ เพื่อในที่สุดแล้วประชาชนคนไทยทุกคน จะได้สามารถมีตาข่ายที่มั่นใจได้ว่า จะคอยรองรับเขาอยู่ในทุกสถานการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขยายโครงการ 'คุณสู้ เราช่วย' ถึง 30 เม.ย.นี้ เผย 2 บริษัทสินเชื่อให้บริการเพิ่ม
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง
'จุลพันธ์' ขอบคุณสมาชิกเสนอแนะรับมือกำแพงภาษีสหรัฐ รับปากจะไม่สร้างภาระเพิ่ม
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมว.คลัง ชี้แจงว่า การยื่นญัตติในวันนี้เป็นวันที่ดีที่สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันอภิปราย กับปัญหาที่ค่อนข้างหนักอกของประเทศไทย ในเรื่องของอัตราภาษีที่ได้กำเนิดขึ้นใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกา
'จุลพันธ์' แจงนายกฯเลื่อนถกกฎหมายกาสิโน เพราะมีเรื่องสำคัญเร่งด่วนกว่า
"จุลพันธ์" เผยนายกฯ คุยพรรคร่วม เลื่อนถก พรบ.เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ เพราะมีเรื่องด่วนกว่าทั้งทรัมป์ขึ้นภาษี-แผ่นดินไหว มองเป็นการดีได้ชี้แจงปชช.
ย้อนคำจาตุรนต์! 'ทิชา' ถามหา 'หลักการ' นักการเมืองน้ำดี กรณี 'มิน อ่อง หล่าย'
ทิชา ณ นคร แชร์โพสต์เก่าจาตุรนต์ฉายแสง วิจารณ์พลเอกประยุทธ์เคยต้อนรับรัฐบาลทหารเมียนมา พร้อมเหน็บแนมเจ็บ ๆ ถามหาจุดยืนและหลักการจากนักการเมืองน้ำดี หลังรัฐบาลแพทองธารต้อนรับมิน อ่อง หล่าย สะเทือนภาพลักษณ์ซ้ำรอยเดิมที่เคยวิจารณ์ไว้
สภาฯ รับหลักการกฎหมาย 'หวยเกษียณ' รมช.คลัง หวังคนไทยมีกินมีใช้ยามแก่
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)กองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่...)
จับตาครม.เคาะ‘กาสิโน’
จับตา! คลังชง “กาสิโน” เข้า ครม. “จุลพันธ์” เผยส่งกลับร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ถึงมือเลขาฯ ครม. ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว