ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วไทย ภาคกลางแนวโน้มดี คืบหน้าเยียวยา-ฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย

14 ต.ค.2567 - นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ยังตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงนี้ อาจส่งผลให้เกิดเหตุดินถล่มได้ในพื้นที่ 9 จังหวัด ขอแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเฝ้าระวังเหตุดินถล่ม ศปช. ขอแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงดินถล่มในพื้นที่ 9 จังหวัด เฝ้าระวังและติดตามข่าวสารจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด ได้แก่ จ.ภูเก็ต เมืองภูเก็ต กะทู้ ถลาง , จ.กระบี่ เมืองกระบี่ เขาพนม เกาะลันตา , จ.ตรัง ย่านตาขาว ปะเหลียน ห้วยยอด นาโยง , จ.สตูล ควนโดน ควนกาหลง ละงู ทุ่งหว้า มะนัง , จ.พัทลุง กงหรา ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ เขาชัยสน ตะโหมด ควนขนุน , จ.สงขลา หาดใหญ่ สะบ้าย้อย จะนะ นาทวี รัตภูมิ สะเดา , จ.ปัตตานี โคกโพธิ์ หนองจิก ปานาเระ มายอ ทุ่งยางแดง สายบุรี ยะรัง , จ.นราธิวาส บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ ศรีสาคร แว้ง สุคิริน สุไหงปาดี จะแนะ เจาะไอร้อง และ จ.ยะลา เบตง ธารโต กาบัง บันนังสตา ยะหา รามัน กรงปินัง โดย ศปช. ขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากดินถล่ม หากต้องการความช่วยเหลือโทรสายด่วนได้ที่ 1567 ตลอด 24 ชม.

สำหรับเหตุการณ์น้ำหลากดินถล่มในพื้นที่ อ.เบตง และ อ.ธารโต จ.ยะลา ด้านนายอำพล พงศ์สุวรรณ ผวจ.ยะลา พร้อมคณะทำงาน ได้มอบเงินเยียวยาให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย และเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจและฟื้นฟูโดยเร็ว ส่วนถนนที่ได้รับความเสียหายเบื้องต้นเจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงได้นำรถแบคโฮ และเครื่องจักรเปิดเส้นให้รถได้สัญจรได้แล้ว พร้อมทั้งประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง

ส่วนสถานการณ์น้ำภาคกลาง นายจิรายุ กล่าวว่า ปริมาณฝนที่ลดลงทำให้น้ำที่ไหลผ่านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลดลงตามลำดับ ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาสถานี C.2 นครสวรรค์ 1,980 ลบ.ม./วินาที และการระบายน้ำปัจจุบันที่ 1,751 ลบ.ม./วินาที

ที่ประชุม ศปช. วันนี้ (14 ต.ค. 67) จึงมีมติให้ทยอยปรับลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาลง เหลืออัตรา 1,700 ลบ.ม./วินาที ในเวลา 12.00 น. และเหลืออัตรา 1,650 ลบ.ม./วิ ในเวลา 21.00 น. เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำหนุนในช่วงวันที่ 13 – 24 ต.ค. นี้ ทั้งนี้ คาดว่าหากปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 2-3 วันข้างหน้านี้จะสามารถปรับลดการระบายน้ำเหลือ 1,500 ลบ.ม./วินาที ได้ เป็นแนวโน้มที่ดีต่อประชาชนในพื้นที่ท้ายเขื่อนอีกด้วย

นายจิรายุ กล่าวว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กห. ในฐานะประธานศูนย์ ศปช. จึงได้กำชับเหล่าทัพเร่งระดมกำลังพลเตรียมการช่วยเหลือประชาชนทันทีเมื่อเกิดภัยในพื้นที่ ต.ชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ รวมถึงการฟื้นฟู ทำความสะอาดและขุดตักดินโคลนที่ทับถมบ้านพักอาศัย รวมทั้งพื้นที่สาธารณะให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย รวมถึงมอบถุงยังชีพ สิ่งของเครื่องอุปโภค-บริโภค พร้อมน้ำดื่มให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่เพื่อการบรรเทาความเดือดร้อนในขั้นต้น พร้อมกันนี้ให้ร่วมกับส่วนราชการใน จ.นนบุรี และ จ.ปทุมธานี มอบถุงยังชีพสิ่งของเครื่องอุปโภค - บริโภคให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย บรรจุและขนย้ายกระสอบทรายทำแนวกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนเร่งทำแนวคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันพื้นที่บ้านเรือนประชาชน พื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมจัดกำลังพลเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชม.

นายจิรายุกล่าวถึงภาพรวมการจ่ายเงินเยียวยา และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยว่า (ข้อมูล ณ 12 ต.ค. 67) ความคืบหน้าการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยตามมติ ครม.เมื่อ 17 ก.ย. 67 มีการยื่นคำร้องในระบบทั้งสิ้น 56 จังหวัด 195,851 ครัวเรือน โดย ปภ. ส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสินแล้ว 7 ครั้ง ได้จ่ายเงินผ่านพร้อมเพย์ไปแล้ว 6 ครั้ง โอนเงินสำเร็จกว่า 17,352 ครัวเรือน จำนวนเงินทั้งสิ้น 86,888,000 บาท

ส่วนการฟื้นฟูในพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย เป้าหมายบ้านเรือนประชาชน 1,367 ครัวเรือนดำเนินการแล้ว 1,327 ครัวเรือน อยู่ระหว่างดำเนินการ 40 ครัวเรือนคิดเป็น 97% ด้านการดำเนินการฟื้นฟูในพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เฟส 2 เป้าหมายบ้านเรือนประชาชน 819 ครัวเรือน ดำเนินการแล้ว 660 ครัวเรือน อยู่ระหว่างดำเนินการ 159 ครัวเรือน คิดเป็น 80% การจัดการขยะในพื้นที่ ประมาณการขยะทั้งสิ้น 70,000 ตัน ดำเนินการทิ้งแล้วทั้งสิ้น 67,617 ตัน คิดเป็น 96.59%

สำหรับเชียงใหม่ ขณะนี้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ทั้งในส่วนของตัวเมืองและอำเภอในพื้นที่ท้ายน้ำ โดยระดับน้ำในแม่น้ำปิงที่จุด P.1 สะพานนวรัฐ ปัจจุบันลดต่ำลงเหลือ 2.29 เมตร ขณะที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ ก็ลดเหลือเพียง 13 แห่ง ที่ยังมีผู้พักพิงอาศัยอยู่ รวมทั้งสิ้น 38 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ยังอยู่ในระหว่างรอลูกหลานฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนให้พร้อมเข้าอยู่อาศัยก่อน ส่วนการดำเนินการหลังจากนี้ไปจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูล้างทำความสะอาดบ้านเมืองอย่างเต็มกำลังในทั่วทุกพื้นที่ และในวันนี้ (14 ต.ค. 67) ตั้งแต่ 08.00 น. ได้ระดมกำลังจากส่วนต่าง ๆ ทำความสะอาดถนน ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจและบ้านเรือนของพี่น้องประชาชน

ด้านสถานการณ์อุทกภัยที่ จ.ลำพูน สถานการณ์น้ำท่วมเขตอำเภอเมืองล่าสุด (13 ต.ค.) มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ทั้ง 7 ตำบลรวม 81 ตัวส่งผลให้ระดับน้ำลดลงในหลายพื้นที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ธนกร’ ห่วง น้ำท่วมปักษ์ใต้หนักจี้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือ  

“ธนกร” ห่วง น้ำท่วมปักษ์ใต้หนักหลายจังหวัด ขอ รัฐบาล-ส่วนราชการเร่งช่วย หลังถูกพายุถล่มระลอก 2 ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ทำถนนสายเอเชีย 41 จมบาดาล ถูกตัดขาดการเดินทาง-น้ำ-ไฟ ฝากดูแล ผู้ป่วยติดเตียง คนแก่ วอน กองทัพรุดอพยพด่วน

ใต้อ่วม! ทางรถไฟ-ถนนขาด

ฝนตกหนักน้ำท่วม เส้นทางลงใต้อัมพาต ทางขาดทั้งรถไฟและถนนสายเอเชีย รถไฟไปต่อไม่ได้ ติดค้างที่ชุมพรเพียบ ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ส่วนที่นครศรีฯ น้ำทะเลจ่อหนุนซ้ำเติม

นายกฯแพทองธาร โพสต์โซเชียล สั่งมหาดไทยช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้โดยด่วน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กและ X ระบุถึงสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดภาคใต้ว่า “เหตุการณ์น้ำท่วมหนักที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และระนอง

ศปช. สั่งเร่งเคลียร์พื้นที่ถนนสายเอเชีย 41 จมบาดาล หลังชุมพร-นครศรีฯฝนตกหนัก

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ชุมพรอ่วม! ฝนถล่มหนัก ดินถล่มทับบ้าน ถนนสายหลักฝั่งอ่าวไทยถูกตัดขาด

จากสถานการณ์ฝนตกหนักครอบคลุมในพื้นที่ จ.ชุมพร ทั้ง 8 อำเภอ ตั้งแต่วันที่ช่วงค่ำวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร