สมาพันธ์คนงานรถไฟ จี้มท.1 ทบทวนมติคณะกรรมการที่ให้ยุติการเพิกถอนเอกสารสิทธิพื้นที่เขากระโดง

14 พ.ย 2567 - นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายอนุทิน ชาญวีรกุล) เรื่อง ขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการที่ให้ยุติการเพิกถอนเอกสารสิทธิพื้นที่เขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย อ้างถึง ๑. พระราชบัญญัติการจัดวางรางแลทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ ๒. ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ลว. ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๑ ๓. มติชี้ขาดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เรื่องพื้นที่เขากระโดง ๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐ ลว. ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ๕. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๒๗/๒๕๖๑ ลว. ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ๖. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ คดีหมายเลขดำที่ ๑๑๑/๒๕๖๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๑๑๒/๒๕๖๓ ลว. ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓ ๗. คำพิพากษาศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ ๒๔๙๔/๒๕๖๔ คดีหมายเลขแดงที่ ๕๘๒/๒๕๖๖ ลว. ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ๘. หนังสือ มท. ๐๕๑๖.๒(๒)/๒๒๑๖๒ ลว. ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗
สิ่งที่ส่งมาด้วย - เอกสารตามอ้างถึง รัฐมนตรีสามารถดูรายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตามคำพิพากษาศาลปกครอง พิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๑ วรรค ๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณามีมติเอกฉันท์ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขเอกสารสิทธิที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยอ้างการรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการเป็นเจ้าของพื้นที่เขากระโดง และให้ยุติเรื่องในกรณีนั้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทาน พื้นที่เขากระโดงให้กรมรถไฟหลวง และให้การรถไฟฯ ใช้ทรัพยากรไม้และหินในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ไปสร้างทางรถไฟ ระหว่าง นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชบัญญัติการจัดวางรางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ ให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทางรถไฟและพื้นที่ก่อสร้างอื่น ๆ โดยมิให้ผู้ใดมาครอบครองที่ดินของการรถไฟฯ ได้ เสมือนเป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งต่อมาได้มีประชาชนบุกรุกเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ โดยที่การรถไฟฯ มิได้วางเฉย ได้มีเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ ตรวจสอบตลอดมา ดังปี พ.ศ. ๒๕๐๙ จนมีปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ดินเขากระโดง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา และมีบางรายนำที่ดินของการรถไฟฯ ไปออกเอกสารสิทธิ จนนำไปสู่การฟ้องร้องระหว่างประชาชนกับการรถไฟฯ จึงมีการนำเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ สรุปให้ความเห็นว่า พื้นที่เขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ และมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ก็ได้วินิจฉัยชี้ขาดพื้นที่เขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ และมีผู้กระทำความผิดทางอาญาหลายคนแต่ไม่สามารถดำเนินคดีได้ เนื่องจากคดีหมดอายุความ ต่อมา ได้มีคำตัดสินคำพิพากษาของศาลฎีกา ๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๒๗/๒๕๖๑, คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ คดีหมายเลขดำที่ ๑๑๑/๒๕๖๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๑๑๒/๒๕๖๓, คำพิพากษาศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ ๒๔๙๔/๒๕๖๔ คดีหมายเลขแดงที่ ๕๘๒/๒๕๖๖ ต่างพิพากษาให้ พื้นที่เขากระโดงจำนวน ๕,๐๘๓ ไร่ เป็นของการรถไฟฯ ดังนั้น เอกสารสิทธิที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ จึงเป็นเอกสารสิทธิที่ออกมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดวางรางแลทางหลวง พ.ศ. ๒๔๖๔ การรถไฟฯ จึงนำสาเหตุนี้ฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีการสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ออกมาโดยมิชอบ ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๑ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาอ้างถึง ข้อ ๔,๕ และข้อ ๖ และคณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ ได้แต่งตั้งอนุกรรมการในตรวจสอบ รังวัด เพื่อกำหนดแนวเขตที่ดินแต่ละแปลงและรายงานให้คณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิแต่ละราย แต่คณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ มิได้ปฏิบัติตามพิพากษาศาลฎีกา ถือว่าที่สุด แต่กลับมีมติเอกฉันท์ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขเอกสารสิทธิที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ นั้นโดยมีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิของการรถไฟฯ

พื้นที่เขากระโดงได้ผ่านการพิสูจน์สิทธิชัดเจนแล้วว่าพื้นที่เขากระโดงจำนวน ๕,๐๘๓ ไร่ เป็นของการรถไฟฯ ดังจะดูรายละเอียดได้จากหลักฐานการพิพากษาของศาลฎีกาและศาลอุธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ และความเห็นของกฤษฎีกาและแผนที่พื้นที่เขากระโดงของการรถไฟนั้น ได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ และกำหนดกรรมสิทธิชัดเจนตามพระราชบัญญัติการจัดวางรางแลทางรถไฟ และแผนที่ทหาร จึงไม่จำเป็นที่ต้องนำมาพิสูจน์สิทธิอีก เพียงแต่คณะกรรมการตรวจสอบดูรายละเอียดเป็นรายแปลง เพื่อนำไปสู่การเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ถูกต้อง และการที่มติคณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ มีมติดังกล่าวนั้นจึงเป็นการละเมิดคำตัดสินของศาลฎีกาและขัดต่อพระราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกรมที่ดินอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอให้ท่านมีบัญชาให้มีการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำพิพากษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดสั่งการให้ทบทวนมติคณะกรรมการดังกล่าวด้วย จักขอบคุณยิ่ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' พร้อมดูข้อเท็จจริง ปมกมธ.การทหาร แฉค่ายร.23 พัน4 สร้างหลบ 'เขากระโดง'

'ภูมิธรรม' ยังไม่ดูรายละเอียด ปม กมธ.การทหาร ปูดค่ายทหารสร้างหลบเขากระโดง เผย 'วิโรจน์' ขอเข้าพบอยู่แล้วคงได้คุย

'อนุทิน' ส่ง 'มท.2-อธิบดีกรมที่ดิน' แจงปมเขากระโดง​

'อนุทิน'ส่ง 'มท.2-​ อธิบดีกรมที่ดิน' แจงปมเขากระโดง​ 'ทรงศักดิ์' ขอบคุณ กมธ.ที่ดิน​ให้โอกาสแจง ​ โอด​สงสารชาวบ้าน​กว่า​ 900 รายได้รับผลกระทบ​ ​'พูนศักดิ์'​ ยันพิจารณา​ยึดข้อกฎหมายไม่โยงการเมือง

'ปรเมศวร์' ย้ำชัดๆถึงอธิบดีกรมที่ดิน ต้องทำตามคำพิพากษาศาล ที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟ

นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กว่า เรื่องที่ดินเขากระโดงนั้นศาลมีคำพิพากษาแล้วทั้ง ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลปกครองกลาง ว่าที่ดินเขากระโดงเป็นที่ดินของการรถไฟ เมื่ออธิบดีกรมที่ดินจะไปตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ตามมาตรา 61 วรรค 1